เคยได้ยินคำว่า data-driven มาก็เยอะ เห็นเครื่องมือเกี่ยวกับข้อมูลมาก็มาก แต่ถ้าจะลงมือหยิบข้อมือหยิบข้อมูลไปใช้ในองค์กรจริงๆ เราควรเริ่มจากตรงไหนดี?
ในวิชา Digital Leadership ของ TUXSA อาจารย์และแขกรับเชิญจาก KPMG บริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีระดับโลกได้มีการพูดคุยถึงเรื่องนี้ ลองมาดูกันว่าจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เกิด data-driven ในองค์กรอยู่ตรงไหน
ถ้าอยากเริ่มคิดเรื่อง data ต้องเริ่มที่ไหน?
ตั้งโจทย์ว่าจะเอาข้อมูลไปใช้ทำอะไร
สิ่งแรกเริ่มคือต้องตั้งโจทย์กับตัวเองก่อน เพราะว่ากันว่า data is the new oil ก็จริง แต่ถ้าไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร น้ำมันแสนสำคัญนี้ก็ไม่มีประโยชน์
สำรวจว่าใคร / เก็บข้อมูลอะไร / ไว้ที่ไหน
ถ้าองค์กรของเรามีการเก็บข้อมูล เราต้องรู้ให้ได้ว่าใคร เก็บอะไร อยู่ที่ไหน และเอาข้อมูลมาใช้ร่วมได้มั้ย
เปลี่ยนความคิดคนทำงานว่าข้อมูลเป็นของบริษัท ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง
เมื่อก่อนนี้ การเปิดเผยข้อมูลในองค์กรเป็นเรื่องยาก เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะเป็นองค์กรที่ data-driven เราต้องเปลี่ยนความคิดว่า ข้อมูลเป็นของบริษัท ไม่ใช่ของใครหรือเป็นความลับที่เอามาใช้ไม่ได้ และการหยิบข้อมูลมาก็เพื่อจะเอามาใช้ทำงานของบริษัทนั่นเอง
เปลี่ยนวิธีทำงานจาก functional-based เป็นแบบ account-based หรือ project-based
จากการมองว่าอยู่ส่วนงานไหนก็ทำตรงนั้น เราอาจต้องเปลี่ยนมาทำงานกันแบบร่วมกันทำเป็นโปรเจกต์แทน
เปลี่ยนรูปแบบการทำงานของคนในองค์กรเป็นแบบ business partner
ถัดจากข้อข้างบน เมื่อเราเปลี่ยนมาทำงานร่วมกัน จากที่ต่างคนต่างดูงานของตัวเอง ก็จะเปลี่ยนมาเป็นการทำงานกันแบบ business partner ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเป็นฝ่ายขายของส่วนออนไลน์ จากที่ไม่ได้สนใจหน้าร้านออฟไลน์ ก็อาจต้องเปลี่ยนมาเป็นทำงานด้วยกัน มองว่าหน้าร้านนั้นจะเป็นจุดส่งให้เราได้หรือเปล่า
สร้างคนด้วยแนวคิดใหม่ ให้ทำงานได้หลากหลาย
ต้องสร้างคนที่ทำงานได้หลากหลาย job description ต้องกว้างกว่าเดิม เพื่อให้คนรู้ว่าต้องยืดหยุ่นและปรับตัว
คนทำงานฝั่ง tech และ non-tech ต้องปรับตัวเข้าหากัน
อีกเรื่องสำคัญของประเด็นบุคลากรคือ การทำงานเรื่องข้อมูลแปลว่ามีเรื่องเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นคนทั้งในและนอกสายเทคฯ ต้องปรับตัวเข้าหากัน เพื่อให้การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเกิดขึ้นได้อย่างราบรื่น
ถ้าอยากรู้ว่าทักษะการเป็นผู้นำในยุคดิจิตอลต้องเรียนรู้เรื่องไหนอีก คลิกไปเรียนได้เลยที่นี่