ตั้ง “ชื่อเล่น” ให้แบรนด์ของคุณ ! เครื่องมือสำคัญที่ทำให้ธุรกิจปัง ลูกค้าจำง่าย บอกต่อสะดวก

ชื่อของแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญมาก เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของธุรกิจ ไม่ใช่แค่เอาไว้เรียกเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของแบรนด์ ยิ่งถ้ามีความหมายที่ดีก็ยิ่งทำให้ผู้คนจดจำ และรู้สึกดีกับแบรนด์ไปได้นานๆ

แต่ไม่ใช่แค่ชื่อเต็มของแบรนด์เท่านั้นที่สำคัญ เพราะหากแบรนด์ของคุณมี “ชื่อเล่น” จะยิ่งทำให้ลูกค้ารู้สึกผูกพันและคุ้นเคยกับแบรนด์มากยิ่งขึ้น

ผลสำรวจจาก  Journal of Marketing  เผยว่า ชื่อเล่นของแบรนด์นั้นสร้าง Engagement กับลูกค้าเพิ่มขึ้นสูงมากอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะการตลาดออนไลน์ในยุคปัจจุบัน การทำให้ลูกค้าเข้าถึงง่ายๆและรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญมาก หากแบรนด์มีเพียงชื่อปกติธรรมดาหรือชื่ออย่างเป็นทางการเพียงชื่อเดียว อาจเข้าถึงลูกค้าได้ยากขึ้นมากกว่าแบรนด์ที่มีชื่อเล่น โดยการมีชื่อเล่นในที่นี้จะได้ผลลัพธ์เชิงบวกหากชื่อเล่นนั้นลูกค้าเป็นคนเรียกหรือตั้งให้แบรนด์เอง กลับกันหากธุรกิจคุณตั้งชื่อเล่นให้ตัวเอง ผลลัพธ์ที่ได้อาจเป็นตรงกันข้ามเลยทีเดียว

ยกตัวอย่างเช่น McDonald’s เป็นชื่ออย่างเป็นทางการ แต่ลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะเรียกเพียงชื่อเล่นสั้นๆ ว่า Mac หรือ Macca’s  (ในกลุ่มลูกค้าประเทศออสเตรเลีย) หรือธุรกิจเครื่องดื่มที่อยู่มานานอย่าง Coca-Cola ในบางประเทศก็จะเรียกเพียงสั้นๆว่า Coke หรือ Cola เท่านั้น หรือธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทยอย่าง บาร์บีคิวพลาซ่า ก็จะมีชื่อเล่นติดปากที่ลูกค้ามักจะเรียกกันว่า บาร์บีก้อน หรือ สั้นๆว่า ก้อน นั่นเอง

ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเปลี่ยนชื่อแบรนด์ธุรกิจตัวเองให้เป็นชื่อเล่นทั้งหมด การมีชื่อบริษัทอย่างเป็นทางการนั้นเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว ในด้านของความน่าเชื่อถือ แต่การมีชื่อเล่นเรียกง่ายนั้นช่วยสร้างความได้เปรียบทางการตลาดในการเข้าถึงลูกค้า ในบทความนี้จะบอก 3 สิ่งที่ควรและไม่ควรทำในการสร้างชื่อเล่นของแบรนด์ให้ติดปาก จนลูกค้าจำง่าย รู้สึกผูกพันและอยากบอกต่อ …

สิ่งที่ควรทำ 

1.ตามเทรนด์ให้ทัน : คอยสังเกตเสมอว่าลูกค้าพูดถึงแบรนด์ของคุณอย่างไร 

การทำธุรกิจในปัจจุบัน ข้อมูล (Data) เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และเทรนด์ที่ลูกค้ากำลังสนใจ สิ่งที่คุณควรทำก็คือ คอยสังเกตเสมอว่าลูกค้าพูดถึงแบรนด์คุณอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นตาม Hashtag หรือรีวิวต่างๆ ดูว่าลูกค้ามีแนวโน้มพึงพอใจกับแบรนด์คุณมากแค่ไหน และส่วนใหญ่แล้วลูกค้าเรียกแบรนด์ของคุณว่าอะไร เพราะนั่นอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างชื่อเล่นให้แบรนด์ได้ 

คุณอาจคิดว่าหากได้รับรีวิวที่ดีและลูกค้าพึงพอใจ ชื่อเล่นแบรนด์ก็อาจไม่สำคัญหรือไม่ ? คำตอบคือชื่อเล่นของแบรนด์ยังคงมีความสำคัญมาก และส่งผลกระทบต่อความรู้สึกอยากใช้บริการของลูกค้าในวงกว้าง อย่าลืมว่าอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นโลกขนาดใหญ่ อะไรที่เข้าใจได้ง่ายและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วย่อมได้เปรียบ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทผลิตรถยนต์อย่าง Chevrolet ที่เรารู้จักเป็นอย่างดี แต่ลูกค้าส่วนใหญ่ในทวิตเตอร์กลับเรียกสั้นๆว่า Chevy มากถึง 41% เลยทีเดียว 

