เรียนได้เรียนดีในทุกวิชา ด้วยวิธีเรียนแบบ DiSSS Learning           

ถ้าคุณกำลังอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ พร้อมพัฒนาตัวเองสุดๆ แต่ยังไม่แน่ใจว่าวิธีเรียนไหนจะมีประสิทธิภาพ เราขอแนะนำ DiSSS Learning วิธีเรียนรู้ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียน จากผู้เขียนหนังสือยอดฮิตอย่าง 4-Hour Workweek

มารู้จัก DiSSS Learning ไปพร้อมกันได้เลย!

4 เทคนิคเรียนรู้แบบ DiSSS Learning  

1.Deconstruction : ย่อยสิ่งที่จะเรียนเป็นส่วนเล็กๆ 

สมมุติว่าคุณต้องเรียนภาษาญี่ปุ่นที่ต้องจำตัวอักษรคันจิกว่าพันตัวอักษร มันคงดูเยอะและใช้เวลาทำความเข้าใจมากทีเดียว และบางคนอาจถอดใจได้ง่ายๆ ถ้ารู้ว่าหนทางในการเรียนภาษาญี่ปุ่นนั้นทั้งยากและต้องจำเยอะมากขนาดนี้ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีหนทางในการเรียนให้ง่ายขึ้น แค่ลองย่อยสิ่งที่ต้องเรียนออกเป็นส่วนเล็กๆ ซึ่งมี 4 วิธีด้วยกันคือ 

  • Reduce : ลดทอนการเรียนให้เรียบง่าย เช่น หาองค์ประกอบหลักหรือรวมสิ่งที่ต้องเรียนไว้ด้วยกันเป็นบล็อก

วิธีแรกคือลดทอนเนื้อหาหรือบทเรียนให้ดูง่ายขึ้น เช่น หากต้องจำตัวอักษรคันจิที่มีทั้งหมด 1,945 ตัวอักษร ก็ดูจะยากไปหรืออาจเป็นไปไม่ได้เลยที่จะจำได้ทั้งหมดภายในเวลาอันสั้น แต่หากลองมองหาองค์ประกอบหลักหรือความเหมือนความต่างของตัวอักษรคันจิทั้งหมด คุณจะพบว่ามีบางตัวอักษรที่มีลักษณะเหมือนกันอยู่ไม่ว่าจะเป็นความหมายหรือการออกเสียง ที่เมื่อรวมกลุ่มตัวอักษรเหล่านี้แล้วก็จะเหลือที่ต้องจำเพียงแค่ 214 ส่วนเท่านั้น ซึ่งเราน่าจะจำได้ง่ายกว่าต้องจำตัวอักษรทั้งหมด แถมยังสามารถแบ่งกลุ่มการจำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ทำให้คุณสามารถจำทั้งหมดนี้ได้ภายในเวลาที่สั้นกว่าด้วย

  • Interview : คุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีเรียนที่ได้ผล

การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญทำให้คุณได้เห็นและเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าคนเหล่านี้มีวิธีเรียนรู้อย่างไรจนเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ หรือพวกเขาทำอย่างไรจนประสบความสำเร็จในสิ่งที่สนใจ ซึ่งจะทำให้คุณมองเห็นแนวทางและนำไปปรับใช้กับวิธีการเรียนรู้ของตัวเองได้ Tim Ferriss แนะนำว่าหากสนใจเรื่องอะไรแล้วต้องการคำตอบ ให้ลองส่งอีเมลไปปรึกษาผู้ที่เชี่ยวชาญเลย และถามพวกเขาตรงๆ ว่า มีอะไรที่ควรรู้ก่อนเริ่มต้นเรียนในด้านนั้นๆ หรือในฐานะผู้เชี่ยวชาญ มีอะไรที่อยากแนะนำมือใหม่ให้เตรียมพร้อมก่อนบ้าง เป็นต้น 

  • Reversal : มองผลลัพธ์ที่อยากได้ แล้วถอยกลับมาดูว่าต้องใช้วิธีไหนไปถึงเป้าหมาย

วิธีนี้คือการมองที่ผลลัพธ์สุดท้ายว่าเป้าหมายที่คุณต้องการทำให้สำเร็จคืออะไร แล้วกลับไปมองว่าหนทางหรือวิธีการใดบ้างที่ทำให้คุณไปถึงเป้าหมายนั้นได้ ให้ระบุออกมาเป็นข้อๆ อย่างชัดเจน ด้วยวิธีนี้จะทำให้คุณรู้ว่าต้องเริ่มต้นทำอะไรก่อนหลัง และทำให้การเรียนเป็นระบบมากยิ่งขึ้น 

