รู้มั้ยว่าหลายครั้งถ้าอยากทำงานราบรื่น อาจต้องเริ่มที่ฟังให้เป็น!
วันนี้ TUXSA มีเทคนิคการฟังแบบ active listening ที่ช่วยให้เราสื่อสารได้ชัดเจน และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า รวมถึงลูกค้ามาแชร์กัน เทคนิคเหล่านี้มีอะไรบ้าง มาเรียนรู้ไปพร้อมกันได้เลย!
active listening คืออะไร
การฟังแบบ active listening คือ ความสามารถในการสนใจผู้พูดอย่างเต็มที่ เข้าใจสารและข้อมูล รวมถึงโต้ตอบอย่างใส่ใจ
7 เทคนิคเพื่อฟังแบบ active listening ได้ดีขึ้น
1.โฟกัสที่เจตนาและวัตถุประสงค์ของงาน
active listening เริ่มด้วยความตั้งใจที่จะฟังคู่สนทนา รวมถึงความตั้งใจและวัตถุประสงค์ของบทสนทนา เพื่อเข้าใจและเอาใจใส่ผู้พูดได้อย่างแท้จริง
2.ใส่ใจภาษาท่าทาง
ใส่ใจภาษาท่าทางของตัวเองเวลาฟัง ทั้งการพยักหน้า สบตา หรือยิ้มในจังหวะที่เหมาะสมต่างเป็นสัญญานว่าเรากำลังสนใจ
3.ตอบรับแบบให้กำลังใจ
Verbal cue คือการตอบสนองที่คนฟังทำเมื่อพวกเขาเข้าใจสิ่งที่กำลังฟังอยู่ ซึ่งรวมถึงการตอบรับแบบให้กำลังใจ เช่น “ฉันเข้าใจ” ซึ่งมักใช้ร่วมกับภาษาท่าทางอย่างการยิ้มและพยักหน้า
4.อธิบายและทวนสิ่งที่ได้ยิน
บางครั้งการสบตาและพยักหน้าอาจไม่พอ การอธิบายและทวนสิ่งที่ได้ยินสามารถช่วยให้เราและผู้พูดเข้าใจสารทั้งหมดได้ถูกต้อง
5.ถามให้เข้าใจ
การถามคำถามช่วยแก้ปัญหาเรื่องความสับสน ทำให้มั่นใจได้ว่าเราได้ยินข้อมูลที่ถูกต้อง
6.ไม่ตัดสิน
เมื่อฝึกฟังแบบ active listening เราควรเปิดกว้าง เป็นกลาง และไม่ตัดสินเสมอ โดยสิ่งที่เราจะได้จากการเป็นผู้ฟังที่ดีขึ้นก็คือ เราสามารถมีส่วนร่วมกับความคิดใหม่ๆ มุมมอล และโอกาสที่เราอาจไม่เคยเห็นมาก่อนหน้านี้ได้
7.สรุป แบ่งปัน และสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้
เมื่อการพูดคุยจบลง สรุปสั้นๆ ถึงสิ่งที่ได้ฟัง รวมถึงอาจแบ่งปันความเห็นที่แสดงให้เห็นว่าเราเข้าใจถ้าผู้พูดเปิดโอกาส และสะท้อนสิ่งที่เราได้เรียนรู้ให้ผู้พูดฟัง
และทั้งหมดนี้คือ 7 เทคนิคเพื่อฟังแบบ active listening ได้ดีขึ้น สำหรับใครที่อยากพัฒนาตัวเองให้เก่ง ก้าวให้ทันโลกการทำงานยุคใหม่ ลองดูรายละเอียดหลักสูตรของ TUXSA ปริญญาโทโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane ได้ที่นี่
อ้างอิง: indeed.com และ coursera.org