อยู่กับงานตลอดเวลา ระวังทีมหมดไฟ ! รักษาไฟคนในทีม ด้วยการสนับสนุนให้ Disconnect จากงาน

ในยุคที่การทำงานสามารถทำได้แบบออนไลน์ คนทำงานจึงสามารถคุยงาน เปิดคอมได้ตลอดเวลาเช่นกัน ยิ่งมีการ Work from Home กว่าหลายคนจะรู้ตัวว่าควรเลิกงานก็อาจจะมืดแล้ว แถมปิดคอมเสร็จก็อาจมีแชทคุยงานเด้งเข้ามือถือมาอีก

การ connect กับงานแทบทั้งวัน อาจทำให้คนทำงานหมดไฟได้ เพราะฉะนั้น หากอยากรักษาไฟคนในทีม เราควรสนับสนุนให้คนทำงาน disconnect จากงานอย่างเหมาะสม 

จะช่วยให้ทีม disconnect ได้ยังไง? มาดูกันเลย!

เพราะ Connect อยู่กับงานตลอดเวลาจึงหมดไฟได้ง่าย  

จากผลสำรวจพบว่ากว่า 52% ของพนักงานมีความรู้สึกเดียวกันคือหมดไฟในการทำงาน (Burned Out) แรงจูงใจในการทำงานหล่นหาย และกว่า 62% ก็เห็นด้วยว่า ความรู้สึกที่ว่านี้เลวร้ายยิ่งกว่าตอนเกิดโรคระบาดโควิดเสียอีก ซึ่งงานวิจัยจาก Deloitte ที่ได้ทำการวิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มจากสาเหตุดังกล่าว พบว่าบริษัทที่ว่าจ้างต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มถึง 56 พันล้านดอลลาร์เลยทีเดียว เพื่อแก้ปัญหาการหมดไฟของพนักงาน ที่มักจะมาในรูปแบบของการลากิจ ลาป่วยบ่อยๆ หรือการทำงานอย่างไร้จุดหมายและแรงจูงใจ คุณภาพการทำงานก็ลดลง ตามมาด้วยการลาออกจำนวนมาก

แต่ยังมีวิธีแก้ปัญหาที่คุ้มค่ากว่านั้น และทำให้พนักงานกลับมามีพลังในการทำงานโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากเกินความจำเป็น วิธีที่ว่านั้นก็คือ การให้พนักงานได้ Disconnect จากงาน โดยให้พนักงานได้ Turn Off จากงานหลังจากชั่วโมงทำงานทันที โดยไม่ต้องกังวลถึงผลที่จะตามมา หรือก็คือ การให้สิทธิ์และอิสระพนักงานอย่างเต็มที่ที่จะไม่ต้องคิดถึงเรื่องงานอีกเลย หลังจากที่หมดชั่วโมงทำงานแล้ว ซึ่งพอจะมีวิธีให้พนักงาน Disconnect จากงานอย่างไรบ้าง มาดูไปทีละข้อกันเลย! 

5 วิธีส่งเสริมให้พนักงานได้ Disconnect จากงานและกลับมามีไฟอีกครั้ง 

1.ให้ความสำคัญกับสิทธิ์ในการ Disconnect

หากอยากให้การ Disconnect จากงานเกิดขึ้นได้จริง อันดับแรกต้องเริ่มจาก Mindset ของผู้บริหารหรือนายจ้างก่อนว่าการหยุดคิดเรื่องงานหลังเลิกงานแล้วนั้นเป็นเรื่องปกติ เป็นสิทธิ์ของพนักงานไม่ใช่แค่เพื่อให้กำลังใจในการทำงานต่อ แต่เป็นเรื่องขั้นพื้นฐานในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ที่ไม่จำเป็นต้องให้พนักงานหมกมุ่นอยู่กับงานตลอดเวลา ซึ่งพอจะมี 3 วิธีที่นำไปปรับใช้กับการ Disconnect งานได้ก็คือ 

