ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ลาขาดจากนิสัย “ผัดวันประกันพรุ่ง”

คุณเคยรอจนใกล้ถึงเดดไลน์แล้วค่อยทำงานหรือเปล่า ถ้าเคย เราขอสันนิษฐานว่าคุณกำลังเป็น “โรคเลื่อน” และมีคำพูดติดปากคือ “เอาไว้ก่อน”

แต่มีปัจจัยอะไรบ้างที่มีส่วนทำให้คนเราผัดวันประกันพรุ่ง และปัญหานี้จะแก้ยังไงได้บ้าง

ลองมาหาคำตอบจากบทความนี้กัน

3 สาเหตุที่ทำให้คุณเลือก “ผัดวันประกันพรุ่ง”

สาเหตุที่ 1 นิสัยและพฤติกรรมส่วนตัว (ไม่มีวินัย ขี้เกียจทำ)

ตามหลักทฤษฎีแล้ว “ผัดวันประกันพรุ่ง” เป็นนิสัยที่มาจากการขาดวินัยในตัวเอง หรือไม่สามารถจัดระเบียบชีวิตได้ดีพอ คุณอาจเลือกที่จะนอนดู Tiktok มากกว่าจะลุกขึ้นมาเปิด Notebook ทำงาน 

แต่รู้หรือไม่ว่า ทั้งวินัยและการจัดระเบียบชีวิตเป็นเรื่องที่ส่งผลต่อกัน

จากการศึกษาพบว่า ยิ่งคนเรามีวินัยในตัวเองมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งจัดการชีวิตได้มากขึ้นเท่านั้น

พอมีวินัยแล้ว การทำเรื่องที่ยาก ก็ดูง่ายขึ้น เพราะคุณจะเลิกหลีกเลี่ยงที่จะทำสิ่งต่าง ๆ แต่ทำอย่างไรล่ะ ? ถึงจะสร้างวินัยตรงนี้ได้

  • วางแผนการทำงานแบบ Deep work ให้ตัวเองอย่างต่อเนื่อง

งานยาก ๆ ที่ต้องใช้เวลาในการทำนาน ให้คุณใช้วิธี Deep work หรือการทำงานแบบโฟกัสอย่างเต็มที่กับงานนั้น โดยค่อย ๆ จัดเวลาทำงานแบบ Deep work อย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น วางแผนทำงานนั้นวันละ 2 ชั่วโมง แต่ทำทุก ๆ วัน รับรองว่างานเสร็จ ไม่มีดินพอกหางหมูแน่นอน

ข้อดีของการจัดเวลาทำงานแบบ Deep work ให้ตัวเองได้ทำอย่างต่อเนื่อง คือคุณจะได้สร้างนิสัยใหม่ เลิกนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง แล้วการทำสิ่งที่ซับซ้อน จะไม่ใช่เรื่องที่ยากสำหรับคุณอีกต่อไป

  • อยากเริ่มทำสิ่งใหม่ ต้องวางขั้นตอนให้เป็นระบบ

การเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ ๆ แน่นอนว่ายังไงมันก็ยากสำหรับคนที่ไม่เคยทำมาก่อน แต่เราอยากให้คุณลองวางขั้นตอนในการเริ่มต้นทำสิ่งนั้นให้เป็นระบบ วางแผนว่าจะเริ่มอย่างไร และระหว่างทางจะทำอะไรบ้าง 

การวางขั้นตอนเหล่านี้ จะช่วยให้คุณรู้ว่าตอนนี้คุณอยู่ในจุดไหน และลดการล้มเลิกกลางคันได้เป็นอย่างดี สุดท้ายแล้ว ขั้นตอนเหล่านี้ก็เป็นการสร้างนิสัยใหม่ และทำให้คุณมีวินัยมากขึ้นจนติดเป็นนิสัยนั่นเอง

แล้วเราจะวางขั้นตอนสำหรับตัวเองได้อย่างไรล่ะ ?

ใช้วิธีการคิดกลับหลัง คือให้มองภาพความสำเร็จของงานนั้น แล้วมองกลับมาว่าเราต้องทำอะไรบ้าง เพื่อจะไปถึงจุดนั้น นี่เป็นวิธีที่เราแนะนำมากกว่าการทำตามวิธีของคนอื่นที่ประสบความสำเร็จ เพราะคุณจะได้ทำในสิ่งที่เหมาะกับตัวเองที่สุด

สาเหตุที่ 2 อยากหลีกเลี่ยงความรู้สึกด้านลบ (ไม่อยากเครียด หรือทำแล้วเบื่อ)

คนเรามักหลีกเลี่ยงการทำสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกแย่ ในทางจิตวิทยาแล้ว การหลีกเลี่ยงความรู้สึกด้านลบ อาจเป็นอาการของภาวะทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรคเครียด ภาวะวิตกกังวล โรคสมาธิสั้น (ADHD) และอาการกลุ่ม Eating disorders ต่าง ๆ กล่าวได้ว่ายิ่งมีอาการหลีกเลี่ยง ก็ยิ่งเครียด สุขภาพจิตก็ยิ่งแย่

