Bullet Journal วิธีจดบันทึกเพื่อจัดระเบียบงานและชีวิต

ชีวิตคุณกำลังยุ่งเหยิงและยากจะจัดการให้เป็นระเบียบอยู่หรือเปล่า?

ถ้าคุณเป็นอีกคนที่รู้สึกแบบนั้น เราอยากแนะนำให้ลองจัดระเบียบงานและชีวิต ผ่านการลงมือจดบันทึกในรูปแบบที่เรียกว่า Bulltet Journal หรือบูโจ

ไม่ว่าคุณจะเคยได้ยินคำนี้ผ่านหู หรือไม่เคยได้ยินมาก่อน ลองมารู้จักอีกวิธีจัดการงานและชีวิตด้วยสมุด 1 เล่มไปด้วยกัน

(รีวิวสั้นจากผู้ใช้จริง: วิธีนี้เวิร์กอยู่นะ!)

Bullet Journal (BUJO) คืออะไร?

ระบบจดบันทึกแบบ analog ที่ช่วยให้เราได้จัดระเบียบและทบทวนชีวิต ระบบนี้ทำให้เราติดตามผลอดีต จัดการปัจจุบัน และวางแผนอนาคตได้ 

Bulltet Journal เกิดขึ้นจากความย้อนแย้งของ Productivity

ในหนังสือเรื่อง The Bullet Journal Method Ryder Carroll ผู้เขียนที่สร้างคำศัพท์ “บูโจ” จนกลายเป็นชื่อวิธีจดโน้ตที่ทุกคนรู้จักทั่วโลกบอกว่า เขาป็นโรคสมาธิสั้น ทำให้โฟกัสแต่ละอย่างได้ยากมาก แต่การจดบันทึกช่วยให้เขาได้สังเกตชีวิตตัวเอง และจัดระเบียบมันได้ดีขึ้น เขาจึงเริ่มจดบันทึกมาตั้งแต่เด็ก และพบว่าเพื่อนที่ประสบความสำเร็จของเขาหลายคนต่างก็มีสมุดบันทึกติดตัวไว้จัดระเบียบชีวิตและความคิด ซึ่งพวกเขาต่างก็มีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ได้ยุ่งอยู่ตลอดเวลาเพื่อประสบความสำเร็จ 

Ryder Carroll บอกว่าในปัจจุบัน การใช้ชีวิตให้เรียบง่ายเป็นเรื่องยากมาก เพราะเรามีสิ่งเร้าและตัวกระตุ้นมากมายให้ต้องตื่นตัวอยู่ตลอด พร้อมค่านิยมว่าเราต้อง Productive เสมอ แต่ความจริงก็คือ ยิ่งเราพยายาม Productive เรากลับยิ่งรู้สึกเหนื่อยล้าและหมดแรง ไม่พอใจในตัวเองกันมากขึ้น เพราะเราสนใจแต่ผลลัพธ์ปลายทาง แต่ไม่ได้สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตอย่างแท้จริง

และนั่นจึงเป็นความมุ่งมั่นที่เขาต้องการสร้างระบบที่ยืดหยุ่นและรวดเร็ว ในการจัดระเบียบชีวิตให้เรียบง่ายและได้ผล ซึ่งก็คือระบบ Bullet Journal นั่นเอง

credit: John Uhri

Bullet Journal วิธีจดแบบอนาล็อกในยุคดิจิทัล 

หากถามว่าทำไมการจดบันทึกแบบบูโจต้องเป็นสมุดบันทึก? คำตอบเพียงข้อเดียวก็คือ เพื่อให้เราหยุดการเชื่อมต่อกับโลกดิจิทัล ที่ซึ่งเราถูกควบคุมด้วย Notification ที่มองเห็นและมองไม่เห็นโดยไม่รู้ตัว จนสุดท้ายก็วนอยู่ในนั้นจนลืมทำสิ่งที่โฟกัสอยู่ 

เมื่อเราหยุดเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์สักพัก แล้วลงมือเขียนบันทึกทบทวนงานและชีวิตด้วยปากกาบนสมุด เราจะได้อยู่กับตัวเอง ควบคุมสิ่งต่างๆ ของตัวเราได้อีกครั้ง โดยไม่มีอะไรมาขัดขวางหรือทำให้เสียสมาธิ

Mental Inventory วางทุกอย่างในหัวลงกระดาษก่อนลงมือบันทึก

สิ่งแรกที่สุดก่อนจะลงมือบันทึก Bullet Journal เต็มรูปแบบ Ryder Carroll อยากให้เราหยิบกระดาษมา และคลี่ความคิดที่เยอะและยุ่งเหยิงในหัวของเราออกมาเป็นข้อๆ ก่อน

