เวลาพูดถึงการโค้ช เรามักนึกถึงการฝึกฝนแบบ 1-1 แต่ที่จริงแล้ว ไม่ว่าเราจะได้รับการโค้ชจนเก่งแค่ไหน การที่เราและทีมจะทำงานได้อย่างมีพลังนั้นต้องอาศัยการฝึกแบบกลุ่มเท่านั้น
วันนี้ TUXSA เลยมีเครื่องมือและเทคนิคโค้ชคนแบบยกทีมมาแชร์กัน จะมีอะไรบ้าง ลองมาเรียนรู้กันได้เลย!
3 เครื่องมือและเทคนิคโค้ชคนทำงานแบบ “เป็นทีม” เพื่อทีมที่แข็งแกร่งกว่าเดิม
1.โค้ชแบบ problem-based ให้ทั้งทีมร่วมกันแก้ปัญหา
หัวหน้าทีมมักจะมีสัญชาตญานในการเข้ามาเป็นผู้นำในการแก้ปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรค แต่ในสภาพแวดล้อมของการฝึกฝนแบบเป็นทีม ผู้นำจะรับมือกับปัญหาและความท้าทายในฐานะโอกาสที่จะทำให้สมาชิกในทีมได้เรียนรู้และเติบโต
แน่นอนว่าสิ่งนี้ใช้เวลาและพลังงานมากกว่าการที่ผู้นำทีมแก้ปัญหาเสียเอง แต่ประโยชน์ระยะยาวคือ การเพิ่มความเร็วในการเรียนรู้ เพิ่มความมั่นใจ จิตวิญญานความเป็นทีม และการมีส่วนร่วมในการทำงาน
2.ตั้งคำถามให้ทีมคิด ไม่ใช่บอกคำตอบสำเร็จรูป
ผู้นำทีมควรใช้คำถาม ไม่ใช่คำตอบ ในการเชิญชวนและออกแบบวิธีที่ทีมจะเข้าใจสถานการณ์รวมถึงลงมือแก้ปัญหา สิ่งนี้ต้องอาศัยการหักห้ามใจและการฝึกฝนเพื่อกำหนดคำถามที่จะกระตุ้นให้ได้ข้อมูลเชิงลึกและเปลี่ยนความคิด แต่เมื่อเราทำได้ นี่จะเป็นเทคนิคการบริหารที่ทรงพลัง
ตัวอย่างคำถาม
- ได้ลองทำอะไรไปแล้วบ้าง?
- มีข้อมูลครบถ้วนหรือยัง?
- ใครทำสิ่งนี้ได้ดี? เขาใช้วิธีไหน?
3.มองทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวเป็นโอกาสในการเรียนรู้
วิธีการนี้จะช่วยเปลี่ยนจังหวะการทำงาน เพราะเมื่อทีมเข้าใจว่าทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวจะถูกมองเป็นโอกาสในการเรียนรู้ ไม่มีการกล่าวโทษกัน พวกเขาจะอยากขยายขอบเขตความเป็นไปได้ ท้าทายสมมติฐาน และยอมรับผิดมากกว่าเดิม ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้พวกเขาเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงวิธีการจากสิ่งที่เคยทำผิดไป ทำให้ความผิดพลาดเร็วขึ้นและต้นทุนถูกลงกว่าเดิม รวมถึงเกิดการค้นพบสิ่งใหม่ครั้งใหญ่ได้
และทั้งหมดนี้คือ 8 เทคนิคเพื่อการเป็นผู้นำสื่อสารเก่ง สำหรับใครที่อยากเรียนรู้ทักษะการเป็นผู้นำยุคใหม่ ลองดูรายละเอียดหลักสูตร M.B.A. (Business Innovation) ของ TUXSA ป.โทออนไลน์โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane ได้ที่นี่
อ้างอิง: hbr.com