อย่าเพิ่งวีน! 6 ขั้นตอนรับมือกับอารมณ์โกรธในที่ทำงาน

สังเกตหรือเปล่าว่า โลกหลังการระบาดของ Covid-19 นั้นตึงเครียดขึ้นโดยที่หลายคนไม่ทันได้ตั้งตัว 

จากการวิจัยผู้อ่านหนังสือ Big Feelings จาก Harvard business review ผู้อ่านหลายคนค้นพบว่าตัวเองมักจะโกรธกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่ว่าจะหงุดหงิดเมื่อต่อ WiFi ไม่ได้, ตะโกนด่าเมื่อเจอคนขับรถไม่ได้ดั่งใจ หรือขึ้นเสียงใส่เพื่อนร่วมงานที่ทักมาตอนใกล้เลิกงาน

ในทางจิตวิทยา เมื่อคนเราเจอกับความเครียดเรื้อรัง หรือผ่านเหตุการณ์บอบช้ำทางใจมาเป็นเวลานาน ส่งผลให้สุขภาพจิตถูกบั่นทอนไปกับเรื่องราวแย่ ๆ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ก็ลดลงตามไปด้วย จึงไม่แปลกที่คนบางคนที่เคยเจอกับเรื่องราวร้ายๆ มาก่อน จะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ ถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม

แต่อย่าเพิ่งหัวร้อนไป แทนที่คุณจะปรี๊ดแตกกลางออฟฟิศจนทำให้ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานแย่ลง เรามีวิธีที่ช่วยให้คุณจัดการความโกรธได้อย่างชาญฉลาดขึ้น เพียงแค่ทำตามนี้

1.ต้องรู้ให้ทัน ถ้าความโกรธนั้นมาจากการถูกละเมิด

หลายคนรู้สึกผิดเมื่อตัวเองโกรธ แต่ถ้าคุณโกรธจากความไม่แฟร์ หรือถูกละเมิดสิทธิบางอย่างของตัวเอง ความโกรธก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะฉะนั้น ก่อนที่คุณจะใช้อารมณ์ตัดสินใจในบางเรื่อง เราอยากให้คุณลองคิดทบทวนสาเหตุของความโกรธนั้นก่อน แล้วหาทางแก้ไข หรือหลีกเลี่ยงมัน เพื่อไม่ให้คุณต้องมาพบกับความรู้สึกโกรธแบบนี้อีก

รู้หรือไม่ว่า คนส่วนมากไม่รู้ตัวว่าสิ่งที่ตัวเองโกรธนั้นมีสาเหตุในใจที่ลึกเกินกว่าจะรู้สึก อย่างเช่นความรู้สึกโกรธที่เพื่อนร่วมทักมาตอนใกล้เลิกงานนั้น ถ้าลองมองสาเหตุลึก ๆ ของความโกรธนั้น คุณอาจจะค้นพบว่าตัวเองถูกเพื่อนคนนี้วานให้ช่วยงานของตัวเองมาแล้วหลายครั้ง จนทำให้ชีวิตส่วนตัวของคุณถูกรบกวนไป เราจึงสนับสนุนให้คุณรู้ให้ทัน ว่าความรู้สึกโกรธของคุณนั้นมาจากการถูกละเมิดบางอย่าง เพราะท้ายที่สุดแล้ว คุณจะรู้วิธีการรับมือกับเหตุการณ์แบบนี้ในครั้งต่อไป

2.ระบายอารมณ์มากเกินไป ให้ผลร้ายมากกว่าดี 

รู้หรือไม่ว่าการระบายอารมณ์โกรธออกมามากจนเกินไป ไม่ได้ให้ผลดีอย่างที่คุณคิด แม้ว่าปัจจุบันนี้จะมีห้องระบายความโกรธให้คุณไปเขวี้ยงปาข้าวของ หรือตะโกนออกมาดัง ๆ แต่ผลการวิจัยได้บอกไว้ว่าการระบายอารมณ์โกรธมากเกินความจำเป็น ทำให้อารมณ์ของคุณรุนแรงขึ้นมากกว่าที่จะลดน้อยลง  

นักจิตวิทยา Brad J. Bushman ได้ลองศึกษาโดยการให้คนที่มีอารมณ์โกรธลองต่อยกระสอบทรายเพื่อระบายอารมณ์โกรธ และค้นพบว่า “การไม่ทำอะไรเลยตอนโกรธนั้นดีที่สุดแล้ว”

ในขณะเดียวกัน การที่คุณระบายอารมณ์ออกมาโดยที่ไม่ได้มีการทบทวนสาเหตุ หรือพยายามหาทางแก้ไขมันเลย ยิ่งทำให้ทั้งคุณและคนที่รับฟังคุณรู้สึกแย่ลง ผู้อ่านของเราคนหนึ่งได้ให้ข้อมูลกับเราไว้ว่า “การโฟกัสกับสาเหตุที่ทำให้ตัวเองรู้สึกโกรธ และพยายามเรียนรู้กับสาเหตุนั้น ทำให้เขารู้สึกดีมากกว่าการเอาอารมณ์โกรธไประบายกับเพื่อนร่วมงานเสียอีก”

3.ต้องรู้ให้ได้ว่า โกรธครั้งนี้ เราต้องการอะไร ?