  • ทำให้การไม่ต้องโต้ตอบกันทันทีเป็นเรื่องปกติ

เพราะการรู้สึกว่าต้องโต้ตอบทันทีเมื่อมีการแจ้งเตือนอะไรดังขึ้นจากหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานนั้นทำให้พนักงานเสียสมาธิและเวลาไปค่อนข้างมาก ทำให้ทำงานได้อย่างไม่จดจ่อเพราะคอยพะวงว่าจะมีแจ้งเตือนอะไรเด้งมาหรือไม่ วิธีที่แนะนำคือ ให้กำหนดเวลาหรือเดดไลน์สำหรับการทำโปรเจกต์แต่ละชิ้น แจ้งบอกเพื่อนร่วมทีมว่าจะตอบกลับภายในเวลาเท่าไหร่ เพื่อให้งานเดินหน้าต่ออย่างเต็มที่โดยไม่ต้องหลุดโฟกัสระหว่างนั้น 

  • ตั้งและแบ่งปันตารางเวลาของแต่ละคน

สำหรับคนที่ต้องทำงานทางไกล อยู่กันคนละ Time zones หรือมีเวลาทำงานที่ยืดหยุ่น อาจพบปัญหาตารางเวลาที่ชนกันจนยุ่งเหยิงและกระทบกับงานและสุขภาพได้ แนะนำให้ใช้ตัวช่วยอย่าง Google Calendar หรือ Outlook Calendar ที่สามารถแชร์ตารางเวลางานของเรากับเพื่อนร่วมงานได้ทุกคน จะทำให้ทราบว่าใครติดประชุมช่วงไหนและว่างช่วงไหนกันบ้าง เพื่อนัดจัดประชุมกันได้ในเวลาที่ทุกคนสะดวกและไม่ต้องฝืนตารางงานของตัวเอง 

  • ใช้นโยบาย “ตั้งเวลาข้อความ แต่ยังไม่ส่ง”

การตอบกลับอีเมลหรือตอบแชททันทีนั้นใช้เวลามากกว่าที่คิด เพราะเราอาจเข้าใจว่าอีกฝ่ายกำลังรอคำตอบอยู่จึงต้องรีบตอบกลับอย่างรวดเร็ว แต่ก็ทำให้เราไม่ได้ Disconnect จากงานหากช่วงเวลานั้นเลยเวลาทำงานไปแล้ว วิธีที่แนะนำก็คือให้ตั้งกำหนดส่งเวลาไว้ล่วงหน้าเพื่อจะได้ไม่เป็นการรบกวนเวลาหลังเลิกงาน หรือตั้งสถานะข้อความบอกก่อนว่า ไม่ใช่เรื่องด่วน หรือ ไว้ค่อยตอบกลับภายในสัปดาห์นี้ก็ได้ เพื่อให้เพื่อนร่วมงานและตัวคุณเองไม่ต้องคอยพะวงถึงเรื่องงานตลอดเวลานั่นเอง

2.ช่วยให้ทีมมี Work-Life Balance

การสร้าง “Work-Life Balance” ขึ้นในทีม อาจไม่ใช่แค่การให้พนักงานลาได้อย่างไม่จำกัดแต่ต้องแลกมากับความรู้สึกว่าไม่อยากลา ถ้าลาแล้วอาจได้รับการประเมินผลงานที่ไม่ดีในอนาคตหรือไม่ได้รับพิจารณาเลื่อนขั้น สุดท้ายก็กลายเป็นความรู้สึกหมดไฟที่มากกว่าเดิม ซึ่งจริงๆ แล้ว การทำงานอย่างยืดหยุ่นนั้นส่งผลดีต่อทีมเวิร์คมากทีเดียว หากทุกคนคิดเห็นตรงกันและสนับสนุนให้ใช้สิทธิ์ลาได้โดยไม่กระทบกับการประเมินผลงาน พนักงานใช้เวลาพักผ่อนได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องรู้สึกผิด ซึ่งหัวหน้าอาจเริ่มทำให้เป็นตัวอย่างก่อน มีวิธีแนะนำเพิ่มเติมก็คือ 

