ปัญหาระบบสุขภาพในประเทศแก้ไขได้ด้วยการจัดการ ‘ข้อมูล’

global-health-and-data-visibility

สิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19 คือความขาดแคลนหรือความบกพร่องของ ‘ข้อมูลในระบบสุขภาพ’ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา

เมื่อระบบสุขภาพไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเพราะขาดข้อมูลสำคัญ จากการไม่เปิดเผยและไม่เชื่อมโยงระหว่างหน่วยงาน ผู้ป่วยหรือประชาชนทั่วไปจึงมีความเสี่ยงในชีวิตเพราะไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างเหมาะสม

ความจริงแล้ว การมองเห็นข้อมูล (Data Visibility) ให้ประโยชน์หลายอย่างกับระบบสุขภาพ นอกจากช่วยบริหารจัดการทรัพยากรทางการแพทย์แล้ว ยังช่วยพยากรณ์ความต้องการล่วงหน้า ลดต้นทุนการดำเนินงาน และปรับปรุงกระบวนการการบริการให้เหมาะสมได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการ Data Visibility ในระบบสุขภาพระดับประเทศ ก็นับเป็นความท้าทายสำหรับรัฐบาลและผู้นำด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายๆ ฝ่าย

การทำสำเนาข้อมูลดิจิทัล (Digitization) เป็นกุญแจสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้เกิดการมองเห็นของข้อมูลขึ้นได้ ซึ่ง Digitization เองก็มีหลายระดับ แต่หลักๆ คือการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาช่วยจัดการข้อมูล แม้หลายประเทศจะเลือกใช้วิธี Digitization ยังมีบางประเทศที่เลือกระบบที่ใช้กระดาษ แต่ก็สามารถทำให้เกิด Data Visibility ขึ้นได้เช่นกัน

สถานการณ์ของการมองเห็นข้อมูล (Data Visibility) ในปัจจุบัน

Data Visibility กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาให้เกิดขึ้น แต่ในหลายประเทศ ข้อจำกัดในการมองเห็นข้อมูลจากต้นทางถึงปลายทาง ก็ทำให้ยากต่อการจัดการให้รวมเป็นระบบเดียวได้ หรือบางประเทศก็มีระบบข้อมูลหลายระบบที่ไม่ได้รวมเข้าด้วยกัน ทำให้มีข้อมูลที่ซ้ำซ้อนและไม่เห็นภาพรวม

ตัวอย่างเช่น ระบบสุขภาพของประเทศไนจีเรียประกอบด้วย 9 ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) และระบบข้อมูลประมาณ 20 ระบบที่แตกต่างกัน ทำให้โรงพยาบาลหรือรัฐบาลนั้นดึงข้อมูลมาใช้เพื่อการตัดสินใจได้ยาก ส่วนในปากีสถาน กฎระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ประสานงาน และแบ่งปันข้อมูลนั้น ซับซ้อนและมีข้อจำกัดระหว่างหน่วยงาน ส่งผลให้ข้อมูลมีหลายชุด หลายรูปแบบ จนทำให้การจัดสรรทรัพยากรของประเทศนั้นไร้ประสิทธิภาพและไม่ทั่วถึง

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว Blockchain (รูปแบบการเก็บข้อมูลแบบหนึ่ง ที่เพิ่มขึ้นขึ้นเรื่อย ๆ เชื่อมต่อเป็นลูกโซ่ มีความปลอดภัยสูง) และ Internet of Things (การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายที่เชื่อมต่อกันด้วยอินเทอร์เน็ต) ได้เข้ามามีส่วนในการพัฒนาระบบนี้ ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาอาจต้องคำนึงถึงการสร้างรากฐานทางดิจิทัลที่แข็งแกร่ง ก่อนที่จะสามารถพัฒนาระบบสุขภาพให้สมบูรณ์แบบได้

หลักสำคัญ 4 ข้อที่ผู้นำในระบบสุขภาพในแต่ละประเทศจำเป็นต้องคำนึงถึง เพื่อช่วยสร้าง Data Visibility ให้เกิดขึ้นในประเทศของตน ก็คือ

global-health-and-data-visibility

1. ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ความสำเร็จของโครงการด้านสุขภาพทั้งหลาย ขึ้นอยู่กับความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเครือข่าย แหล่งทุน องค์กรภาครัฐ และผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข หากขาดการสนับสนุนจากพวกเขาเหล่านั้น การทำข้อมูลดิจิทัลหรือโครงการขนาดใหญ่ใดๆ ก็ตาม ก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ วิธีหนึ่งที่จะช่วยได้ คือการเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และทำให้เห็นมูลค่าของการทำ Data Visibility