  • Translate : หาทางลัดที่ทำให้คุณคุ้นเคยกับสิ่งใหม่ที่จะเรียนรู้ 

ใช้ทางลัดในการเรียนเพื่อช่วยให้คุณเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ในวิธีที่คุณคุ้นเคย Tim Ferriss ยกตัวอย่างการใช้วิธีนี้เมื่อต้องแปลภาษา โดยคุณสามารถเข้าใจโครงสร้างภาษาอื่นๆ ได้ง่ายขึ้นจากการจำรูปแบบประโยคที่คล้ายกัน ไม่ว่าภาษาอะไรก็ตามหากเข้าใจโครงสร้างไวยากรณ์ขั้นพื้นฐาน ที่มีรูปแบบคล้ายกันในแต่ละภาษา คุณจะสามารถเข้าใจภาษานั้นๆ ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งต้องควบคู่ไปกับการฝึกฝนบ่อยๆ ด้วยเช่นกัน

2.Selection : เลือกเรียนสิ่งที่สำคัญจริงๆ 

เมื่อต้องเรียนอะไรก็ตาม Tim Ferriss กล่าวไว้ว่า “องค์ประกอบหลักสำคัญกว่าวิธีการ” หมายความว่า การเลือกสิ่งที่คุณจะเรียนนั้นสำคัญมากกว่าวิธีในการเรียนของคุณ ซึ่งก็คือการเลือกเรียนสิ่งที่สำคัญจริงๆ สิ่งที่เป็นองค์ประกอบหลักๆ หรือแก่นของเนื้อหาทั้งหมด อาจหมายถึงการเลือกจำได้ด้วยเช่นกัน โดยการนำเอาหลัก Pareto หรือกฎ 80/20 มาใช้ โฟกัสเรื่องหรือหัวข้อที่สำคัญจริงๆ 20% เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการเรียนรู้ที่ได้ผลถึง 80% 

ยกตัวอย่างเช่น การเรียนภาษาอังกฤษที่มีศัพท์มากกว่าพันคำ แต่มีเพียง 50% ของศัพท์เหล่านั้นที่ผู้คนมักใช้กันบ่อยๆ หรือคำที่มีความหมายซ้ำกัน เพราะฉะนั้นหากคุณต้องการเรียนภาษาอังกฤษให้ได้ผลและใช้ได้จริง แทนที่จะต้องจำศัพท์ทั้งหมด ให้เลือกจำและแบ่งประเภทคำที่มีความหมายเหมือนกันแทน ซึ่งใช้เวลาในการจำและทำความเข้าใจน้อยกว่า ทำให้คุณสามารถจดจำรูปแบบประโยคไว้ใช้สื่อสารในเวลาอันรวดเร็วอีกด้วย 

3.Sequencing : หาลำดับการเรียนวิชาหรือทักษะนั้นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ  

การจะเรียนรู้อะไรสักอย่างให้ได้ผลนั้น สำคัญมากคือเริ่มต้นเรียนจากทักษะพื้นฐานก่อน แล้วค่อยๆพัฒนาทักษะที่ยากขึ้นไปทีละขั้น หรือก็คือการเริ่มต้นเรียนจากอะไรง่ายๆ ก่อนจึงค่อยไปสู่สิ่งที่ยากขึ้น เพราะถ้าหากคุณไม่ได้ลำดับการเรียนเช่นนี้ แล้วไปเริ่มต้นเรียนเรื่องยากๆ เลย โอกาสที่จะทำได้สำเร็จก็เป็นไปได้ยากและมีแนวโน้มที่จะล้มเลิกถอดใจไปเสียก่อน 

Tim Ferriss ยกตัวอย่างการเรียนทำอาหาร คนส่วนใหญ่มักถอดใจเลิกเรียนกลางคันหลังจากที่พวกเขาพบว่าการทำอาหารนั้นไม่ง่ายและไม่สนุกอย่างที่คิด เป็นเพราะพวกเขาไปเรียนทักษะที่ยากมากอย่างการใช้มีดทำอาหาร ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ฝึกแรมปี ทำให้มือใหม่หัดทำอาหารรู้สึกว่ายากและทำไม่ได้นั่นเอง 

4.Stakes : วางเดิมพันเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายได้จริง  

Tim Ferriss เขียนในหนังสือ The 4-Hour Workweek ของเขาไว้ว่า “ไม่ว่าแพลนที่เราวางไว้จะดีแค่ไหน หรือความตั้งใจของเราจะมากเพียงใด แต่วินัยของเรานั้นไม่เคยดีพอ” เพราะฉะนั้น เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณตั้งใจจะเรียนอะไรสักอย่าง ให้ตั้งเป้าหมายระยะสั้นรายสัปดาห์ พร้อมเงื่อนไขที่คุณต้องทำเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณทำไม่ได้หรือไม่ได้ทำ เพื่อให้คุณรู้สึกผิดและเป็นการวางเดินพันสำหรับครั้งต่อๆ ไปที่จะไม่พลาดอีก ทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อให้คุณเคารพต่อกฎของตัวเองและสร้างวินัยให้ตัวเองมากยิ่งขึ้น

และนี่คือวิธีเรียนรู้ที่จะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของคุณให้มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าเดิม ถ้าพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่แล้ว มาเรียนทักษะแห่งอนาคตกับ TUXSA ได้ที่นี่

อ้างอิง :

Businessinsider.com

Modelthinkers.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้เพื่อการโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า