  • ให้ทีมเลือกทำงานที่อื่นได้

หากสภาพแวดล้อมที่ทำงานนั้นดีตั้งแต่การสื่อสารไปจนถึงการร่วมมือระหว่างแผนกแล้ว ไม่ว่าจะทำงานที่ไหน ออฟฟิศหรือที่บ้านก็ไม่ค่อยมีความแตกต่างกันนัก เพราะสิ่งสำคัญกว่านั้นคือการที่พนักงานรู้สึกว่าตัวเองสามารถเลือกได้ว่าจะทำงานที่ไหน สามารถออกแบบชีวิตและการทำงานของตัวเองได้อย่างลงตัว และไม่รู้สึกว่าถูกบังคับให้ต้องมาทำงาน 

  • ลิสต์งาน บอกความคาดหวัง และระบุเป้าหมายให้ทีม

การทำงานอย่างยืดหยุ่นนั้นดี แต่จะยิ่งดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากมีตัวชี้วัดจากการทำงาน ที่ไม่ใช่แค่ให้ทุกคนในทีมนั่งอยู่หน้าจอในเวลาที่กำหนดจนกว่าจะเลิกงานเท่านั้น แต่มีตัวชี้วัด มีเป้าหมาย และกรอบเวลาในการทำงานที่ชัดเจน ว่าเป็นโปรเจกต์สำหรับกี่สัปดาห์ กี่เดือน หรือกี่ไตรมาส รวมถึงคำแนะนำหรือคู่มือสำหรับพนักงานให้เข้าใจเป้าหมายของงานอย่างแท้จริง จะยิ่งช่วยให้การทำงานยืดหยุ่นนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น และพนักงานก็ไม่ต้องรู้สึกหมดไฟได้ง่ายอีกด้วย 

  • เตือนให้ทีมใช้สวัสดิการของบริษัท

แนะนำและส่งเสริมให้พนักงานทุกคนใช้สวัสดิการของบริษัทได้โดยไม่ต้องรู้สึกผิด ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพกายและใจของพนักงาน รวมถึงบริการต่างๆที่ช่วยให้รู้สึกรักตัวเองมากขึ้น เช่น ฟิตเนส สปา คลาสโยคะ ฯลฯ โดยผู้บริหารหรือฝ่ายบุคคลควรใช้คำพูดเชิงบวกที่สนับสนุนให้พนักงานใช้สิทธิ์ของบริษัทได้ ก็จะกระตุ้นให้พนักงานมีเวลาพักจากงานและมาดูแลตัวเอง รักตัวเองมากยิ่งขึ้น 

3.เคารพการลาและสิทธิ์ในการ Disconnect

จากผลสำรวจพบว่า มากกว่าหนึ่งในสามของนายจ้างคาดหวังว่าพนักงานที่ลาพักร้อนยังสามารถตอบหรือคุยเรื่องงานกับนายจ้างได้อยู่ และ 49% ของพนักงานก็รู้สึกเบื่อหน่ายและหมดไฟขึ้นมากทีเดียวหากนายจ้างคาดหวังให้พวกเขาทำเช่นนั้น เพราะต่อให้ลาพักร้อนแต่พวกเขาก็ยังไม่ได้ Disconnect จากงานอยู่ดี ซึ่งพอจะมีวิธีสนับสนุนให้พนักงาน Disconnect ได้ดีขึ้นคือ 

  • ให้คนลางานลิสต์และแจกจ่ายงานล่วงหน้า

ก่อนจะลาพักร้อน แนะนำให้พนักงานทำลิสต์หรือ Guidline ไว้ล่วงหน้าในกรณีที่ตัวพนักงานไม่อยู่ ก็ยังสามารถส่งต่องานและคู่มือสำคัญที่จำเป็นต่อคนในทีมหากมีเรื่องฉุกเฉินเกิดขึ้นได้ และเพื่อให้คนในทีมเตรียมความพร้อมได้ถูกว่าต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง 

