สรุปรายงานดัชนีช่องว่างระหว่างเพศทั่วโลก The Global Gender Gap Index 2021

gender-gap-report-2021

จากรายงานดัชนีช่องว่างระหว่างเพศ Global Gender Gap Report 2021 โดย World Economic Forum ที่สำรวจ 156 ประเทศทั่วโลก ใน 4 มิติสำคัญ คือ 1) ด้านโอกาสและการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ 2) ด้านความสำเร็จทางการศึกษา 3) ด้านสุขภาพและการอยู่รอด และ 4) ด้านการเสริมอำนาจทางการเมือง โดยการสำรวจระหว่างประเทศนี้เพื่อจัดลำดับความสำคัญของนโยบายให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเป็นข้อมูลในการปิดช่องว่างระหว่างเพศที่เกิด

โดยผลดัชนีช่องว่างระหว่างเพศทั่วโลก จะวัดคะแนนในระดับ 0 ถึง 100 และตีความคะแนนของแต่ละภูมิภาคว่าคิดเป็นระยะห่างของความเท่าเทียมกันระหว่างเพศเท่าไร 

แนวโน้มและผลลัพธ์จากทั่วโลก

  • 68% เป็นตัวเลขผลของระยะทางโดยเฉลี่ยที่กว่าจะเกิดความเท่าเทียมกันทั่วโลกได้ และอาจต้องใช้เวลา 135.6 ปี กว่าจะปิดช่องว่างระหว่างเพศทั่วโลกได้จริงๆ
  • ในเวทีการเมือง ยิ่งเห็นช่องว่างระหว่างเพศมากที่สุด โดยผลการสำรวจจาก 156 ประเทศ พบผู้หญิงเป็นตัวแทนการเมืองเพียง 26.1% ของจำนวนที่นั่งในรัฐสภา (35,500 ที่นั่ง) และมีผู้หญิงเพียง 22.6% จากจำนวนรัฐมนตรีมากกว่า 3,400 คนทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564) และยังมีอยู่อีก 81 ประเทศ ที่ไม่เคยมีผู้นำสตรีเลย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีหญิงล่าสุดในโลก คือ ประเทศเบลเยียม ในปี 2019 และประเทศโตโก ในปี 2020 โดย World Economic Forum ประมาณการว่าอาจต้องใช้เวลา 145.5 ปี จึงจะเกิดความเท่าเทียมทางเพศในการเมือง
  • ด้านเศรษฐกิจ ช่องว่างระหว่างเพศในด้านโอกาสและการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ เป็นช่องว่างที่ใหญ่เป็นอันดับสองจากดัชนีทั้งสี่ โดยผลดัชนีเป็น 58% มาจากพบว่า แม้จะมีผู้หญิงในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่ใช้ทักษะเพิ่มขึ้น มีความเท่าเทียมในเรื่องค่าจ้างมากขึ้น และค่อนข้างเป็นไปอย่างช้าๆ แต่ในทางกลับกันก็ยังขาดผู้หญิงในตำแหน่งผู้นำอย่างต่อเนื่อง โดยจากการสำรวจตำแหน่งผู้จัดการ มีผู้หญิงเพียง 27% ของทั้งหมด และคาดว่าจะใช้เวลาอีก 267.6 ปีในการปิดช่องว่างเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ ข้อมูลในรายงานฉบับปี 2564 ยังไม่รวมผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 ซึ่งคาดการณ์สำหรับบางประเทศ แสดงให้เห็นว่าช่องว่างระหว่างเพศในด้านแรงงานนั้นมากขึ้นตั้งแต่มีการระบาด ระหว่าง 1% ถึง 4% จากที่รายงาน
  • ช่องว่างระหว่างเพศในด้านความสำเร็จทางการศึกษา สุขภาพ และการอยู่รอด โดยในด้านการศึกษามีความสำเร็จถึง 95% หรือ 37 ประเทศมีความเท่าเทียมกันแล้ว และกำลังดำเนินต่อไปอย่างช้าๆ ซึ่งคาดการณ์ว่าอาจจะใช้เวลา 14.2 ปีในการปิดช่องว่างนี้โดยสมบูรณ์ ส่วนช่องว่างระหว่างเพศด้านสุขภาพและการอยู่รอดอยู่ที่ 96% (ไม่นับรวมการระบาดโควิด-19) และแม้ว่าทั้งด้านการศึกษาและสุขภาพจะก้าวหน้ากว่าด้านเศรษฐกิจและการเมืองอยู่มาก แต่ก็มีนัยสำคัญในอนาคตว่าอาจจะหยุดชะงักอันเนื่องมาจากการระบาดของโควิด-19 ได้ เช่นเดียวกับความผันแปรอย่างต่อเนื่องในด้านรายได้ ภูมิศาสตร์ เชื้อชาติ และชาติพันธุ์

