เล่า Data อย่างไรให้คนเข้าใจ?

how-to-explain-your-data

HIGHLIGHTS

  • เทคนิคในการสร้างความหมายและความคุ้นเคยให้กับข้อมูลที่คุณอยากเล่า เพื่อให้การสื่อสารข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้เแก่ การใช้ขนาดของสิ่งที่คุ้นเคยเป็นตัวเชื่อมโยง, ลดทอนให้กลายเป็นจำนวนที่เราคุ้นเคย และใช้เวลา ระยะทาง หรือสิ่งของที่คุ้นเคยเป็นตัวช่วย

‘ข้อมูล (Data)’ ไม่ใช่คำใหม่อีกต่อไปแล้ว หนึ่งในความท้าทายสำหรับคนที่ทำงานกับข้อมูลคือ บางครั้งเราเห็น ‘Insight’ หรือเรื่องราวที่น่าสนใจในข้อมูลตรงหน้า แต่ไม่สามารถหาวิธีถ่ายทอดออกมาให้คน ‘ว้าว’ หรือเข้าใจแบบที่เราเข้าใจได้

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ แม้ข้อมูลไม่ได้มีขนาดใหญ่ แต่ก็เป็นสิ่งที่ซับซ้อนและจับต้องไม่ได้ ต้องอาศัยความเข้าใจเชิงปริมาณ บางครั้งเป็นเรื่องที่ไกลเกินกว่าเรื่องทั่วไปในบริบทชีวิตประจำวัน เลยอาจทำให้คนที่เราสื่อสารด้วย นึกไม่ออกว่าสิ่งที่เราพูดถึงนั้นมีขนาดเท่าไหร่ นึกไม่ออกว่าสิ่งที่พยายามจะสื่อสารนั้น สำคัญหรือเกี่ยวข้องกับชีวิตเขาอย่างไร จนอาจประสบความล้มเหลวในการจูงใจหรือถ่ายทอดข้อมูล เพราะเขาหา ‘ความหมาย’ ในตัวข้อมูลนั้นไม่เจอ

เช่น เห็นรายได้หลักพันล้านดอลลาร์ต่อปีของบริษัทใหญ่ ๆ เราพอจะรู้ว่าจำนวนเงินนั้นเยอะมาก แต่ก็เยอะจนจินตนาการเป็นภาพชัด ๆ ในชีวิตจริงไม่ออก หรือหลายครั้งที่นาซ่าบอกว่าได้เดินทางไกลไปทำภารกิจบนดวงดาว เราก็รู้กันว่ามันไกล แต่ก็ไม่สามารถเข้าใจได้จริงว่าไกลแค่ไหน

นี่คือ 3 เทคนิคพร้อมตัวอย่างในการสร้างความหมายและความคุ้นเคยให้กับข้อมูลที่คุณอยากเล่า เพื่อให้การสื่อสารข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น!

how-to-explain-your-data

1. ใช้ขนาดของสิ่งที่คุ้นเคยเป็นตัวเชื่อมโยง

การบอกข้อมูลเป็นตัวเลข ไม่ว่าจะเป็นมิลลิเมตร เซ็นติเมตร กิโลเมตร หรือจำนวนหลักล้าน พันล้าน หมื่นล้าน ทำให้หลายคนยกมือขึ้นกุมหัว เพราะนั่นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน

Apple ดูจะเข้าใจเรื่องนี้ดี เพราะเวลาสื่อสารข้อมูลผลิตภัณฑ์ แบรนด์มักเลือกใช้การเปรียบเทียบขนาดกับสิ่งของที่คนคุ้นเคย มากกว่าที่จะบอกเป็นตัวเลข เช่น ตอนเปิดตัว Macbook Air ที่บางที่สุดเป็นครั้งแรกของโลก สตีฟ จ็อบส์ เลือกบอกว่าแล็ปท็อปรุ่นนี้ บางขนาดใส่ ‘ซองเอกสาร’ ได้ แทนที่จะบอกตัวเลขความหนา 0.76 นิ้ว

หรือเมื่อครั้งเปิดตัว iPod Nano ก็อธิบายว่าบางกว่า ‘ดินสอไม้’ แทนการบอกขนาด 0.3 นิ้ว นั่นเป็นเพราะ คนทั่วไปย่อมคุ้นเคยกับซองเอกสารและดินสอไม้ มากกว่าตัวเลข 0.76 หรือ 0.3 นิ้ว

เวลาที่เราพยายามอธิบายขนาดของดวงดาวและสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล ถ้าเราบอกว่า ดวงอาทิตย์ มีขนาดเท่ากับ ‘โลก 1 พันล้านดวง’ ก็ยังเห็นภาพไม่ชัดนัก เพราะเราก็ไม่เคยเห็นจริง ๆ ว่าโลกใหญ่แค่ไหน

