อยากเป็น manager ต้องพัฒนาตัวเองไปทางไหน ? 9 ทักษะที่ต้องมีก่อนขึ้นเป็น Manager

การขึ้นเป็น manager มีข้อดีอยู่หลายข้อ แต่ขณะเดียวกัน ตำแหน่งนี้ก็มาพร้อมการต้องเผชิญเรื่องยากมากมาย เพราะอย่างนี้ เราถึงควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนก้าวขึ้นไปสู่ความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม
วันนี้ TUXSA มี 9 ทักษะที่ต้องมีก่อนขึ้นเป็น Manager มาแชร์กัน สูตรที่ว่านี้เป็นอย่างไร มาเรียนรู้ไปพร้อมกันได้เลย!

9 ทักษะที่ต้องมีก่อนขึ้นเป็น Manager

1.ความเข้าใจเรื่องงบประมาณและเรื่องการเงิน

แม้ว่า Manager ไม่ได้ทำงานในด้านการเงินการบัญชีโดยเฉพาะ แต่การมีความรู้ความเข้าใจเรื่องงบประมาณและการเงินก็ถือเป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องอยู่ในอำนาจการตัดสินใจของผู้จัดการ เพื่อประเมิน วิเคราะห์ผลกระทบหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร รวมถึงการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ

“Manager ต้องรู้เสมอว่าตัวเลขหมายถึงอะไร ได้มาอย่างไรและมีอะไรซ่อนอยู่หรือไม่” จากคำกล่าวของ Roy Cohen โค้ชผู้ให้คำแนะนำด้านอาชีพและผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Wall Street Professional’s Survival Guide เขามองว่ามันสำคัญมากที่ผู้จัดการต้องเข้าใจว่าตัวเลขหมายถึงอะไร เพราะถ้าผู้จัดการไม่รู้ คนในทีมไม่รู้ การบริหารจัดการองค์กรจะเป็นไปอย่างผิดทิศผิดทางและจบลงที่องค์กรพังไม่เป็นท่าก็เป็นได้

2.การมอบหมายงาน

เพราะ Manager ไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่ดูแลโปรเจกต์เท่านั้นแต่ต้องดูแลสมาชิกในทีมทุกคนด้วยเช่นกัน การจัดการงานให้เสร็จนั้นสำคัญ แต่จัดการสมาชิกในทีมให้ทำงานสำเร็จพร้อมกันสำคัญกว่า เพราะฉะนั้น Manager ไม่ใช่หน้าที่ที่มีไว้ให้ทำงานคนเดียว แต่คือคนที่อำนวยความสะดวกให้ทุกคนได้ร่วมมือกันทำงานได้อย่างเต็มที่

อย่างที่ Angela Copeland โค้ชผู้ให้คำแนะนำด้านอาชีพกล่าวไว้ว่า “คุณต้องเรียนรู้ที่จะปล่อยวางความวิตกกังวลและพึ่งพาทีมของคุณ สิ่งสำคัญที่สุดคือการเชื่อใจสมาชิกในทีม เพราะพนักงานที่มีความสุขคือคนที่รู้ว่ามีเจ้านายคอยสนับสนุนและไว้วางใจให้พวกเขาทำงานสำเร็จ”

3.การจัดลำดับความสำคัญ

Angela Copeland โค้ชผู้ให้คำแนะนำด้านอาชีพบอกไว้ว่า “ในฐานะผู้จัดการทีม คุณจะถูกขอให้ทำงานมากกว่าเวลาที่คุณมีหรืองบประมาณที่คุณตั้งไว้อยู่เสมอ” เพราะฉะนั้นหน้าที่ Manager จึงต้องบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ดีที่สุด แน่นอนว่าสิ่งที่ Manager ต้องรับผิดชอบนั้นมีมากมายและหลายครั้งก็มักจะมาพร้อมๆ กัน

สิ่งสำคัญก็คือความสามารถในการจัดลำดับความสำคัญ หากคุณรู้ว่าในบรรดางานมากมายที่คุณต้องรับผิดชอบนั้น งานไหนคืองานที่สำคัญที่สุดหรือเร่งด่วนที่สุด คุณจะจัดการโปรเจกต์ต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบและผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น นอกจากทำให้สมาชิกในทีมได้โฟกัสงานและรู้วิธีร่วมมือกันอย่างถูกต้องแล้ว ก็ช่วยปกป้องสมาชิกจากความเหนื่อยล้าเพราะงานล้นมือได้อีกด้วย

