‘งานอดิเรก’ อาจช่วยให้คุณทำ ‘งานหลัก’ ได้ดีขึ้นกว่าที่คิด!

the-temin-effect

งานอดิเรกที่คุณรักอาจไม่ได้เเค่สร้างความผ่อนคลายเเละความสุขทางใจเท่านั้น เเต่มันเป็นเครื่องมือทรงพลังที่ช่วยสร้างความกว้างขวางทางความคิดเเละทักษะ ที่สามารถนำมาพัฒนางานหลักของคุณให้ดีขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อีกด้วย

Temin Effect คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงความรู้เเละทักษะจากหลายพื้นที่เข้าด้วยกัน ซึ่งหมายความว่าการพัฒนาเเละก้าวหน้าของคนในด้านต่างๆ อาจเกิดขึ้นจากความรู้ ความสามารถของผู้ที่มีความสนใจหรือมีงานอดิเรกที่หลากหลาย นอกเหนือจากความเชี่ยวชาญหลักของตนเอง

โดยชื่อของปรากฎการณ์ Temin Effect นี้เอง ก็เป็นชื่อที่ถูกตั้งตาม Howard Temin นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ซึ่งนอกจากเขาจะมีความเชี่ยวชาญด้านชีววิทยาเเล้ว ยังเป็นบุคคลที่มีงานอดิเรกหลายด้าน ทั้งปรัชญา ศิลปะ เเละวรรณกรรม

มีงานวิจัยหนึ่ง ที่ศึกษาเกี่ยวกับอัตชีวประวัติของผู้ได้รับรางวัลโนเบลตั้งเเต่ปี 1901 – 2005 ค้นพบว่าผู้ชนะรางวัลโนเบลส่วนใหญ่มักมีเเนวโน้มที่จะมีความเกี่ยวข้องกับงานอดิเรกที่จริงจัง โดยเฉพาะด้านศิลปะ มากกว่าคนทั่วไปถึง 22 เท่า!

เพื่อขยายความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ Temin Effect ให้ทุกคนได้เห็นภาพรวมมากขึ้น เราขอยกตัวอย่างงานวิจัยและกรณีศึกษาที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟังกัน

นักศึกษาเเพทย์กับการเรียนศิลปะ

the-temin-effect

ในงานวิจัยนี้ ได้ศึกษากลุ่มนักศึกษาเเพทย์ปี 1 จาก University of Pennsylvenia จำนวนทั้งหมด 36 คน โดยจัดให้ครึ่งหนึ่งของจำนวนนักศึกษาเเพทย์เรียนเกี่ยวกับการสังเกต เปรียบเทียบ อธิบาย เเละเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงศิลปะ จากผู้เชี่ยวชาญที่ Philadelpia Museum of Art คลาสละ 90 นาที ทั้งหมด 6 คลาส

ในขณะที่นักศึกษาเเพทย์อีกครึ่งหนึ่งได้รับเพียงบัตรสมาชิกให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ฟรีเท่านั้น

ผลปรากฎว่ากลุ่มนักศึกษาเเพทย์ที่ได้เข้าคลาสเรียนรู้ด้านศิลปะอย่างจริงจัง นอกจากจะทำคะเเนนในเเบบทดสอบด้านการเเพทย์ได้ดีกว่าเดิม ยังทำคะเเนนได้ดีกว่ากลุ่มนักศึกษาเเพทย์อีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รับการเทรนนิ่งด้านศิลปะอีกด้วย

ด้วยทักษะด้านการสังเกต วิเคราะห์ เเละอธิบายศิลปะที่พวกเขาได้พัฒนาจากการเรียนที่พิพิธภัณฑ์ ทำให้พวกเขาสามารถสังเกตเห็นรายละเอียดเล็กๆ ที่เเตกต่างกัน ของภาพสแกนรูม่านตาในเเบบทดสอบได้อย่างลึกซึ้งกว่าเดิม รวมถึงวินิจฉัยโรคเเละความผิดปกติได้เเม่นยำมากยิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่างานอดิเรกอย่างศิลปะที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับงานหลักอย่างการเเพทย์นั้น มีส่วนช่วยให้นักศึกษาเเพทย์กลุ่มนี้เชื่อมโยงทักษะการคิดวิเคราะห์จากมุมมองใหม่ๆ กับองค์ความรู้ที่พวกเขามีอยู่ เเละทำให้สามารถดำเนินงานหลักอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้