ช่องว่างระหว่างเพศ โควิด-19 และอนาคตของการทำงาน

  • ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ที่ประมวลจาก ILO, LinkedIn และ Ipsos เกี่ยวกับผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 ต่อช่องว่างระหว่างเพศในการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ การคาดการณ์เบื้องต้นของ ILO ชี้ว่า ผลกระทบจากการระบาดทำให้ผู้หญิงที่มีงานทำทั้งหมดตกงาน 5% ส่วนผู้ชายที่มีงานทำ ตกงาน 3.9% ส่วนข้อมูล LinkedIn เพิ่มเติมว่า มีการจ้างงานของผู้หญิงในตำแหน่งผู้นำลดลง ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ซอฟต์แวร์และบริการด้านไอที บริการทางการเงิน สุขภาพและการดูแลสุขภาพ และการผลิต นอกจากนี้ ข้อมูล Ipsos เดือนมกราคม 2564 แสดงให้เห็นว่า การทำงานสองกะ ทั้งที่ได้รับและไม่ได้รับค่าจ้างจากการปิดโรงเรียนหรือสถานบริการ ส่งผลให้ความเครียดโดยรวมเพิ่มขึ้น เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่มั่นคงในการทำงาน และผู้หญิงมีความยากลำบากในการปรับสมดุลชีวิตระหว่างการทำงานและการดูแลลูก
  • โควิด-19 ยังเร่งให้เกิดการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติและระบบดิจิทัล ตลาดแรงงานเกิดการหยุดชะงัก ข้อมูลชี้ให้เห็นถึงความท้าทายที่สำคัญสำหรับความเท่าเทียมกันทางเพศของงานในอนาคตอันเนื่องมาจากการแบ่งแยกเพศในอาชีพเพิ่มขึ้น มีเพียงสองในแปดกลุ่ม “งานแห่งอนาคต” ที่มีความเท่าเทียมกันทางเพศ (สายงานผู้คนและวัฒนธรรม และการผลิตคอนเทนต์) ในขณะที่ส่วนใหญ่ผู้หญิงถูกมองข้าม
  • ช่องว่างระหว่างเพศมีแนวโน้มมากขึ้นในภาคส่วนที่ต้องการทักษะทางเทคนิคใหม่ ตัวอย่างเช่น Cloud Computing มีผู้หญิงคิดเป็น 14% ของกำลังคนทั้งหมด ในสาขาวิศวกรรมมีเพียง 20% และในสาขา Data และ AI มีเพียง 32% ในขณะที่กลุ่มงานทั้งแปดกลุ่มมักได้กำลังคนที่มีพรสวรรค์ใหม่ๆ เพิ่ม แต่ผลในปัจจุบัน การเพิ่มขึ้นของแรงงานกลุ่มพรสวรรค์นั้นก็ไม่ได้ทำให้การแบ่งแยกทางอาชีพสมดุลขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงได้ เพราะในสาขาที่ผู้หญิงมีบทบาทต่ำกว่าปกติดูเหมือนจะยังคงเป็นเรื่องยาก 
  • รายงานนี้ยังเปิดตัวการวัดผลใหม่ที่สร้างขึ้นโดยความร่วมมือของทีม LinkedIn Economic Graph ซึ่งระบุความแตกต่างระหว่างแนวโน้มของผู้ชายและผู้หญิงที่จะเปลี่ยนงาน ตัวบ่งชี้นี้แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงมีช่องว่างทางเพศมากขึ้นในการเปลี่ยนงานตามศักยภาพในสาขาที่ตนมีต่ำกว่าในปัจจุบัน เช่น Cloud Computing ซึ่งช่องว่างการเปลี่ยนงานอยู่ที่ 58% วิศวกรรมมีช่องว่าง 42% และการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีช่องว่าง 19%
  • ผลสำรวจของการทำงานอัตโนมัติ การทำงานสองกะ และการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ของตลาดแรงงาน เช่น การแบ่งแยกทางอาชีพ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 นี้มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อโอกาสทางเศรษฐกิจในอนาคตสำหรับผู้หญิง คือ เสี่ยงต่อโอกาสในการได้งานใหม่ที่ด้อยกว่าเดิม หรือรายได้ลดลง ดังนั้นการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือหรือฟื้นฟูผลกระทบดังกล่าว ประการแรก แนะนำให้มีการลงทุนเพิ่มเติมในการดูแลและการเข้าถึงที่เท่าเทียมกันสำหรับผู้ชายและผู้หญิง ประการที่สอง นโยบายและแนวปฏิบัติจำเป็นต้องมุ่งเน้นในเชิงรุกในการเอาชนะการแบ่งแยกอาชีพตามเพศ ประการที่สาม นโยบายการพัฒนาทักษะอาชีพในช่วงกลางที่มีประสิทธิภาพ รวมกับแนวทางการบริหารจัดการ ซึ่งปลูกฝังการจ้างงานที่เป็นกลางและแนวทางปฏิบัติในการเลื่อนตำแหน่งที่เหมาะสม จะช่วยปูทางไปสู่อนาคตการทำงานที่เท่าเทียมกันทางเพศมากขึ้น