แต่อย่างนั้น การหลีกเลี่ยงความรู้สึกด้านลบก็สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกคน แม้กระทั่งคนที่รักงานที่ตัวเองทำมาก ๆ ก็สามารถมีอาการแบบนี้ได้เช่นกัน เมื่อต้องทำงานที่ยากเกินกำลังตัวเอง 

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เลือกหลีกเลี่ยงความรู้สึกแย่ ๆ ในการทำงานด้วยการผัดวันประกันพรุ่ง เรามีวิธีง่าย ๆ ในการจัดการความรู้สึกนี้ให้คุณลองทำตามด้วย

  • ทบทวนก่อนว่าตัวเองกำลังรู้สึกอย่างไร

ศัพท์ทางจิตวิทยาเรียกว่า Emotional granularity หรือการรู้ทันอารมณ์ของตัวเอง คนที่มี Emotional granularity สูง จะสามารถรับรู้ได้ว่า ตอนนี้ตัวเองกำลังรู้สึกอย่างไร อยู่ในระดับไหน 

การที่เราสามารถรู้ทันอารมณ์ของตัวเองได้นั้น จะช่วยคลายปมทางอารมณ์ที่มีต่อปัญหาบางอย่างได้

วิธีง่าย ๆ ในการวิเคราะห์อารมณ์ของตัวเอง 

1. ซอยย่อยความรู้ที่มีต่องานนั้น

2. แต่ละความรู้สึก ให้แบ่ง Level ออกเป็น 10 ระดับ 

2. วิเคราะห์ตัวเองว่า กับความรู้สึกนี้ เรารู้สึกมากแค่ไหน และจากเต็ม 10 เราให้เท่าไหร่

ตัวอย่างเช่น A ต้องทำสไลด์ สำหรับการนำเสนองานในวันพรุ่งนี้ แต่ A รู้สึกกังวลว่างานจะออกมาไม่ดีในระดับ 8, รู้สึกแตกหักกับเพื่อนในทีมในระดับ 6 และรู้สึกเบื่อที่ต้องทำสไลด์ในระดับ 4 

วิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถหาต้นเหตุของพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่งได้อย่างแม่นยำขึ้น อย่างสาเหตุหลักของตัวอย่างด้านบนคือ A คือความกังวลว่างานจะออกมาไม่ดี ซึ่ง A ก็ต้องกลับไปแก้ที่ต้นเหตุ ก็คืองานนั้น เพื่อให้ความรู้สึกคล่อย ๆ คลี่คลายออกไปทีละเปลาะ แล้วคุณจะเริ่มโอเคที่ต้องทำงานนั้นมากขึ้น

นอกจากนี้ ลองให้รางวัลตัวเองหลังจากทำงานสำเร็จดูสิ ! หาอะไรสนุก ๆ ทำ หรือหาอาหารอร่อย ๆ ที่ปกติไม่เคยทานดู เพื่อเติมกำลังใจให้กับตัวเองสักนิด ก่อนที่จะลุยต่อ 

  • ใจดีกับตัวเองบ้าง เมื่อเจอกับความผิดพลาด

ความรู้สึกที่เรามีต่องานนั้นอาจมาจากประสบการณ์ในอดีต และเมื่อเจอเหตุการณ์ในการทำงานที่ทำให้ความทรงจำเหล่านั้นผุดขึ้นมา ถึงเก่งแค่ไหนก็อาจไม่รอดได้ง่ายๆ 

ถ้าคุณรู้สึกตัวว่ามี reaction ต่อปัญหาการงานแบบนี้ให้ลองตรวจสอบว่าสิ่งนี้เชื่อมโยงไปหาเหตุการไหนที่เคยเจอมา และมองหาว่ามันมีแพทเทิร์นซ่อนอยู่ในงานเหล่านี้และความทรงจำที่เกี่ยวข้องหรือเปล่า

แล้วหนึ่งในวิธีที่คุณจะเยียวยาบาดแผลด้านอารมณ์ได้ ก็คือการทำ compassionate self-talk ด้านล่างนี้คือตัวอย่างที่น่าจะทำให้คุณเห็นภาพมากขึ้น

“ฉันผิดหวังกับผลการทำงานของตัวเองในอดีต และนั่นทำให้ฉันลังเล ซึ่งนี่เป็นความรู้สึกที่ปกติและเข้าใจได้ แต่ตอนนั้นฉันยังเด็ก ไม่เหมือนตอนนี้ มันโอเคนะที่เราจะเรียนรู้ผ่านประสบการณ์” 

ลองค้นหาและใช้ self-talk ที่เวิร์กกับคุณดู 

สาเหตุที่ 3 แบบแผนความคิดบางอย่างมีปัญหา

ถ้าปกติแล้วคุณมีวินัยดี แต่มีบางเรื่องที่ดันมีวินัยได้ยาก เป็นไปได้ว่าคุณอาจมีแบบแผนความคิดบางอย่างที่เป็นปัญหา ตัวอย่างเช่น เมื่อมีคนมาชมว่าชอบงานเขียนชิ้นนี้ คุณอาจชอบสรุปว่างานเขียนชิ้นอื่นของคุณไม่ดี และทำให้เริ่มเขียนงานชิ้นใหม่ได้ยาก ทั้งที่เพิ่งได้รับคำชมมาหมาดๆ

