ถ้าคุณทำงานที่ทำอยู่มาได้สักพักจนอยู่มือและเริ่มรู้สึกเบื่อๆ แต่ขณะเดียวกัน ออฟฟิศนี้ก็ดีอยู่แล้ว ไม่ได้อยากลาออกไปที่ใหม่ บางทีสิ่งที่ควรทำอาจเป็นการ “Disrupt ตัวเอง” เพื่อกลับมาทำให้การงานสนุกอีกครั้ง
เราจะ disrupt ตัวเองได้อย่างไร? มาดูกันเลย!
เราควร disrupt ตัวเองเมื่อไหร่?
เมื่อคุณทำงานมาสักพัก แล้วรู้สึกว่าอยู่ในตำแหน่งนี้ได้สบายๆ แต่ขณะเดียวกันก็เบื่อๆ ไม่ได้ใช้จุดแข็งของตัวเองเต็มที่ทุกวัน นี่คือเวลาที่คุณควรจะขยับตัวได้แล้ว แต่การขยับไปสู่สิ่งใหม่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องลาออกไปหางานใหม่ทำเสมอไป บางที คุณอาจเริ่มจาก “การ disrupt ตัวเอง”
จะ disrupt ตัวเองได้ยังไง?
1.Danger zone
การ disrupt ตัวเองเริ่มจากที่คุณตระหนักว่าตัวเองอยู่ในโซนอันตราย เพราะไม่มีสิ่งใหม่ให้เรียนรู้หรือเรียกได้ว่าอยู่จุดสูงสุดของการเรียนรู้สิ่งนั้นแล้ว ซึ่งนั่นไม่ใช่การไม่ชอบบริษัทหรือหัวหน้าแต่อย่างใด
การรู้สิ่งนี้จะช่วยให้คุณขยับตัวได้ทันเวลา ไม่อย่างนั้น การอยู่ในโซนอันตรายนานเกินไปจะทำให้ที่ราบสูงที่คุณยืนอยู่กลายเป็นหน้าผาได้
2.Take a risk
คุณอาจรู้สึกว่าจุดที่ยืนอยู่นั้นสบายดี และการโดดไปสู่สิ่งใหม่นั้นน่ากลัวเพราะหมายถึงการไปสู่สิ่งที่ไม่เคยทำและอาจไม่สบายเนื้อสบายตัว แต่การจะ disrupt ตัวเองนั้น คุณต้องกล้าเสี่ยงกระโดดไปสู่สิ่งใหม่แม้คุณในตอนนี้จะไม่อยากโดดเลยก็ตาม เพราะถ้าคุณไม่โดดและนั่งอยู่ใน comfort zone ไปเรื่อยๆ คุณจะหยุดเติบโต ซึ่งนั่นก็เป็นสถานการณ์ที่น่ากลัวมากไม่ต่างกัน
3.It’s not just about you
เมื่อคุณรู้ตัวว่าต้องกระโดดไปสู่สิ่งใหม่แล้ว แต่ยังรักที่จะอยู่ในองค์กรเดิมต่อไป คุณควรเข้าไปคุยกับหัวหน้าโดยให้หัวหน้ารู้ว่าสิ่งนี้ไม่ใช่แค่ดีกับคุณ แต่ยังดีต่อองค์กรด้วย เพื่อเขาจะได้เข้าใจและสนับสนุน
ทั้งนี้ การคุยกับหัวหน้านั้นควรเป็นการคุยแบบ proactive ว่าถึงเวลาที่คุณต้องเริ่มต้นไปทำสิ่งใหม่ และสิ่งนั้นคืออะไร มีปัญหาไหนของบริษัทที่คุณจะช่วยแก้ไขได้ และอย่าลืมให้ความมั่นใจหัวหน้าว่า ก่อนไปทำสิ่งนั้น คุณจะฝึกคนใหม่เพื่อให้เข้ามาทำตำแหน่งเดิม เพื่อให้หัวหน้ายังคงทำงานได้อย่างไหลลื่น การทำแบบนี้จะช่วยให้หัวหน้าไม่รั้งตัวคุณไว้ทำสิ่งเดิมต่อไป
ขณะเดียวกัน ถ้าคุณที่กำลังอ่านอยู่ตอนนี้คือหัวหน้าที่ต้องดูแลทีม ขอให้คุณรู้ว่าองค์กรนั้นต้องการพนักงานที่เติบโตต่อไป พนักงานที่เรียนรู้และทำสิ่งหนึ่งจนเชี่ยวชาญ แล้วเดินหน้าไปทำสิ่งใหม่ต่อ หน้าที่ของคุณคือช่วยให้พนักงานที่ทำสิ่งหนึ่งได้ดีแล้วกระโดดไปสู่สิ่งใหม่ได้ ไม่ว่าเขาจะเข้ามาบอกกับคุณหรือไม่ก็ตาม
ทั้งหมดนี้คือวิธี disrupt ตัวเองของคนทำงาน เพื่อจะได้เติบโตต่อไปในองค์กรที่คุณรัก และสำหรับใครที่สนใจพัฒนาตัวเองให้เติบโตต่อไป ลองดูรายละเอียด TUXSA ปริญญาโทจากธรรมศาสตร์และ SkillLane ได้ที่นี่
อ้างอิง: Harvard Business Review