2.ใส่ชื่อเล่นของแบรนด์ใน SEO Strategy

นอกเหนือไปจากการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในโลกออนไลน์แล้ว คุณต้องทำให้ธุรกิจของคุณพบเห็นได้ง่ายและบ่อย หมายความว่า เวลาที่ลูกค้าเสิร์ชชื่อแบรนด์ของคุณไม่ว่าจะเป็นชื่อใดก็ตาม ควรพบชื่อแบรนด์คุณเป็นชื่อแรก นั่นรวมไปถึงชื่อเล่นทุกๆเวอร์ชั่นของแบรนด์ด้วย ยกตัวอย่างเช่น BMW’s ที่ได้ทำการสำรวจพบว่า กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เรียกชื่อแบรนด์ว่า beemers, beamers และ bimmers สิ่งที่ BMW’s ทำก็คือใส่ทุกชื่อเล่นที่ถูกเรียกไว้ใน SEO Strategy เพื่อทำให้ไม่ว่าลูกค้าจะเสิร์ชชื่อว่าอะไร ก็จะเห็นเว็บไซต์ของ BMW’s เป็นชื่อแรกเสมอ

หลายๆธุรกิจที่เติบโตและประสบความสำเร็จเพราะใช้ SEO Strategy เครื่องมือสำคัญของนักการตลาดออนไลน์ที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณอยู่บนหน้าแรกของการค้นหา ยิ่งอยู่อันดับแรกๆมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้ลูกค้าคลิกเข้ามาดูสินค้าหรือบริการมากขึ้นเท่านั้น 

3.ปกป้องชื่อเล่นของแบรนด์ อย่าใช้ชื่อซ้ำกับแบรนด์อื่น 

สิ่งที่ควรระวังคือเวลาเลือกใช้ชื่อเล่นของแบรนด์ก็คือ อย่าใช้ชื่อซ้ำกับแบรนด์อื่น ชื่อเล่นของแบรนด์ควรมีความเป็นเอกลักษณ์ นอกจากดีต่อ SEO และ SEM แล้ว ยังดีต่อ Corporate -Branding ในอนาคตด้วย เพราะคุณอาจไม่รู้ว่าชื่อที่ใช้ซ้ำกับแบรนด์อื่นนั้นมีรีวิวที่ดีหรือแย่อย่างไรบ้าง หากบังเอิญใช้ชื่อซ้ำไปแต่รีวิวของชื่อนั้นเป็นคำวิจารณ์ในทางลบ นั่นย่อมไม่ดีต่อชื่อเสียงของแบรนด์ของคุณอย่างแน่นอน 

สิ่งที่ไม่ควรทำ

1.พยายามอย่าห้ามลูกค้าให้ใช้ชื่อเล่นของแบรนด์

สิ่งนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับ Coca-Cola ในปี ค.ศ. 1913 Coca-Cola ได้ผลิตแคมเปญโฆษณาชื่อว่า Coca-Cola: Ask for it by its full name หรือเรียกพวกเราด้วยชื่อเต็ม ผลก็คือ ไม่มีใครกลับไปเรียกชื่อเต็มอีกแล้ว หลังจากที่พวกเขาเริ่มคุ้นเคยกับการเรียกชื่อเล่นเฉยๆว่า Coke หรือ Cola เพราะฉะนั้น โฆษณาชิ้นนั้นของ Coca-Cola จึงไม่ประสบความสำเร็จ แต่ปัจจุบัน แม้จะผ่านมานานถึง 30 ปีแล้ว บริษัท Coca-Cola ก็ยังคงอยู่ดี และผู้คนก็ยังคงนิยมเครื่องดื่มชนิดนี้ นั่นเป็นข้อพิสูจน์ว่า ชื่อเล่นที่ลูกค้าเรียกไม่ได้มีผลต่อแบรนด์ในทางที่ไม่ดี กลับกันยิ่งสร้างผลดีให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมมาได้อย่างยาวนานอีกด้วย

2.ให้ลูกค้าเป็นผู้เลือกชื่อเล่นของแบรนด์ และไม่ควรจะมีแค่ชื่อเดียว

เหตุผลที่ทำให้ชื่อเล่นของแบรนด์ได้ผลก็คือชื่อเล่นนั้นลูกค้าเป็นคนตั้งให้แบรนด์เอง หรือลูกค้าเป็นผู้เรียกชื่อนั้นด้วยตัวเอง จะทำให้ความรู้สึกผูกพันกับแบรนด์ได้ผลมากกว่าการพยายามเรียกชื่อเล่นของแบรนด์ที่คิดว่าลูกค้าน่าจะชอบ ผลการสำรวจจากผู้บริโภคเผยว่า 88%  รู้สึกว่าชื่อเล่นของแบรนด์ไม่ควรมีแค่ชื่อเดียว แต่ควรจะหลากหลาย และขึ้นอยู่กับแต่ละคน 

3.อย่ายัดเยียดชื่อเล่นของแบรนด์ให้ลูกค้า

และข้อสุดท้ายคุณไม่ควรยัดเยียดชื่อเล่นของแบรนด์คุณให้กับลูกค้า หรือพยายามตั้งมันขึ้นมาเพราะคิดว่าลูกค้าน่าจะชอบ ชื่อเล่นของแบรนด์ควรเกิดจากลูกค้า ลูกค้าจะเป็นคนตั้งชื่อนั้นให้แบรนด์คุณเอง เพราะชื่อเล่นนั้นเป็นสิ่งสะท้อนว่าลูกค้ารู้สึกอย่างไรและคิดอย่างไรกับแบรนด์ของคุณ เพราะฉะนั้นปล่อยให้มันเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ  และปล่อยให้ลูกค้าเป็นเจ้าของชื่อเล่นนั้นด้วยตัวเอง

อ้างอิง :

SHARE

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้เพื่อการโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save