อยาก productive ฟังเพลงอะไรดี? แจก playlist เพื่อทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ฟังเพลงของโมซาร์ทแล้วเราจะฉลาดขึ้น? แล้วถ้าฟังเพลงเสียงดังๆล่ะ จะยิ่ง Productive ขึ้นด้วยหรือเปล่า? 

ผลจากงานวิจัยพบว่า “เสียง” มีผลต่อการทำงานของสมองและ Productivity ของคนเราอย่างไม่ต้องสงสัย วันนี้เราเลยอยากมาแจกเพลย์ลิสต์เพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

มีเพลงอะไรแบบไหนบ้างมาฟังกัน! 

1. Classical : เพลงคลาสสิค 

เพลงคลาสสิคถือเป็นเพลงที่คลาสสิคมาหลายช่วงอายุ เพราะไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี เพลงประเภทนี้ก็ยังมีกลุ่มคนฟังอยู่เสมอ โดยเฉพาะกลุ่มคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่มักจะเลือกฟังเพลงโมซาร์ท (Mozart for babies) เพื่อให้ลูกในท้องได้ฟังไปด้วย เชื่อว่าเพลงโมซาร์ทส่งผลต่อการทำงานของสมองทารกที่สามารถรับรู้และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเพลงได้ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ แล้วความเชื่อที่ว่า ถ้าให้ลูกฟังเพลงโมซาร์ทตั้งแต่เด็กทำให้โตขึ้นมาฉลาดขึ้นนั้นจริงหรือเปล่า?

จากการทดลองโดยการใช้เพลงควบคู่กับการทดสอบด้านมิติสัมพันธ์ (Music and spatial task performance) ซึ่งเป็นการทดสอบความสามารถในการแยกแยะวัตถุ 3D ความสามารถในการใช้จินตนาการ ตำแหน่งพื้นที่และประสาทสัมผัสต่างๆ ทีมวิจัยโดย Frances Rauscher, Gordon Shaw และ Catherine Ky พวกเขาทำการทดลองเก็บตัวอย่างนักศึกษา 39 คนจากแต่ละมหาวิทยาลัยให้มาฟังเพลง Mozart sonata เป็นเวลา 10 นาที ก่อนให้นักศึกษาแต่ละคนทำแบบทดสอบของตัวเอง ซึ่งผลคะแนนของนักศึกษาทั้ง 39 คน ล้วนมีคะแนนที่สูงมากอย่างมีนัยสำคัญ 

จากผลทดลองดังกล่าว พวกเขาจึงได้สรุปผลออกมาว่า เพลงของโมซาร์ทมีผลต่อการทำงานของสมองและช่วยให้เราฉลาดขึ้นได้จริง และยังมีผลต่อความสามารถในการใช้ทักษะเหตุผลและเชาว์ปัญญาระยะยะสั้นได้ดีขึ้นอีกด้วย (spatial-temporal reasoning)

ลองฟังเพลงแนวนี้ที่นี่

2. Coffee Shop Sounds : เสียงบรรยากาศในร้านกาแฟ

หากคุณไม่ใช่สายคลาสสิค แต่เป็นสายชิลล์ ชอบการโฟกัสที่ระยะกำลังดี ไม่หนักเกินไปหรือตั้งใจเกินไปจนอาจรู้สึกเครียด เสียงของบรรยากาศที่ไม่จำเป็นต้องมีดนตรีก็ถือเป็นเสียงที่ฟังได้เพลินๆ หากเสียงนั้นทำให้คุณรู้สึกอยู่ในบรรยากาศที่สบายใจและสมองปลอดโปร่ง ก็ช่วยในเรื่องของสมาธิและ Productivity ได้ จากงานวิจัยพบว่าเสียงของสภาพแวดล้อมรอบตัวในบรรยากาศที่สบาย ส่งผลดีต่อการทำงานและช่วยเสริมสร้างสมาธิ แต่ถ้าเสียงนั้นดังเกินไปก็จะกลายเป็นเสียงรบกวนที่ไม่อาจช่วยเรื่องของการโฟกัสหรือสมาธิได้ 

งานวิจัยเมื่อปี 2012 จาก Journal of Consumer Research พบว่าเสียงสภาพแวดล้อมรอบข้างในระดับปานกลาง ที่ไม่ดังและไม่เบาจนเกินไปนั้นช่วยกระตุ้นการโฟกัสและเพิ่มพูนความคิดสร้างสรรค์ให้เราได้จริง เช่น เสียงชงกาแฟ เสียงปั่นเครื่องดื่ม เสียงรถตามท้องถนน โดยนักวิจัยกลุ่มนี้ได้เสริมเพิ่มเติมด้วยว่า การฟังเสียงรอบข้างนั้นช่วยให้เราได้ออกมาข้างนอก ได้ใช้ประสาทสัมผัสที่กว้างขึ้น ในบรรยากาศที่สบายและเต็มไปด้วยความหลากหลาย ในสภาพแวดล้อมแบบนี้ ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าการอุดอู้ขังตัวเองอยู่ในห้องที่เงียบสงบแต่ขาดสีสันและความเคลื่อนไหว