ผลการวิจัยบอกว่า การให้ความสนใจไปที่ความต้องการที่อยู่เบื้องหลังความโกรธ ช่วยให้เราสามารถมองสถานการณ์ตอนนั้นได้อย่างเป็นกลาง และทำให้คุณมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นมาก

การรู้ความต้องการของตัวเองในขณะที่โกรธอยู่นั้นอาจดูเป็นเรื่องยาก แต่สามารถฝึกฝนได้ ด้วยคำถามเหล่านี้:

  • อะไรทำให้ฉันรู้สึกโกรธ ?
  • ความรู้สึกที่อยู่เบื้องหลังความโกรธของฉันคืออะไร ? รู้สึกไม่แน่นอน หรือรู้สึกกลัวอะไรบางอย่างหรือเปล่า ?
  • จำเป็นต้องหายโกรธในตอนนี้เลยมั้ย ?
  • ผลลัพธ์ของเหตุการณ์นี้ต้องเป็นอย่างไร ฉันถึงจะไม่รู้สึกโกรธ ?
  • มีวิธีอะไรบ้าง ที่ทำให้ผลลัพธ์นั้นเกิดขึ้น ?
  • แล้วถ้าเราทำวิธีเหล่านั้น เราจะได้และเสียอะไรบ้าง ?

4.เรียนรู้ที่จะพูดถึงความโกรธ โดยที่ไม่แสดงอารมณ์โกรธ

เพราะคนเราจะมีวิจารญาณต่ำลงเมื่ออยู่ในอารมณ์โกรธ ทางที่ดีลองเริ่มจากการประเมินระดับความโกรธจาก 1 (แค่หงุดหงิด) ถึง 10 (โกรธจัด) และรอให้อารมณ์โกรธนั้นลดระดับลงมา ก่อนที่จะทำอะไรบางอย่าง

หากอารมณ์โกรธของคุณเกิดจากการกระทำของคนอื่น ลองหาเวลาแแบ่งปันสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขาดู แน่นอนว่าต้องคุยกันโดยที่ไม่แสดงอารมณ์โกรธต่อกัน หรือจะลองนำเอาแพทเทิร์นการพูดแบบง่าย ๆ อย่าง “เมื่อคุณ___ ทำให้ฉันรู้สึก___” ไปใช้ก็ได้นะ

ยกตัวอย่างจากผู้เข้าร่วมเวิร์กช็อปของ Harvard business review ในปี 2020 ได้แบ่งปันเหตุการณ์ของตัวเองว่า เวลาเจ้านายอารมณ์เสีย มักจะเอาความโกรธนั้นมาลงที่เขาเสมอ แน่นอนว่าเขารู้สึกอึดอัดและหงุดหงิดมาก จนในที่สุดเขาก็ตัดสินใจบอกเจ้านายว่า “ฉันรู้นะว่าคุณอารมณ์เสีย แต่พอคุณตะโกนใส่ฉัน มันทำให้ฉันไม่มีสมาธิกับงานเลย” ในที่สุดเจ้านายของเขาก็รู้ตัวว่าการกระทำของเขามีผลกับคนอื่น และทำให้เขาเลิกเอาความโกรธมาลงที่คนอื่นในที่สุด

5.สถานการณ์ไม่ดีขึ้น แต่อารมณ์ดีขึ้นก็โอเคนะ

ความจริงที่น่ากลัวข้อหนึ่งคือ คุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทุกสถานการณ์ในชีวิตให้ดีขึ้นได้ ถ้าอย่างนั้น คุณอาจจะลองหาทางเอาตัวเองออกจากสถานการณ์นั้น หรือถ้าคุณไม่สามารถออกจากสถานการณ์นั้นได้ การขอความช่วยเหลือจากคนอื่นก็เป็นเรื่องที่ดี (เช่น ลองให้เพื่อนเข้ามาช่วยเหลือ หรือปรึกษาจิตแพทย์)

ผู้เข้าร่วมเวิร์กช็อปจากข้อที่ 4 มีความรู้สึกว่า เขารู้สึกเหนื่อยและหมดพลังจากการที่ต้องรับมือกับหัวหน้าที่มีอารมณ์โมโหร้าย แต่กลับไม่สามารถลาออกจากงานได้ในทันที เขาจึงค่อย ๆ หาวิธีการที่ทำงานให้เขาต้องโฟกัสกับงานมากขึ้น และลดเวลาในการปะทะอารมณ์กับเจ้านายลง นอกจากนี้เขายังพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานที่มักจะชื่นชมเขาในแบบที่เจ้านายไม่เคยทำ เพื่อเติมเต็มความรู้สึกนั้นอีกด้วย วิธีนี้เป็นการบาลานซ์อารมณ์ของเขาให้ดีขึ้นในทุก ๆ วัน

6.ใช้ความโกรธเป็นแรงผลักดัน

แม้การระงับอารมณ์จะเป็นเรื่องที่ควรทำในบางสถานการณ์ แต่รู้หรือไม่ มีผลการวิจัยที่ชี้ว่า “อารมณ์โกรธ ทำให้เรามีความมั่นใจและเข้มแข็งกว่าปกติ” ยกตัวอย่างเช่น ทหาร U.S. Navy SEAL ที่ใช้อารมณ์โกรธเพื่อช่วยให้อะดรีนาลีนหลั่ง เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่อันตราย

แล้วถ้าเราลองใช้ความโกรธเป็นแรงผลักดันให้กับตัวเองล่ะ ?

ลองคิดดูว่า ถ้าคุณโกรธจากการที่ไม่ได้ขึ้นเงินเดือนทั้ง ๆ ที่เพื่อนคนอื่นได้ขึ้น ระหว่างการเก็บความโกรธไว้กับตัวเองแล้วเงียบกับการนำเอาความโกรธนั้นเป็นแรงผลักดันให้ตัวเองเข้าไปถามหาเหตุผลของสิ่งที่เกิดขึ้น อย่างน้อย แบบที่ 2 จะทำให้คุณได้รับแง่มุมใหม่ ๆ ก็เป็นได้

อ้างอิง :

https://hbr.org/2022/04/how-to-manage-your-anger-at-work 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้เพื่อการโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า