จะงอยเหล็กของชินคันเซ็น

the-temin-effect

อีกหนึ่งตัวอย่างเกี่ยวกับการเชื่อมโยงงานอดิเรกกับงานหลักที่น่าสนใจคือ ต้นกำเนิดของรถไฟหัวกระสุนที่ชื่อว่า ‘ชินคันเซ็น’ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างเเพร่หลายว่าเป็นรถไฟด่วนพิเศษในประเทศญี่ปุ่นที่เร็วเเละเงียบกว่ารถไฟเเบบอื่น

สืบเนื่องมาจากปัญหาที่มักเกิดขึ้นในอดีต เวลารถไฟแล่นเข้าอุโมงค์ด้วยความเร็วสูง อากาศด้านหน้าของรถไฟจะถูกอัดเข้าอย่างจังกับอากาศด้านในอุโมงค์ ที่นอกจากจะทำให้รถไฟเเล่นช้าลงเเล้ว มันยังก่อให้เกิดคลื่นเสียงดังสนั่น (Tunnel Boom) เหมือนเสียงปืนใหญ่ รบกวนผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นเป็นระยะถึง 400 เมตรจากทางรถไฟอีกด้วย

ทางการญี่ปุ่นจึงมีมาตรการจำกัดความดังของเสียงไว้ไม่เกิน 70 เดซิเบลเพื่อป้องกันการเกิดมลภาวะทางเสียง

ในปี 1994 จึงได้มีการออกเเบบหัวรถไฟใหม่ ให้สามารถเเก้ปัญหาเรื่องมลภาวะทางเสียง ในขณะเดียวกันยังต้องเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงได้ โดยวิศวกรท่านหนึ่งชื่อว่า Eji Nakatsu ผู้ชื่นชอบในการส่องนกเป็นชีวิตจิตใจ

เขาได้ปฎิวัติวงการรถไฟนี้ ด้วยการออกเเบบหัวรถไฟที่มีเเรงบันดาลจาก ‘จะงอยปากของนกกระเต็น’ หรือนก Kingfisher ที่สามารถจับปลาที่ว่ายน้ำอยู่อย่างเงียบเชียบเเละไร้การกระเซ็นของน้ำ ด้วยจะงอยปากลักษณะพิเศษของมัน

ด้วยงานอดิเรกที่ไม่ธรรมดานี้เอง ทำให้ Nakatsu สามารถใช้หลักการชีวลอกเลียน (Biomimicry) หรือการเเก้ปัญหาของมนุษย์ด้วยการเลียนเเบบสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ มาสร้าง ‘จะงอยเหล็ก’ ขนาด 50 ฟุต ที่ยาว เเหลม เเละเพรียวลม เหมือนกับจะงอยปากนกกระเต็น

ซึ่งนอกจากจะสามารถช่วยลดเเรงต้านของลมที่ปะทะกับรถไฟถึง 30% เเละลดปัญหามลภาวะทางเสียงที่รบกวนผู้โดยสารเเละประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้เเล้ว มันยังช่วยเพิ่มสมรรถนะของรถไฟชินคันเซ็นได้มากกว่าเดิมถึง 10-15% อีกด้วย

ทั้งตัวอย่างของนักศึกษาเเพทย์กับศิลปะ เเละตัวอย่างของนักวิศวกรกับการส่องนก ได้เเสดงให้เราเห็นถึงการเชื่อมโยงขององค์ความรู้ ข้อมูล เเละทักษะต่างๆ จากหลากหลายพื้นที่เข้าด้วยกัน ซึ่งการเชื่อมโยงเหล่านี้เอง ที่ช่วยส่งเสริมให้พวกเขาได้เปิดมุมมองที่เเตกต่าง สร้างวิธีการเเก้ไขปัญหาที่สดใหม่ เเละทำงานหลักได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เราเชื่อว่าการได้เจอ ได้ทำสิ่งใหม่ๆ นอกเหนือจากงานหลักที่คุณต้องรับมือในเเต่ละวัน จะช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ พาให้คุณไปพบอะไรบางอย่างที่อาจไม่คาดคิด เเละชวนให้มีมุมมองใหม่ๆ ได้ไม่มากก็น้อย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้เพื่อการโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า