ในโลกที่หมุนเร็วและเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ผู้นำที่จะพาทีมและองค์กรก้าวไปข้างหน้าพร้อมสร้างสรรค์สิ่งใหม่ควรมีบทบาทอย่างไร?
บทความจาก Harvard Business Review เรียกบทบาทของผู้นำยุคอนาคตว่า ABCs นั่นคือ Architect Bridger และ Catalyst ลองมาดูกันว่าแต่ละบทบาทคืออะไรบ้าง
ABCs 3 บทบาทที่ผู้นำสำหรับโลกวันพรุ่งนี้ควรทำ
ผู้นำที่ประสบความสำเร็จนั้นไม่ใช่แค่สร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมได้ แต่ยังสร้างเครือข่ายและระบบนิเวศนอกองค์กรได้ด้วย โดยผู้นำเหล่านี้จะทำ 3 หน้าที่ซึ่งสอดคล้องกัน นั่นคือ สถาปนิก (Architect) นักเชื่อมต่อ (Bridger) และนักจุดประกาย (Catalyst) หรือ ABCs
ผู้นำในฐานะ “สถาปนิก”
ผู้นำต้องสร้างองค์กรที่มีวัฒนธรรมและศักยภาพในการส่งเสริมให้ทุกคนในองค์การอยากสร้างนวัตกรรมและสร้างสรรค์นวัตกรรมเองได้ โดยใช้คานงัด 5 อันคือ วิธีการบริหาร คนเก่ง โครงสร้างองค์กร โมเดลการจัดการ และเครื่องมือต่างๆ
ผู้นำในฐานะ “นักเชื่อมต่อ”
แค่ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมในองค์กรก็นับว่าท้าทายมากแล้ว แต่ผู้นำสำหรับโลกยุคอนาคตยังต้องเชื่อมต่อคนในองค์กรกับคนนอกองค์กรด้วย ซึ่งในหลายกรณี นี่อาจหมายถึงการสร้าง innovation lab เพื่อเปิดโอกาสให้คนหลายภาคส่วนมาร่วมสร้างสรรค์ด้วยกัน
ในการจะทำสิ่งนี้ได้ “นักเชื่อมต่อ”ต้องสร้างสายสัมพันธ์กับคนนอกองค์กร ที่หมายถึงการมีความเชื่อใจซึ่งกันและกัน มีส่งอิทธิพลต่อกันและกัน รวมถึงมีคำมั่นสัญญาร่วมกัน
ผู้นำในฐานะ “นักจุดประกาย”
มากกว่านั้น ผู้นำยุคอนาคตยังต้องส่งเสริมและเร่งให้เกิดการทำงานร่วมกันทั้งในระดับบุคคลและระดับกลุ่มแบบที่เป็นอิสระจากองค์กร เพื่อช่วยให้ไอเดียสร้างผลกระทบได้เร็วขึ้น
“นักจุดประกาย” จะต้องระบุกลุ่มคนที่ควรทำงานร่วมกัน และทำให้ผู้เล่นคนสำคัญมีพลังที่จะร่วมสร้างสรรค์ ซึ่งในหลายกรณี นั่นหมายถึงการทำงานกับองค์กรหรือบุคคลนอกวงการที่ผู้นำอยู่ ซึ่งตัวผู้นำเองแทบควบคุมอะไรไม่ได้เลย
ทั้งหมดนี้คือ 3 บทบาทซึ่งคนที่อยากนำองค์กรเพื่อก้าวไปสู่วันพรุ่งนี้ต้องก้าวไปเล่น และนั่นหมายถึง “ผู้นำที่ยิ่งใหญ่” จะต้องพร้อมเปลี่ยนแปลงตัวเอง โดยไม่ยึดติดกับความเป็นผู้นำรูปแบบเดิมๆ แต่พร้อมปรับบทบาทให้เหมาะกับโลกที่ก้าวต่อไปไม่หยุดยั้ง
และสำหรับใครที่อยากเรียนรู้ทักษะการเป็นผู้นำสำหรับโลกในอนาคต สามารถเรียนรู้ได้ในหลักสูตร M.B.A. (Business Innovation) ของ TUXSA ได้ที่นี่
อ้างอิง:
hbr.org