ลองฟังเพลงแนวนี้ที่นี่

3. Ambient Music : ดนตรีแอมเบียนต์ 

ดนตรีแอมเบียนต์เป็นแนวดนตรีอีกประเภทที่ค่อนข้างให้อิสระและใจกว้างกับคนฟังทุกประเภท ด้วยความที่เป็นดนตรีที่เน้น “เสียง” มากกว่าตัวโน้ต ทำนองหรือคำร้อง ทำให้คนฟังสามารถฟังได้แบบไม่จำเป็นต้องคิดอะไร เพราะส่วนมากจะได้ยินเสียงสังเคราะห์จากซินธิไซเซอร์ หรือเสียงเครื่องดนตรีอะคูสติก เช่น เปียโน เครื่องสาย หรือ เครื่องเป่า ในทำนองเนิบช้าและเป็นเสียงซ้ำ ๆ ส่วนมากมักจะมีเสียงจากธรรมชาติประกอบด้วย เช่น เสียงหยดน้ำกระทบผิว เสียงใบไม้กระทบกัน เสียงลมพัดผ่านช่องเขา ผสมผสานกันจนออกมาเป็นเสียงดนตรีที่โดดเด่นในเรื่องบรรยากาศของเสียง โดยเฉพาะบรรยากาศของความสงบทางจิตใจ ที่เกิดขึ้นผ่านประสาทสัมผัสทางเสียง

ผลสำรวจจาก Spotify survey ในปี 2021 ทำการสำรวจผู้ใช้งานกว่า 4,000 คนในประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ พบว่ากว่า 69% เลือกแนวดนตรีแอมเบียนต์เป็นอันดับแรกสำหรับการเปิดฟังในขณะที่ต้องการโฟกัสการเรียน และอีก 67% บอกว่าท่วงทำนองและจังหวะที่ช้าของแนวดนตรีแอมเบียนต์ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการทำสมาธิ คนที่ได้ฟังดนตรีแอมเบียนต์แรกๆอาจคิดว่าเป็นเพลงกล่อมชวนหลับที่น่าเบื่อ หรือต้องใช้ความรู้สึกเข้าถึงมากๆ แต่ก็เป็นอีกหนึ่งประเภทของแนวดนตรีที่ช่วยบรรเทาบรรยากาศตึงเครียดได้ดีทีเดียว 

ลองฟังเพลงแนวนี้ที่นี่

4. Upbeat Tracks : ดนตรีเน้นจังหวะ 

ดนตรี Upbeat หรือดนตรีที่เน้นจังหวะมักใช้บ่อยสำหรับการออกกำลังกาย เพราะเป็นไปตามการเต้นของจังหวะหัวใจและการเคลื่อนไหวร่างกาย งานวิจัยโดยนักจิตวิทยา วิเคราะห์ว่า ผู้ที่ฟังดนตรีเน้นจังหวะด้วยความเร็วบีทต่อนาทีที่ 170-190 bpm สามารถช่วยให้ออกกำลังกายได้ง่ายขึ้นและมีผลต่อประสิทธิภาพการเต้นของหัวใจที่ดีขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ในกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายอื่นๆ เช่น การทำคาดิโอ ปั่นจักรยาน หรือวิ่ง หากฟังในจังหวะที่เร็วขึ้นมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งส่งผลต่อความเร็วในการเคลื่อนไหวมากขึ้นเท่านั้น เพราะดนตรีแบบเน้นจังหวะทำให้เราโฟกัสที่จังหวะและการอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้เราจดจ่อการเคลื่อนไหวของตัวเองได้อย่างเต็มที่ 

ลองฟังเพลงแนวนี้ที่นี่

5. Nature Sounds : เสียงธรรมชาติ 

เสียงธรรมชาติถือว่าเป็นเสียงที่เชื่อมโยงกับร่างกายและฮอร์โมนของมนุษย์ได้ดีที่สุด ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดและรักษาสมดุลความสงบของจิตใจ ซึ่งถ้าเราสามารถหาเวลาออกไปอาบป่า หรือทำกิจกรรมที่สวนสาธารณะ ก็จะช่วยให้เรารู้สึกสงบ ปลีกตัวเองจากเสียงอึกทึกวุ่นวายของในเมืองได้บ้าง แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถมีเวลาออกไปป่าได้ การฟังเสียงธรรมชาติแบบออนไลน์ก็ช่วยได้ไม่แพ้กัน โดยอาจเลือกฟังเป็นเสียงคลื่นทะเล น้ำตก หรือนกร้อง เสียงเหล่านี้จะช่วยลดความรู้สึกตึงเครียดและวิตกกังวล รักษาสมาธิให้สมดุล และจดจ่อกับงานตรงหน้าได้ดีขึ้น 