4.การใช้เทคโนโลยีพื้นฐาน

Manager ส่วนใหญ่รู้วิธีบริหารคนในทีมและเข้าใจตัวเลขและงบประมาณต่างๆได้ดี แต่ Manager ที่ฉลาดจะนำเทคโนโลยีและเครื่องมือพื้นฐานมาใช้ในการทำงาน เพราะนั่นเป็นวิธีที่ช่วยให้ทำงานได้เร็ว กระจายงานและติดตามผลลัพธ์ได้ดีกว่า หากคุณเป็น Manager ที่ยังไม่รู้วิธีใช้ Spreadsheet หรือ PowerPoint เราอยากแนะนำให้คุณหาเวลามาศึกษาวิธีใช้งานเครื่องมือเหล่านี้ดู

เพราะแต่ละโปรเจกต์ที่ Manager ต้องดูแลนั้นเต็มไปด้วย Detail และเรื่องที่ต้องตัดสินใจมากมาย คุณจะมีเวลาโฟกัสและมีตัวช่วยตัดสินใจเรื่องยากๆ ได้ดีขึ้นหากนำเครื่องมืออย่าง Spreadsheet มาช่วยสรุปข้อมูล งบประมาณ แพลนต่างๆ หรือใช้เครื่องมืออย่าง PowerPoint หรือ Canva สำหรับการนำข้อมูลมาสรุปเป็นรูปภาพและนำเสนอให้สมาชิกในทีม

5.การสื่อสาร

ไม่ว่าตำแหน่งงานอะไรก็ต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่ง Manager ที่เปรียบเสมือน Center ของทีม เป็นผู้นำเสนอและถ่ายทอดไอเดียต่างๆ ให้สมาชิกในทีมเข้าใจตรงกันและสามารถทำงานได้บรรลุเป้าที่วางไว้

ทักษะการสื่อสารจึงสำคัญมากสำหรับคนเป็น Manager ไม่ใช่แค่การสื่อสารในฐานะหัวหน้าทีม แต่รวมถึงการสื่อสารในเรื่องยากๆ หรือเรื่องที่ละเอียดอ่อนต่อสมาชิกในทีม ทักษะการสื่อสารที่ดีนั้นช่วยให้คุณจัดการปัญหาหรือรับมือกับ Conflict ที่อาจเกิดขึ้นได้ดีกว่า หากคุณเป็น Manager ที่มีไอเดียและวิสัยทัศน์ ผู้คนจะเชื่อมั่นในตัวคุณ แต่ถ้าคุณมีทักษะการสื่อสารที่ดี ผู้คนจะอยากทำงานกับคุณ

6.ความฉลาดทางอารมณ์

ความฉลาดทางอารมณ์ถือเป็นทักษะที่สำคัญอีกข้อหนึ่งสำหรับคนที่เป็นผู้นำหรือต้องบริหารคนจำนวนมาก เพราะการสร้างทีมเวิร์กหรือดรีมทีมที่ประสบความสำเร็จได้นั้นส่วนมากเป็นเพราะหัวหน้าทีมมีความฉลาดทางอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับรู้และเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของเพื่อนร่วมงาน รวมถึงการแสดงความรู้สึกของตัวเองออกมาได้อย่างเหมาะสม สิ่งนี้ช่วยสร้างความสัมพันธ์ของสมาชิกในทีมเป็นไปด้วยดีและยังกระตุ้นให้การทำงานร่วมกันดีขึ้นอีกด้วย

7.การบริหารโครงการ

เมื่อคุณได้ขึ้นมาเป็น Manager สิ่งหนึ่งที่ต้องเข้าใจก็คือ ไม่ว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากทีมของคุณจะมาจากใครก็ตาม คุณต้องเป็นคนรับผิดชอบมันเป็นคนแรก เพราะหน้าที่ Manager คือการมองเห็นภาพรวมการทำงานของทีมตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะฉะนั้นความผิดพลาดจะไม่เกิดขึ้นเลยหาก Manager สามารถบริหารจัดการโครงการได้เป็นอย่างดี ผ่านการวางแผนและเข้าใจลักษณะการทำงานของสมาชิกในทีมทุกคน