โดยมีขั้นตอนง่ายๆ 3 ข้อเท่านั้นคือ

  1. เขียนทุกอย่างที่เรากำลังทำอยู่ในบรรทัดแรก
  2. เขียนทุกอย่างที่เราควรทำตอนนี้ในบรรทัดที่สอง
  3. เขียนทุกอย่างที่เราอยากทำตอนนี้ไว้ในบรรทัดสุดท้าย

การทำรายการความคิดแบบนี้ช่วยให้เราถามตัวเองว่า ทำไปทำไม? งานนี้สำคัญหรือไม่? และจำเป็นไหมที่ต้องทำงานนั้น? ส่วนรายการไหนที่เราไม่สามารถตอบคำถามทั้ง 3 ข้อได้ ก็ให้ถามตัวเองต่อว่า มันจะเกิดอะไรขึ้นหากเราไม่ทำ? มันจะกระทบอะไรและสร้างความเสียหายอะไรหรือไม่? และถ้ามันไม่ได้สร้างความเสียหายอะไร อย่าลังเลที่จะขจัดมันออกไปจากรายการ

เพราะเป้าหมายของการทำรายการความคิดคือ จัดระเบียบชีวิตของเราให้ง่ายที่สุด ด้วยตัวเลือกที่น้อยที่สุดนั่นเอง

ส่วนประกอบของ Bullet Journal

หลังจากเคลียร์ความคิดให้เป็นระเบียบ ก็มาถึงการลงมือทำ Bullet Journal โดยก่อนอื่น มารู้จักส่วนต่างๆ ของระบบนี้กันก่อน โดย Bulltet Journal แบ่งออกได้เป็น 6 ส่วนคือ

1.Index : สารบัญเนื้อหา

สารบัญเพื่อเชื่อมทุกหน้าเข้าด้วยกัน ใช้คั่นเนื้อหาในแต่ละบูโจโดยดูที่หัวเรื่องและเลขหน้า แก้ปัญหาเวลาจดโน้ตแต่ละครั้ง แล้วหาไม่เจอว่าจดไว้ตรงไหนบ้าง หรือการจดหนึ่งเรื่อง ไว้หลายๆ หน้าสลับไปมา

2.Future Log : บันทึกวางแผนอนาคต

บันทึกงานและเหตุการณ์ในอนาคตที่อยู่นอกเหนือเดือนปัจจุบัน  คือพื้นที่สำหรับจดเตือนตัวเองสั้นๆ ว่า มีตารางงานสำคัญอะไรบ้างที่จะเกิดขึ้น

3.Monthly Log : บันทึกรายเดือน

บันทึกประจำเดือน ซึ่งมี 2 สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือ ปฏิทินและลิสต์งานที่ต้องทำ

4.Daily Log : บันทึกประจำวัน

ส่วนที่บันทึกงาน กิจกรรม และโน้ตของเราในระหว่างวัน

5. Collections: บันทึกที่แบ่งเป็นหมวดหมู่ เช่น habit tracker

ส่วนรวมเรื่องที่เราสนใจไว้เป็นสัดส่วน เช่น คนที่ชอบท่องเที่ยวอาจมีบันทึกแยกเฉพาะสำหรับวางแผนการท่องเที่ยว และคนที่อยาก track นิสัยบางอย่างของตัวเองก็อาจมีบันทึกแบบ Habit Tracker เอาไว้

6. Migration Process : ระบบย้ายข้อมูล

ขั้นตอนการกรองเนื้อหาที่ไม่สำคัญออกจากสมุดบันทึกเมื่อขึ้นเดือนใหม่ เพื่อย้ายเฉพาะงานที่ยังสำคัญกับเราไปสู่เดือนถัดไป

credit: John Uhri

วิธีบันทึก  

สุดท้ายก็มาถึงวิธีจดบันทึก ซึ่งในภาพรวมมีด้วยกัน 4 ขั้นตอนดังนี้

1.ใส่หัวข้อที่ด้านบน (ชื่อเรื่องหรือวันเดือนปี)

2.ใส่เลขหน้า (สำหรับใส่ในสารบัญ)

3.จดงานและข้อความด้วยประโยคสั้นๆ

4.ใช้ bullet (สัญลักษณ์แยกประเภท เช่น ใส่ • สำหรับสิ่งที่เป็นงาน และใส่ – สำหรับสิ่งที่เป็นการจดโน้ต )

สำหรับใครที่ไม่เคยจดมาก่อน ให้เริ่มด้วยหน้า Index หรือสารบัญ (ที่เราจะมาทยอยใส่กันเมื่อลงมือเขียนไปเรื่อยๆ ) จากนั้นให้เขียน Future Log โดยตีตารางเพื่อจดสิ่งสำคัญในระยะ 6 เดือน ตามด้วย Monthly Log แล้วค่อยมาสู่ Daily Log หรือการจดบันทึกรายวันต่อไป ส่วน Collections นั้นสามารถเลือกใส่ลงไปในบันทึกตามความสนใจได้เลย

อ้างอิง:

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้เพื่อการโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า