ลองใช้วิธีเหล่านี้เพื่อแก้ปัญหาการติดขัดแบบนี้

  • ลองคิดมุมกลับ (reverse brainstorm)

ลองคิดว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้คุณทำงานนี้ได้ยากและอะไรคือสิ่งที่คุณอยากเลี่ยงมากๆ เมื่อได้คำตอบแล้ว ลองคิดว่าคู่ตรงข้ามของมันคืออะไร ซึ่งสิ่งนี้เองที่จะทำให้คุณรู้สึกติดขัดน้อยลง

ตัวอย่างเช่น คุณอาจรู้สึกว่างานนี้เป็นไปไม่ได้ถ้าคุณจินตนาการไปว่าต้องทำให้มันสมบูรณ์แบบตั้งแต่ครั้งแรก หรือต้องทำมันในแบบเดียวกับเพื่อนร่วมงานที่คุณชื่นชม ด้านตรงข้ามของสิ่งนี้ก็คืองานนี้จะง่ายขึ้นถ้าคุณยอมรับว่าความผิดพลาดหรือไม่สมบูรณ์แบบจะเกิดขึ้น และถ้าคุณทำมันในแบบของคุณ โดยใช้จุดแข็งของคุณเอง

  • ยอมทำงานที่มีแรงเสียดทาน 

เป็นเรื่องปกติที่งานธรรมดาจะทำได้ง่ายกว่าและทำแล้วรู้สึกน่าพอใจมากกว่างานใหม่ที่ยากกว่าแต่อาจมีคุณค่ามากกว่า นั่นทำให้เราชอบเช็กลิสต์งานเล็กๆ ออกจาก to-do list มากกว่าการทำโปรเจกต์ที่สร้างอิมแพคได้มากกว่า อย่าประเมินผิดด้วยการเทียบงานที่ไม่มีแรงเสียดทานกับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

งานใหม่มักจะมีแรงเสียดทาน และโดยธรรมชาติแล้ว มักจะเสร็จช้าและทำให้เกิดความเครียด ซึ่งทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า emotinal reasoning เช่น คุณรู้สึกเครียดหรือถูกท้าทายมากจนอาจสรุปว่าคุณกำลังไปผิดทางหรือทำให้งานคืบหน้าไปได้ไม่มากพอ 

ระลึกไว้เสมอว่าถ้าคุณลงมือทำงานสำคัญและทำอย่างมีกลยุทธ์มากเท่าที่คุณทำได้ คุณจะทำให้งานคืบหน้าได้ แม้ว่าคุณจะไม่รู้สึกอย่างนั้นก็ตาม

  • แบ่งเวลาทำงานเป็นช่วงสั้นๆ

เมื่อต้องทำงานสำคัญหรืองานที่เลื่อนเอาไว้ เรามักเชื่อว่าตัวเองต้องทำงานเหมือนวิ่งมาราธอนเพื่อให้มันเสร็จ แต่การคิดแบบนั้นยิ่งทำให้เราผัดวันประกันพรุ่งมากขึ้น

คุณสามารถลองกลยุทธ์อันใดอันหนึ่งใน 2 อันด้านล่างนี้เพื่อแก้ปัญหา

1.วางแผนทำงานที่คุณหลีกเลี่ยงอยู่วันละ 10 นาที

2.วางแผนทำงานนี้เป็นเวลา 90 นาทีในวันนี้เลย ถ้าคุณทำงานแบบ deep work ในช่วงเวลานี้ ก็มีแนวโน้มว่าคุณจะทำงานจนเกือบเสร็จได้ มันเป็นเป้าหมายที่สมเหตุสมผล 

และทั้งหมดนี้คือสาเหตุและวิธีที่จะช่วยให้คุณผัดวันประกันพรุ่งน้อยลง แม้จะแยกสาเหตุเป็น 3 ข้อ แต่สุดท้ายทุกอย่างก็เชื่อมโยงกัน เพราะฉะนั้น ไม่ว่าอะไรคือสาเหตุหลักที่คุณเกี่ยงไม่อยากทำงาน กลยุทธ์ต่างๆ ในนี้น่าจะช่วยคุณได้ทั้งสิ้น

อีกเรื่องที่สำคัญคือ ถ้าคุณพบว่าการผัดวันประกันพรุ่งนี้มีเรื่องปัญหาสุขภาพใจอย่างโรคซึมเศร้ามาเกี่ยวด้วย คุณไม่ควรต่อสู้กับปัญหานี้โดยลำพัง แต่ควรไปหาความช่วยเหลือและแรงสนับสนุนจากนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ด้วย

อ้างอิง:

https://hbr.org/2022/05/how-to-stop-procrastinating

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้เพื่อการโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า