ช่วงที่ผ่านมา เราได้ยินเรื่อง The Great Resignation ที่คนทำงานพร้อมใจกันลาออก โดยมีผลสำรวจชี้แนะว่าหลายคนเลือกย้ายไปสู่งานที่ดีกว่า ซึ่งนั่นทำให้ดูเหมือนอำนาจการต่อรองได้ย้ายมาสู่มือพนักงาน แต่ในปี 2023 นี้ สถานการณ์ยังเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า เมื่อโลกยุคนี้เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน และยังมีข่าวเรื่องการ layoff รวมถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยอยู่ไม่ขาด
ลองมาเรียนรู้ทิศทางโลกการทำงานปี 2023 และทักษะที่คนทำงานควรมีติดตัว เพื่อก้าวสู่อนาคตที่ต้องการได้อย่างมั่นคงสวยงาม
เรียนรู้โลก: โลกการทำงานปี 2023 จะหมุนไปทางไหน
นิตยสาร Forbes ได้วิเคราะห์ตลาดงานอเมริกาในปี 2023 ไว้ว่า คนทำงานจะเปลี่ยนงานบ่อยๆ ได้ยากขึ้น และข้อเสนอดีๆ ก็จะมีน้อยลง ขณะที่ในประเทศไทย สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยว่า อัตราการจ้างงานใหม่จะขยายตัวแบบเปราะบางเพราะทิศทางเศรษฐกิจโลกซึ่งถดถอย
ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน หนึ่งในสิ่งสำคัญที่คนทำงานควรให้ความสนใจคือ ตัวเราเองมีศักยภาพเพียงพอในโลกการทำงานยุคใหม่หรือไม่ เพราะในปัจจุบัน งานรูปแบบเก่าที่คนทำงานคุ้นเคยกำลังถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี พร้อมกับที่มีงานใหม่ๆ เกิดขึ้น ส่งผลให้คนทำงานที่พัฒนาทักษะตอบโจทย์ตลาดแรงงานไม่ทันต้องตกงาน ขณะเดียวกัน ตลาดก็ขาดแคลนคนเข้ามาทำงานตำแหน่งใหม่เหล่านี้ จนเกิดเป็นปัญหาขาดแคลนแรงงานทั่วโลก
ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่คนทำงานควรทำคือ การพัฒนาตัวเองให้เป็นคนที่บริษัทยังคงต้องการเสมอ และเมื่อมีโอกาส ก็ก้าวสู่เส้นทางใหม่ได้ทันที แต่ในโลกที่ไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงเร็ว เราควรพัฒนาทักษะอะไรเพื่อตอบโจทย์อนาคต?
วิชาชีวิต: ทักษะไหนที่โลกการทำงานอนาคตมองหา
รายงานจาก World Economic Forum ได้พูดถึงทักษะสำหรับคนทำงานที่น่าสนใจคือ Cross-cutting skills หรือทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายงาน ซึ่งด้านล่างนี้คือตัวอย่าง 5 ทักษะแบบ Cross-cutting ซึ่งเป็นที่ต้องการสำหรับกลุ่มงานสำหรับโลกยุคใหม่
- Business Management: ทักษะเฉพาะทางในการดำเนินธุรกิจ การวางกลยุทธ์ การบริหารจัดการ และสภาวะการเป็นผู้นำ ตลอดจนความรู้ความเข้าใจในทีมและองค์กร สามารถนำไปใช้ได้กับกลุ่มงานอย่าง People and Culture และ Marketing
- Data Science: ทักษะการนำข้อมูลซึ่งเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการตัดสินใจทางธุรกิจ มาวิเคราะห์เชิงลึกและคาดการณ์ความเป็นไปได้เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน รวมถึงสร้างความเชี่ยวชาญในการวางนโยบาย และการบริหารจัดการเทคโลยีดิจิทัลเพื่อรองรับข้อมูลจำนวนมาก ทักษะนี้ใช้ได้กับกลุ่มงานอย่าง Data and AI และ Product Development