วิธีบริหารทีมให้ดีนั้นอาจขึ้นอยู่กับสไตล์หรือรูปแบบการทำงานของแต่ละทีมแตกต่างกันไป แต่ Manager ที่ดีจะรู้วิธีกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกในทีมอยากร่วมมือกันเพื่อให้งานออกมาดีที่สุด โดย Manager สามารถวางตัวเป็นทั้งที่ปรึกษา โค้ช หรือเพื่อนร่วมงานเพื่อให้สมาชิกทีมมาขอความคิดเห็นได้อย่างสะดวก ถือเป็นหนึ่งในทักษะการบริหารทีมให้ทำงานได้ไหลลื่นยิ่งขึ้น

8.การทำงานภาคสนาม

บางครั้งเราอาจเห็น Manager ที่ตำแหน่งสูงมาก แต่ไม่เคยลงมาเห็นการทำงานของลูกน้องและแทบจะไม่รู้จักสมาชิกในทีมทุกคนเลยด้วยซ้ำ ทำให้การทำงานเป็นไปในลักษณะทำงานตามคำสั่งเพราะลูกน้องกลัว ไม่กล้าเข้าหา Manager ทำให้ต้องทำงานแบบวันต่อวันไปเท่านั้น

แต่ Manager ที่ดีจะหาเวลามาทำงานร่วมกับลูกน้องให้มากที่สุด เพราะรู้ว่าทักษะการทำงานภาคสนามนั้นช่วยให้เข้าใจกระบวนการทำงานของทีมได้ดีขึ้น และความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้า-ลูกน้องก็ใกล้ชิดกันมากขึ้น ทำงานได้ง่ายขึ้น นอกจากช่วยให้ Manager บริการทีมได้เก่งขึ้นแล้ว สมาชิกในทีมก็เชื่อถือในตัว Manager เพราะพวกเขารู้สึกว่าไม่ได้ทำงานอยู่คนเดียว หัวหน้าก็ลงมาช่วยและทำงานร่วมกับพวกเขาด้วยเช่นกัน

9.การเป็นกระดูกสันหลังของทีม

“มงกุฎนั้นสง่างามแต่หากเราสวมใส่มัน เราเองที่รู้สึกหนัก” เช่นกันกับตำแหน่ง Manager ที่เป็นตำแหน่งใหญ่ที่สำคัญ แต่ก็มาพร้อมภาระหน้าที่และการตัดสินใจอันยากลำบากมากมาย Manager ต้องทำหน้าที่นั้น หน้าที่ที่คนส่วนใหญ่ไม่อยากทำ

Manager จึงเป็นตำแหน่งที่ต้องมีทั้งความรับผิดชอบและความกล้าหาญ ที่มาจากทั้งประสบการณ์การทำงานและ Mindset ส่วนบุคคล สิ่งที่สำคัญสำหรับ Manager คือการทำในสิ่งที่ถูกต้อง อาจฟังดูเป็นเรื่องง่าย แต่เมื่อขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งนี้แล้ว ก็มีความเป็นไปได้มากมายที่คุณอาจเป็น Manager ที่บริหารทีมอย่างไม่โปร่งใสหรือไม่ซื่อสัตย์ได้ แต่หากคุณมีความกล้าที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ สิ่งนี้จะทำให้คุณเป็น Manager ที่น่าเชื่อถือ หรือแม้จะไม่มีตำแหน่งระบุก็ตาม คนอื่นก็จะยังคงเชื่อมั่นในตัวคุณ

และทั้งหมดนี้คือ 9 ทักษะที่ต้องมีก่อนขึ้นเป็น Manager สำหรับใครที่อยากพัฒนาตัวเองให้เก่ง ก้าวให้ทันโลกการทำงานยุคใหม่ ลองดูรายละเอียดหลักสูตรของ TUXSA ปริญญาโทโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane ได้ที่นี่

อ้างอิง: glassdoor.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้เพื่อการโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า