สถิติในแต่ละภูมิภาค

  • 5 ประเทศ ที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในดัชนีโดยรวมในปีนี้ ได้แก่ ลิทัวเนีย เซอร์เบีย ติมอร์-เลสเตโตโก และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยได้ลดช่องว่างทางเพศลงอย่างน้อย 4.4% ขึ้นไป ติมอร์-เลสเตและโตโกยังเป็นหนึ่งใน 4 ประเทศ (รวมถึงโกตดิวัวร์และจอร์แดน) ที่สามารถลดช่องว่างในด้านโอกาสและการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจได้อย่างน้อย 10 คะแนนเต็มภายในหนึ่งปี นอกจากนี้ มีการประเมินประเทศใหม่ 3 ประเทศในปีนี้เป็นครั้งแรก คือ อัฟกานิสถาน (44.4%*) กายอานา (72.8%) และไนเจอร์ (62.9%) *เป็นผลสรุปก่อนเหตุการณ์การตอลีบานยึดอำนาจ
  • ยังมีความเหลื่อมล้ำ อย่างมีนัยสำคัญภายในภูมิภาคต่างๆ โดยยุโรปตะวันตกยังคงเป็นภูมิภาคที่มีความก้าวหน้าสูงสุดในด้านความเท่าเทียมทางเพศ (77.6%) และกำลังก้าวหน้าต่อไปในปีนี้ อเมริกาเหนือเป็นประเทศที่ก้าวหน้าสูงสุดเป็นอันดับสอง (76.4%) ตามมาด้วยละตินอเมริกาและแคริบเบียน (72.1%) ยุโรปตะวันออก และเอเชียกลาง (71.2%) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (68.9%) นำหน้าแอฟริกาตอนใต้ (67.2%) และเหนือกว่าเอเชียใต้ (62.7%) ขณะที่ภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือยังคงเป็นพื้นที่ที่มีช่องว่างมากที่สุด (60.9%)
  • ผลจากระดับความสัมพันธ์ในปัจจุบัน อาจคาดการณ์ระยะเวลาในการที่จะปิดช่องว่างระหว่างเพศอย่างสมบูรณ์ ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกได้ว่า ในยุโรปตะวันตก 52.1 ปี  ในอเมริกาเหนือ 61.5 ปี ในละตินอเมริกาและแคริบเบียน 68.9 ปี ส่วนภูมิภาคอื่น ๆ ทั้งหมดจะใช้เวลามากกว่า 100 ปีขึ้นไป เช่น ในแอฟริกาใต้ 121.7 ปี ในยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง 134.7 ปี ในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก 165.1 ปี ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ 142.4 ปี และในเอเชียใต้ 195.4 ปี

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้เพื่อการโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save