- Product Marketing: ทักษะการวางแผนเชิงกลยุทธ์ทางการตลาดที่มุ่งเน้นเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์เพื่อเข้าสู่ตลาดและสร้างจุดยืน พร้อมนำเสนอจุดเด่นและเรื่องราวของผลิตภัณฑ์นั้น ทักษะนี้เหมาะกับกลุ่มงานอย่าง Product Development และ Data and AI
- Digital Marketing: ทักษะการทำการตลาดบนโลกโซเชียล ใช้ได้กับกลุ่มงานอย่าง Marketing และ Data and AI
- Artificial Intelligence: ทักษะด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่เรียนรู้เกี่ยวกับระบบประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเหมาะกับกลุ่มงานด้าน Data and AI และ Cloud Computing
จนถึงตอนนี้ คุณคงเห็นแล้วว่า หลายทักษะด้านบนไม่ใช่สิ่งที่เราเคยเรียนรู้ตอนปริญญาตรี และอีกหลายทักษะคือสิ่งที่ต้องอัปเดตเพื่อตอบโจทย์งานใหม่ๆ ในตลาด คำถามถัดมาคือ เราควรเรียนรู้ ลับคมทักษะเหล่านี้ที่ไหนและด้วยวิธีไหน
โรงเรียนชีวิต : เทรนด์การเรียนรู้ที่ตอบโจทย์คนทำงานยุคใหม่
ไม่ใช่แค่โลกการทำงานที่เปลี่ยนไป โลกการศึกษาก็หมุนเร็วเพื่อตอบโจทย์ผู้เรียนให้ทัน ทุกวันนี้ มีการเรียนออนไลน์แบบ Self-Paced Learning ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนเรียนเมื่อไรก็ได้ตามจังหวะของตัวเอง ผู้เรียนไม่ต้องจัดเวลาตามตารางของสถานศึกษาหรือลาออกจากงานประจำเพื่อเรียนต่อ
นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตรออนไลน์ที่มหาวิทยาลัยชื่อดังร่วมทำกับเอกชนที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ช่วยให้เราเข้าถึงความรู้จากสถานศึกษาคุณภาพได้สะดวก โดยรูปแบบการเรียนที่มีทั้งเรียนเพื่อรับประกาศนียบัตร และเรียนเพื่อรับปริญญาออนไลน์ ซึ่งมีศักดิ์และสิทธิ์ไม่ต่างจากปริญญาจากการเรียนในสถานที่จริง อาทิ TUXSA หลักสูตรปริญญาโทออนไลน์แบบ Self-paced จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane แพลตฟอร์มเรียนออนไลน์อันดับ 1 ของไทย ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งมอบทักษะที่สำคัญสำหรับอนาคตให้คนไทย โดยมีหลักสูตรที่สามารถเลือกเรียนได้ทั้งแบบรายวิชาที่สนใจและแบบปริญญาเต็มหลักสูตร ปัจจุบันเปิดสอนอยู่ 2 สาขาวิชาคือ
- ปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขา Business Innovation: เป็นหลักสูตรที่ผ่านการรับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และได้รับการรับรองคุณวุฒิของผู้สำเร็จการศึกษาจากสำนักงาน ก.พ.
- ปริญญาโท Data Science for Digital Business Transformation: ผ่านการรับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)
หลังการเปิดตัวโครงการในปี 2019 TUXSA กลายเป็นที่นิยมของผู้เรียน มีผู้ลงเรียนแล้วกว่า 18,000 คน และมีนักศึกษารุ่นแรกจบการศึกษาเป็นมหาบัณฑิตแล้ว รวมถึงในอนาคตกำลังจะมีเปิดสอนเพิ่มอีก 2 หลักสูตรคือปริญญาโทศึกษาศาสตร์
สาขาวิชา นวัตกรรมการเรียนรู้ M.Ed. (Learning Innovation) และปริญญาโท Applied AI
ถึงโลกการทำงานจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว คนไทยที่อยากเพิ่มหรือลับคมทักษะจึงมีช่องทางเข้าถึงความรู้รับมือโลกอนาคตอยู่เสมอ บนโลกออนไลน์ใกล้ตัวเรานั่นเอง
อ่านละเอียดเพิ่มเติมของ TUXSA ได้ที่นี่