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยซัสเซ็กซ์ ในปี 2017 พบว่าเสียงธรรมชาติช่วยลดอาการเครียดและเสริมสร้างความสงบผ่อนคลายได้จริง แต่ก็พบอีกเรื่องน่าสนใจเช่นกันว่าหากให้คนที่รู้สึกผ่อนคลายอยู่แล้วมาฟังเสียงธรรมชาติ พวกเขากลับรู้สึกเครียดยิ่งกว่าเดิม เพราะฉะนั้นคนที่รู้สึกผ่อนคลายอยู่แล้ว จะข้าม Playlists นี้ไปก็คงไม่เป็นไร

ลองฟังเพลงแนวนี้ที่นี่

6. Pink and White Noise : เสียงสีขาวและสีชมพู

เสียงก็มี “สี” โดยสีในที่นี้หมายถึงการรวมตัวกันของสเปกตรัมของเสียง ที่ทำให้สามารถแยกประเภทของสีต่างๆได้ เสียงที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมก็คือ เสียงสีขาวและเสียงสีชมพู มันแตกต่างกันอย่างไร?

  • ‘เสียงสีขาว’ หรือ White Noise 

เสียงสีขาวเกิดจากเสียงที่มีคลื่นความถี่สูง-กลาง-ต่ำมาควบรวมกัน และมีจังหวะที่ราบเรียบสม่ำเสมอ ช่วยสร้างความรู้สึกสงบนิ่งให้แก่ผู้ฟังได้ ส่วนมากแล้วจะเป็น ‘เสียงแวดล้อม’ เกิดจากธรรมชาติที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เช่น เสียงน้ำไหลในลำธาร หรืออาจเป็นเสียงวนซ้ำที่เกิดจากอุปกรณ์บางอย่างในชีวิตประจำวัน เช่น เสียงแอร์หรือพัดลม ด้วยเสียงที่มีความสม่ำเสมอเช่นนี้ จึงช่วยกลบเสียงดังรอบข้างที่รบกวนการนอนได้ จากเสียงคนพูดคุย, เสียงหมาเห่าหมาหอน หรือเสียงรถมอเตอร์ไซค์ยามค่ำคืน ทำให้สมองไม่ได้จดจ่อเสียงอื่นๆ แต่มีสมาธิจดจ่อกับเสียงสีขาวอย่างต่อเนื่องจนหลับไปในที่สุด เสียงสีขาวจึงเป็นตัวช่วยชั้นดีสำหรับคนที่หลับยาก

งานวิจัยเสียงสีขาวโดย Scientific Reports ในปี 2017 ทำการวิจัยโดยกลุ่มคนไข้ในโรงพยาบาล พวกเขาพบว่า หลังจากได้ฟังเสียงสีขาวในขณะที่เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆไปด้วย คนไข้กลุ่มนี้สามารถจดจำและนึกคำศัพท์ได้ไวกว่าคนไข้ที่เรียนรู้ศัพท์ใหม่ในความเงียบ นักวิจัยได้ทำการสรุปและยืนยันว่า เสียงสีขาวนั้นมีผลต่อการสร้างความจำได้จริง 

  • ‘เสียงสีชมพู’ (Pink Noise) 

เสียงสีชมพูก็สามารถช่วยแก้ปัญหาการนอนไม่หลับได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับคลื่นความถี่เสียงของแต่ละคน เราอาจเรียกเสียงสีชมพูว่าเป็นเสียงขาวชนิดหนึ่ง แต่จะเป็นเสียงที่เบาและนุ่มนวลกว่า ค่อนข้างเป็นเสียงที่มาจากธรรมชาติ เช่น เสียงฝน  น้ำตก คลื่นทะเล ลมพัด โดยเสียงสีชมพูมักใช้ร่วมกับการรักษาอาการนอนไม่หลับในกลุ่มคนสูงอายุ 

นอกจากนี้ เสียงสีชมพูก็มีผลต่อการจดจำที่ดีขึ้นด้วย โดยเป็นการสร้างความจำใหม่ๆในขณะที่หลับลึก โดย งานวิจัยจาก Frontiers in Human Neuroscience พบว่า ผู้สูงอายุที่ได้ฟังเสียงสีชมพูในขณะที่นอนหลับนั้นไม่ค่อยมีอาการหลงลืมบ่อย และเมื่อทำแบบทดสอบประเมินความจำ พวกเขาก็ทำได้ดีมากด้วยเช่นกัน

ลองฟังเพลงแนวนี้ที่นี่

อ้างอิง:

https://blog.trello.com/science-backed-productivity-playlists 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้เพื่อการโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า