ยกตัวอย่างเช่น ประเทศหนึ่งมีอัตราการตายของทารกแรกเกิดสูงที่สุดในภูมิภาค เพราะสถานพยาบาลหลายแห่งไม่สามารถเข้าถึงยารักษาที่ช่วยชีวิตเด็กๆ ได้ ซึ่งเป็นผลจากการจัดการระบบข้อมูลยาของหลายหน่วยงานที่แยกขาดจากกัน ทำให้การจัดสรรทรัพยากรไม่มีระบบและไปไม่ถึงผู้ที่ต้องการ กระทรวงสาธารณสุขเองก็เห็นว่าการบูรณาการข้อมูลนั้นมีความสำคัญต่อการจัดหาและการเข้าถึงยา จึงมีการเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา และเปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียลงมติว่าประเด็นใดควรได้รับการจัดการเป็นอันดับแรก

นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังนำเสนอข้อมูลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่า หากสามารถลดความซ้ำซ้อนของระแบบและจัดการให้ระบบการจัดการยาเกิดขึ้นได้ในระดับจังหวัด จะสามารถประหยัดงบกระทรวงสาธารณสุข ได้ประมาณ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปีเลยทีเดียว

2. ออกแบบกลยุทธ์และแผนงานเพื่อพัฒนาทุกส่วนให้สอดคล้องกัน

การออกแบบกลยุทธ์เพื่อสร้างความเป็นดิจิทัลให้เกิดขึ้นในประเทศ สามารถช่วยเน้นย้ำคุณค่าของ Digitization ที่จะส่งเสริมระบบสุขภาพได้ กลยุทธ์ที่กำหนดไว้ไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้นำระบบสุขภาพสร้างความแข็งแกร่งในการบูรณาการ แต่ยังยืนยันในความรับผิดชอบและการกำกับดูแลด้วย

อย่างเช่น ผู้นำด้านระบบสุขภาพของประเทศแซมเบีย ได้ทบทวนกลยุทธ์ด้านสุขภาพของประเทศ พบว่าขาดประสิทธิภาพและส่วนใหญ่พึ่งพาข้อมูลจากกระดาษ ทำให้มองไม่เห็นภาพรวมและไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ร่วมกันได้

เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ กระทรวงสาธารณสุขแซมเบียได้จัดทำแผน 5 ปี เพื่อบูรณาการห่วงโซ่อุปทาน วางหน่วยงานหลักหน่วยงานเดียวในการจัดซื้อ จัดเก็บ และกระจายทรัพยากรทางการแพทย์ จากเดิมที่ก่อนหน้านี้มีหลายหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ หน่วยงานหลักนั้นยังได้รับมอบหมายให้สร้างระบบสารสนเทศการจัดการโลจิสติกส์แบบออนไลน์ เพื่อเปิดเผยข้อมูลในระบบสุขภาพทั้งหลายให้เห็นตั้งแต่ต้นจนปลายน้ำ

3. พัฒนาศักยภาพด้านข้อมูล

หากถามว่าประเทศหนึ่งจะต้องลงทุนเพื่อสร้างศักยภาพด้านข้อมูลด้านไหน ก็คงขึ้นอยู่กับว่าตอนนี้ประเทศนั้นๆ กำลังอยู่ในระดับไหนแล้ว แต่หลักๆ คือประเทศต่างๆ ควรลงทุนในการสร้างและพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่จำเป็น เช่น นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล นักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักวิเคราะห์ และบุคลากรที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลในส่วนต่างๆ ให้มีคุณภาพสูงขึ้น เพื่อให้รองรับกับวิธีการได้มาและการจัดการข้อมูลที่หลากหลาย

รวมถึงวางแผนการพัฒนาในระยะยาว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่ไม่หยุดนิ่งอย่างยั่งยืน ส่วนประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ที่กำลังอยู่ในดิจิทัลตอนต้น อาจมุ่งเน้นไปที่การปรับแต่งระบบการเก็บข้อมูลในปัจจุบันให้เหมาะสมเสียก่อน

4. ดำเนินการร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ

ระบบข้อมูลสุขภาพดิจิทัลนี้ ควรมีความยืดหยุ่นและสามารถเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลหรือแพลตฟอร์มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพของประเทศได้ เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้าง Data Visibility เพื่อให้เห็นภาพรวมของระบบทั้งหมด รวมไปถึงเป็นประโยชน์ในการการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจของผู้นำในระบบสุขภาพด้วย

กระทรวงสาธารณสุขและสังคมในประเทศเซเนกัล เคยดำเนินการภายใต้ระบบการกระจายทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพ และเคยประสบปัญหาการขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานในครัวเรือนถึงร้อยละ 80 ของประเทศ กระทรวงสาธารณสุขจึงนำเอาระบบปรับปรุงข้อมูลมาใช้ เพื่อจัดการให้ข้อมูลให้ทันสมัยและเห็นภาพรวมทั้งหมดของประเทศอย่างทั่วถึง

และเพื่อให้ระบบและข้อมูลนั้นทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ จึงปรับใช้ระบบนี้ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกส่วนทั่วประเทศ ผลลัพธ์คือ กระทรวงสาธารณสุขสามารถลดปัญหาการขาดแคลนวัคซีนให้เหลือต่ำกว่าร้อยละ 2 ได้ในพื้นที่ทดลอง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้เพื่อการโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า