แต่ถ้าเอาสิ่งที่ล่องลอยอยู่ในจักรวาลมาเรียงลำดับขนาดแล้ววางเทียบกัน แบบในงาน Size of Space ของ Neal Agarwal ที่เริ่มต้นเปรียบเทียบจากขนาดของมนุษย์อวกาศ (ซึ่งก็คือมนุษย์อย่างเรา ๆ) ก็พอช่วยให้นึกออกได้บ้างว่าสิ่งของและดวงดาวต่าง ๆ นั้น ใหญ่กว่าเราสักแค่ไหน อีกทั้งดูน่าสนใจขึ้นมากทีเดียว

2. ลดทอนให้กลายเป็นจำนวนที่เราคุ้นเคย

ในขณะที่เราพยายามสื่อสารตัวเลขใหญ่ ๆ อย่าลืมว่าสิ่งที่คนเข้าใจง่ายกว่า คือตัวเลขหรือหน่วยที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

อย่างการบอกว่า Jeff Bezos บุคคลที่รวยที่สุดในโลก มีรายได้ถึง 1.9 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเรารู้ว่ามันคือจำนวนเยอะมาก แต่ถ้าลองลดทอนมาเปรียบเทียบให้เห็น ด้วยการหารเป็นรายเดือน รายวัน หรือรายชั่วโมง แล้วเปลี่ยนหน่วยเป็นบาท ก็พอจะเห็นภาพว่า Jeff Bezos มีรายได้ประมาณ 5 แสนล้านบาทต่อเดือน หรือกว่า 1.6 หมื่นล้านบาทต่อวัน หรือเกือบ 700 ล้านบาทในทุก ๆ ชั่วโมง (เยอะจนเห็นภาพ!)

งานอีกชิ้นของ Neal Agarwal ที่ชื่อ Printing Money ก็ได้ใช้ข้อมูลที่ลดทอนไปต่อยอด ด้วยการเปรียบเทียบรายได้ของแต่ละอาชีพหรือองค์กรเป็นภาพจำนวนเงินที่ถูกพิมพ์ในแต่ละชั่วโมงด้วยความเร็วที่ต่างกัน ซึ่งช่วยให้เข้าใจความแตกต่างได้ชัดเจนมากทีเดียว

3. ใช้เวลา ระยะทาง หรือสิ่งของที่คุ้นเคยเป็นตัวช่วย

หลายครั้งที่เราหยิบข้อมูลระดับโลก ระดับประเทศ หรือในบริบทที่หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยมาเล่า ซึ่งหากสามารถหาจุดเชื่อมโยงกับบริบทรอบตัวของคนที่เราจะเล่าให้ฟังได้ เขาก็จะเข้าใจง่ายขึ้น

ตัวอย่างเช่น เมื่อพูดเรื่องความเร็วและเวลาที่ใช้ของแชมป์กีฬาวิ่งในโอลิมปิก ต่อให้รู้ว่าเขาวิ่งเร็วมาก ๆ เราก็ยังนึกภาพในชีวิตจริงไม่ออกว่าเร็วแค่ไหน New York Times เลยจำลองสถานการณ์ว่าถ้านักวิ่งเหล่านั้น มาวิ่งที่แถวบ้านของเรา หรือสถานที่ใดที่หนึ่งที่เรารู้จัก พวกเขาจะวิ่งไปได้ไกลขนาดไหนในระยะเวลาที่ลงแข่ง พร้อมเทียบกับเวลามที่คนทั่วไปใช้ในการเดินจริง ๆ

อีกหนึ่งตัวอย่างคือ การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่เรากำลังติดตามดูข่าวกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น 100, 500, 1,000, 5,000, 10,000, 50,000 หรือ 100,000 คน จริง ๆ มันเยอะขนาดไหนกัน ? งาน Visualizing Crowd Sizes ของ Limelink ก็ได้เทียบสัดส่วนไว้ให้เราเห็นภาพแล้ว

การสื่อสารข้อมูลนั้น นอกจากจำเป็นต้องทำให้สมเหตุสมผล (Make Sense) แล้ว ยังต้องทำให้มีความหมาย (Make Meaning) รวมถึงเกี่ยวข้องกับคนที่เราสื่อสารด้วย

สุดท้ายนี้ หัวใจสำคัญคือการพยายามเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านั้น เข้ากับสิ่งที่เขาคุ้นเคยอยู่แล้วให้ได้นั่นเอง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้เพื่อการโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า