  • เตือนให้คนลางานปิดการแจ้งเตือน และสร้างปฏิทินที่ทีมเห็นวันลาของกันและกัน

เมื่อคนในทีมลาพักร้อนก็ควรได้พักร้อนแบบ Disconnect จากงานจริงๆ เพราะฉะนั้นอย่าลืมปิดการแจ้งเตือนอีเมลหรือแชทคุยงาน เพื่อเตือนตัวเองให้ไม่ต้องคิดเรื่องงานและเป็นการแจ้งบอกคนอื่นด้วยว่าเรากำลังพักร้อนอยู่ รวมถึงทำปฏิทินออนไลน์อย่าง Google Calendar หรือตารางงานของทีมอย่าง Trello หรือ Notion เพื่อแชร์ให้คนในทีมเห็นพร้อมกันว่าเราทำอะไรเสร็จไปแล้วบ้าง อะไรที่ส่งต่อให้ใคร และอะไรที่ยังค้างไว้อยู่เพื่อกลับมาทำต่อ 

  • รวมการอัพเดตงานไว้ในที่เดียว ให้คนที่กลับมาทำงานเริ่มงานต่อได้ง่าย

ปัญหาที่พบบ่อยของคนที่เพิ่งกลับมาจากลาพักร้อนก็คือ กลับมาทำงานแล้วต่อไม่ติด ตามงานไม่ทัน เพราะเต็มไปด้วยอีเมลที่ต้องตอบกลับกองเป็นภูเขา และอ่านแชทคุยงานเป็นร้อยไม่ไหว วิธีที่แนะนำก็คือ รวมอัพเดทงานต่างๆ ในโปรเจกต์ของเราไว้ในที่เดียว เพื่อให้ตามงานต่อได้ง่ายและเป็นระบบ รู้ว่าต้องตามงานจากใครต่อ รวมถึงไฟล์งาน ข้อมูลสำคัญ หรืออัพเดทรายการใหม่ ก็ควรจัดไว้รวมกันให้อยู่ที่เดียว วิธีนี้จะช่วยประหยัดเวลา และคนที่ลาพักร้อนก็ไม่ต้องปวดหัวเมื่อกลับมาทำงานด้วย

4.สร้างฐานความรู้ขององค์กร เพื่อให้คนเข้าถึงข้อมูลได้ไม่ว่าใครลา

ผลสำรวจบอกว่ากว่า 60% ของผู้บริหารรู้สึกเสียเวลาไปอย่างมากกับการต้องหาไฟล์ เอกสารหรือคู่มือสำหรับการเทรนพนักงาน แม้แต่พนักงานเองก็รู้สึกว่าข้อมูลที่อยู่กระจัดกระจาย ไม่เป็นระบบนั้นกระทบกับคุณภาพการทำงานที่แย่ลงได้ ซึ่งวิธีที่ช่วยประหยัดเวลาและช่วยจัดระเบียบการทำงานก็คือนำฐานข้อมูลขององค์กรมารวมไว้ให้อยู่ในที่เดียวกันและให้พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นได้ง่ายๆ นอกจากประหยัดเวลาแล้วก็ช่วยให้ทำงานเสร็จได้มากขึ้นด้วย 

โปรแกรมที่สามารถรวมข้อมูลพนักงานทุกคนไว้ในที่เดียวและแชร์ให้ทุกคนเห็น Process การทำงานได้ทั้งหมด อย่างเช่น Trello ก็ช่วยจัดระเบียบการทำงานให้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และร่วมมือกับเพื่อนร่วมงานได้ดีขึ้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือหรือโปรแกรมใดก็ควรมีคีย์สำคัญร่วมกันคือ 

  • ฐานข้อมูลที่ทำให้พนักงานทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
  • ฐานข้อมูลที่ช่วยให้พนักงานสามารถหาข้อมูลการทำงานได้ด้วยตัวเอง
  • เป็นองค์ความรู้ขององค์กรที่ได้มาตรฐาน ช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

5.ทำให้สิทธิ์ในการ Disconnect เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคนในองค์กร

และสุดท้ายคือการส่งเสริมและทำให้สิทธิ์ในการ Disconnect จากงานเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนสามารถทำได้ สนับสนุนให้ทุกคนมี work-life balance ให้ความสำคัญกับการพัก และเลิกคิดเรื่องงานบ้างเมื่อเลิกงานโดยไม่ต้องรู้สึกผิด ก็ถือเป็นวิธีแก้ปัญหาภาวะหมดไฟของพนักงานจากสาเหตุที่แท้จริง 

อ้างอิง: 

SHARE

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้เพื่อการโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า