ถ้าคุณเคยอยากทำอะไรสักอย่างแล้วลงมือทำโดยมีแรงจูงใจเต็มเปี่ยม แต่ก่อนถึงเป้าหมายก็เบื่อหรือท้อใจไปดื้อๆ ลองมารู้จัก Goldilocks Rules กฏที่ช่วยให้แรงจูงใจอยู่กับคุณจนถึงปลายทางกัน
มาเรียนรู้ไปพร้อมกันได้เลย!
ทำยังไงให้ “แรงจูงใจ” ไ่ม่ตกก่อนถึงเป้าหมาย?
ทำไมเราถึงไม่มีแรงจูงใจไปถึงเป้าหมาย ลองลงมือทำได้ไม่กี่วันก็เลิกกลางคัน อะไรคือความแตกต่างระหว่างกรณีที่เรามีแรงใจในการไปต่อกับกรณีที่เราถอดใจ
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาเรื่องแรงจูงใจมายาวนาน และหนึ่งสิ่งที่พวกเขาค้นพบบ่อยครั้งคือ วิธีดีที่สุดที่เราจะรักษาแรงจูงใจในการทำสิ่งต่างๆ ไว้ได้คือ การทำสิ่งที่ “ยากในระดับที่รับมือไหว”
รู้จัก Goldilocks Rule กฎรักษาแรงจูงใจให้อยู่กับเรา
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ชอบความท้าทาย แต่เราจะชอบก็ต่อเมื่อความท้าทายนั้นเป็นระดับที่จัดการได้
เป็นต้นว่า ถ้าคุณอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ทักษะหนึ่ง การเริ่มจากสิ่งที่ง่ายเกินไปจะทำให้คุณเบื่อ ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณเริ่มเรียนระดับแอดวานซ์เลย ไม่นานคุณก็จะท้อใจเพราะมันยากเกินไป
แต่ถ้าคุณเริ่มเรียนรู้จากจุดที่พอดี คุณจะมีโอกาสชนะหรือเข้าใจสิ่งที่เรียนได้ถ้าคุณพยายามจริงๆ ในเวลานั้น คุณจะทุ่มเทให้กับสิ่งที่กำลังทำ เพราะสิ่งที่ทำนั้นท้าทายแต่จัดการได้ นักวิทยาศาสตร์พบว่าการทำอะไรสักอย่างที่ไม่ง่ายหรือยากเกินไปนี่เอง ที่จะทำให้เรารักษาแรงบันดาลใจไว้ได้ในระยะยาว
James Clear ผู้เขียนหนังสือ Atomic Habits เรียกสิ่งนี้ว่า The Goldilocks Rule (Goldilock เป็นตัวละครในนิทานเด็กที่ลองชิมข้าวต้ม 3 ถ้วยแล้วพบว่ามีเพียงถ้วยเดียวที่อุณภูมิ “พอเหมาะ”) หรือกฏที่ระบุว่า มนุษย์จะมีแรงจูงใจสูงสุดเมื่อเราทำงานที่ “ไม่ง่ายหรือยากจนเกินไป”
วิธีรักษาแรงจูงใจให้อยู่กับเรา
1.รักษา Goldilocks Rule เอาไว้
การทำงานที่ยากในระดับที่พอเหมาะนั้นจะช่วยให้เราทั้งมีแรงจูงใจและมีความสุข
2.วัดผลพัฒนาการของคุณและรับข้อเสนอแนะทันทีที่เป็นไปได้
อย่างไรก็ตาม การจะรักษาประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดไว้ได้ คุณยังต้องคอยวัดผลพัฒนาการของตัวเองในทันที การได้เห็นพัฒนาการของตัวเองในตอนนั้นเลยเป็นสิ่งที่จูงใจให้เราลงมือทำต่อไป ซึ่งนั่นหมายถึงการรับ feedback หรือข้อเสนอแนะจากคนอื่นทันทีที่เป็นไปได้ ไม่ว่ามันจะเป็นการติหรือชมก็ตาม
และนี่คือวิธีที่จะช่วยรักษาให้แรงจูงใจของเราไม่ตกก่อนถึงเป้าหมาย คราวหน้าถ้าต้องการลงมือทำอะไรสักอย่าง ลองเลือกวิธีการไปถึงเป้าหมายนั้นที่พอเหมาะกับตัวคุณดู
สำหรับใครที่ต้องการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ลองเลือกดูวิชาของ TUXSA ที่พอดีสำหรับคุณได้ที่นี่
อ้างอิง:
inc.com
education.nationalgeographic.org
หนังสือ Atomic Habits