Pitching & Negotiation คือคอร์สออนไลน์ยอดฮิตของ TUXSA ที่จะสอนให้คุณเชี่ยวชาญด้านการนำเสนอและต่อรอง โดยหนึ่งในเรื่องที่คุณจะได้เรียนคือ การทำ Pitch Deck หรือเอกสารที่เราใช้นำเสนอแนวคิดธุรกิจให้กับนักลงทุนที่เป็น potential investor
และ Pitch Deck ที่โด่งดังสุดๆ ซึ่งถูกหยิบมาเป็นกรณีศึกษาในคอร์สนี้คือ Pitch Deck ของ Airbnb ในปี 2009 ซึ่งใช้ระดมทุนไปได้ถึง 600,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ลองมาดูกันว่า Pitch Deck นี้หน้าตาเป็นอย่างไร มีวิธีนำเสนอแบบไหนถึงถูกใจนักลงทุนจนเราต้องหยิบมาให้เรียนกัน
10 ส่วนประกอบพื้นฐานของ Pitch Deck
ก่อนจะไปถึง Pitch Deck ของ Airbnb ลองมาดูกันว่าส่วนประกอบมาตรฐานของ Pitch Deck ที่ดีนั้นมีอะไรบ้าง
1.Title (ชื่อและที่อยู่ติดต่อของบริษัท)
2.Problem (ปัญหาที่ทำให้เกิดธุรกิจนี้)
3.Solution (ทางแก้ปัญหา)
4.Market Size (ขนาดของตลาด ยิ่งตลาดใหญ่ยิ่งดีเพราะผลตอบแทนการลงทุนก็จะใหญ่ตาม)
5.Business Model (วิธีการหาเงินจากลูกค้า)
6.Proprietary Tech /Expertise (ข้อได้เปรียบที่ทำให้คนแก้ปัญหานี้ต้องเป็นเราเท่านั้น)
7.Competition (คู่แข่งทั้งทางตรงและทางอ้อม)
8.Market Plan (แผนการตลาด)
9.Team (ทีมงาน โดยเฉพาะฝั่ง management)
10.Money, Milestones (จำนวนเงินที่ต้องใช้ วิธีการใช้เงิน ไมล์สโตนที่ตั้งไว้) *ส่วนนี้สำคัญมากสำหรับนักลงทุน
แกะสูตร Pitch Deck ขึ้นหิ้งของ Airbnb
ทีนี้ ลองมาเปิดดู Pitch Deck ของ Airbnb ที่มีส่วนประกอบมาตรฐานอยู่ในสไลด์อย่างครบถ้วน รวมถึงมีการเพิ่มเติมและจัดลำดับได้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ
มาดูกันว่า เขาเล่าความเป็น “Airbnb” อย่างไรให้เตะตา จับใจนักลงทุน
1.Title
สไลด์แรกของ Airbnb นอกจากจะมีชื่อโปรเจกต์ในตอนนั้น ยังมี message สั้นๆ ที่ชัดเจน เห็นเอกลักษณ์ความเป็น Airbnb นั่นคือ Book rooms with locals, rather than hotels
เรียกได้ว่าเป็นเหมือน pitch deck สั้นๆ แล้วตั้งแต่หน้าแรก
2.Problem
ในหน้าถัดมา Airbnb เล่าปัญหาในปัจจุบัน ซึ่งแน่นอนว่าเชื่อมโยงกับธุรกิจที่พวกเขาจะทำและเชื่อมโยงกับคนฟัง นั่นคือ ราคา โรงแรมซึ่งไม่เชื่อมโยงกับท้องถิ่น และการขาดช่องทางจองห้องง่ายๆ กับคนในพื้นที่
3.Solution
สไลด์หน้านี้พูดถึงทางแก้ปัญหาจากทีม Airbnb นั่นคือเว็บแพลตฟอร์มที่คนเข้ามาปล่อยเช่า ช่วยให้นักท่องเที่ยวประหยัดเงิน ช่วยให้เจ้าของห้องมีรายได้ และเกิดสิ่งที่เรียกว่า share culture ซึ่งโฮสต์กับนักท่องเที่ยวเชื่อมโยงถึงกัน
