เรากำลังใช้ข้อมูลในการตัดสินใจกันอยู่ ..จริงไหม?

tips-for-data-driven-decision-making

‘การตัดสินใจที่ถูกต้อง’ เป็นหนึ่งในเคล็ดลับความสำเร็จ ที่ฟังดูเหมือนจะทำได้ง่ายขึ้นในโลกปัจจุบัน ในเมื่อเรามีเทคโนโลยีที่ช่วยให้คน องค์กร หรือธุรกิจ สามารถใช้ข้อมูลจำนวนมากและหลากหลาย มาช่วยในการตัดสินใจได้

แต่บางครั้ง แม้เราจะมีข้อมูลมากมายและเครื่องมือที่ล้ำสมัยขนาดไหน ความเคยชินก็มักจะทำให้เราใช้สัญชาตญาณและประสบการณ์นำหน้าข้อมูลในการตัดสินใจแบบไม่รู้ตัวอยู่บ่อยครั้ง

วิธีหนึ่งในการตรวจสอบว่าเรากำลังใช้ข้อมูลในการตัดสินใจอยู่จริงไหม คือ ‘การทำงานร่วมกัน’ กับทีมที่มีความรู้ความเข้าใจด้านข้อมูล พร้อมกับพัฒนาทักษะของตัวเราไปด้วย เพราะการทำงานร่วมกันบนข้อมูลชุดเดียวกัน จะทำให้เราเห็นอคติ (Bias) ในการมองหรือใช้ข้อมูลของตัวเอง และอาจได้เจอกับ Insight ที่เราไม่ทันสังเกตมาก่อน

tips-for-data-driven-decision-making

และนี่คือ 3 เทคนิคการเปิดใจให้ไร้อคติ เมื่อต้องการตัดสินใจอะไรก็ตามด้วยข้อมูล

  • Simple Awareness :ให้คิดไว้เสมอเลยว่าทุกคนมีอคติในการตัดสินใจ รวมถึงตัวเรา สิ่งนี้จะช่วยให้เราทบทวนภาพรวมและเปรียบเทียบการตัดสินใจของแต่ละคนอยู่สม่ำเสมอ
  • Collaboration : การทำงานร่วมกัน จะช่วยให้ย้อนตรวจสอบซึ่งกันและกันได้
  • Conflicting Information : การย้อนดูการตัดสินใจที่แตกต่างกัน จากข้อมูลชุดเดียวกัน จะทำให้รู้ว่าอคติที่แต่ละคนมีอยู่ตรงไหน

โดยกระบวนการแล้ว การตัดสินใจด้วยข้อมูลจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ ซึ่งหากเราไม่ได้ผ่านขั้นตอนเหล่านี้ ก็อาจแปลความได้ว่า เราอาจยังใช้ข้อมูลในการตัดสินใจอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ

  1. ชี้เป้าหมาย : ข้อมูลบนโลกนี้มีมากมาย เราจะรู้ได้อย่างไรว่าควรจะเลือกใช้ข้อมูลไหนมาตัดสินใจ เพราะฉะนั้น แทนที่จะเริ่มด้วยการเลือกชุดข้อมูล ให้ถามตัวเองก่อนว่าเราต้องการอะไร ปัญหาที่เราต้องการแก้ไขหรือปลายทางที่เราอยากเห็นคืออะไร ซึ่งถ้ามีหลายอย่าง ก็ต้องจัดลำดับความสำคัญ แล้วค่อยๆ ทำไปทีละอย่าง
  2. เลือกข้อมูล : เมื่อรู้แล้วว่าตัวเราต้องการอะไร ก็ให้ลิสต์ออกมาว่า เราต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้างเพื่อให้แก้ปัญหาหรือตอบคำถามนั้นได้ 
  3. ประเมินความคุ้มค่า : จากนั้นเราต้องถามตัวเองต่อว่า คุ้มที่จะทำไหม? เพราะการเก็บข้อมูลมีต้นทุนทั้งเงินและเวลา โดยเราอาจจะเริ่มจากข้อมูลที่มีอยู่ก่อน จากนั้นก็เลือกว่าการลงทุนเก็บข้อมูลแบบไหนที่คุ้มค่ากับผลลัพธ์ที่จะได้มา
  4. ลงมือทำ : เมื่อเลือกแล้ว ก็ไปสู่ขั้นตอนการเก็บ วิเคราะห์ แสดงผล และหาข้อค้นพบจากข้อมูล จากนั้นก็เปลี่ยนให้เป็นผลลัพธ์บางอย่างที่จับต้องได้
  5. วัดผลและทำซ้ำ : สิ่งที่ต้องไม่ลืม คือการทบทวนทั้งข้อมูลที่ใช้และการตัดสินใจที่ทำไปแล้ว เพื่อดูว่าอะไรที่สามารถนำมาใช้ได้อีกในอนาคต หรืออะไรที่ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจมีคำถามว่า แล้วสัญชาตญาณหรือประสบการณ์ ยังมีที่ทางในการตัดสินใจทางธุรกิจไหม? คำตอบคือมี เพราะอย่างไรเราก็คือมนุษย์ ไม่ใช่เครื่องจักร เพียงแต่เราต้องระลึกไว้เสมอว่า สัญชาตญาณหรือประสบการณ์มีโอกาสที่จะมีอคติอยู่ในนั้น และในทางจิตวิทยา ก็มีสิ่งที่เรียกว่า ‘Flashbulb Memory’ หรือการที่เรามีความทรงจำชัดแจ้งกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งในอดีต แต่ก็มีโอกาสที่จะหลงลืมบริบทแวดล้อม คือเราอาจจะจดจำได้แต่ผลลัพธ์ที่ดี โดยลืมตัวแปรส่วนอื่นๆ ไป เช่น ลืมไปว่าเราออกมาตรการอะไรควบคู่ หรือลืมสิ่งที่เราตัดสินใจแบบเดียวกัน แล้วผลลัพธ์ออกมาไม่เป็นไปตามตั้งใจ

การใช้สัญชาตญาณหรือประสบการณ์นั้นทำได้ แต่เราต้องแยกแยะว่านั่นเป็นการตัดสินใจที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของข้อมูล โดยเราอาจมองว่ามันเป็นการทดลอง หรือการเก็บข้อมูลใหม่เพื่อใช้ในการตัดสินใจในอนาคตก็เป็นได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้เพื่อการโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า