4.Market Validation
ในเรื่องตลาด Airbnb เริ่มต้นเล่าว่า ตลาดนี้มีลูกค้าที่มีศักยภาพจ่ายเงินอยู่แล้ว ด้วยการบอกว่าบ้านชั่วคราวที่ปล่อยเช่าได้มีเท่าไหร่ และลิสต์เฉพาะในย่านซานฟรานกับนิวยอร์กมีเท่าไหร่
5.Market Size
หลังจากนั้น Airbnb ก็ขยับมาพูดถึง Market Size ซึ่งแน่นอนว่าตลาดยิ่งใหญ่ยิ่งถูกใจนักลงทุน โดย Airbnb พูดถึงจำนวนห้องที่มีการบุ๊กในตลาดโลก เม็ดเงินที่ใช้ในการจอง และส่วนแบ่งตลาดที่ Airbnb น่าจะทำได้
6.Product
ในสไลด์นี้ Airbnb โชว์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ให้นักลงทุนได้เห็นว่าหน้าตาเว็บเป็นอย่างไร
7.Business Model
ต่อมาด้วยการพูดถึงวิธีการทำเงินของธุรกิจนี้
8.Adoption Strategy
จากนั้น Airbnb ก็พูดถึงวิธีการนำสินค้าเข้าสู่ตลาด โดยไปเชื่อมโยงกับสิ่งที่มีอยู่แล้วในตลาด
9.Competition
ต่อด้วยการวิเคราะห์คู่แข่งและระบุตำแหน่งของตัวเอง ซึ่งเน้นที่ราคาซึ่งจับต้องได้มากกว่าและมีความเป็นธุรกิจออนไลน์
10.Competitive/Unfair Advantages
ถัดมา Airbnb ได้เล่าอีกส่วนสำคัญของ Pitch Deck นั่นคือข้อได้เปรียบหรือสิ่งที่พวกเขามีแต่คู่แข่งไม่มี
11.Team
เมื่อเล่าเรื่องธุรกิจจนเห็นภาพ Airbnb ก็ขยับมาแนะนำทีมงานเพื่อให้เห็นศักยภาพของคนทำ
12.Press
ต่อมาด้วยความเห็นจากสื่อมวลชนที่แสดงให้เห็นว่า มีคนสนใจในแบรนด์และแสดงให้เห็นว่า Airbnb ได้เริ่มสร้างแบรนด์นี้ขึ้นมาแล้ว
13.User Testimonials
นอกจากหยิบความเห็นจากสื่อมาเล่า Airbnb ยังตอกย้ำคุณภาพของแบรนด์ให้มากขึ้นด้วยประสบการณ์จากผู้ใช้จริง
14.Financials
สุดท้าย Airbnb จบ Pitch Deck ของตัวเองด้วย Money, Milestones ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากสำหรับนักลงทุน โดยบอกว่าต้องการเงินเท่าไหร่ และจะใช้เงินทำกำไรกลับมาอย่างไร
และนี่คือ Deck ขนาด 14 หน้า ที่ Brian Chesky Joe Gebbia และ Nathan Blecharczyk ผู้ก่อตั้ง Airbnb ใช้ระดมทุนให้ธุรกิจของพวกเขาจนคว้าเงินมาได้ถึง 600,000 ดอลลาร์สหรัฐ แน่นอนว่า Pitch Deck ที่ดีนี้เองคือหนึ่งในส่วนสำคัญที่ทำให้องค์กรของพวกเขามาจนถึงวันนี้ได้
หากคุณสนใจอยากเรียนรู้เทคนิคเพื่อนำเสนองานอย่างเฉียบคมได้ไม่แพ้ทีม Airbnb คลิกไปเรียนคอร์ส Pitching and Negotiation ของ TUXSA ได้ที่นี่