รู้ใจมาก ดูแลได้มาก! ดูแลคนทำงานแบบรู้ใจทุกเลเวลด้วยการประยุกต์ใช้ Maslow’s Hierarchy of Needs

ในแต่ละออฟฟิศมีพนักงานอยู่หลายแบบ บางคนเพิ่งเข้าทำงาน บางคนอยู่จนระดับสูง และแน่นอนว่าคนทำงานในแต่ละขั้นก็มีความต้องการการดูแลที่ต่างกันไป

วันนี้ TUXSA มีวิธีการดูแลทีมในแต่ละ stage แบบรู้ใจมากๆ โดยอิงกับทฤษฎี Maslow’s Hierarchy of Needs ที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยมาแชร์กัน จะมีอะไรบ้าง มาเรียนรู้ไปพร้อมกันได้เลย!

Maslow’s Hierarchy of Needs

ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ เป็นแนวคิดจากนักจิตวิทยา Abraham Maslow ที่แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้น โดยมนุษย์จะมีแรงกระตุ้นสูงสุดในการเติมเต็มความต้องการด้านล่างสุดก่อน เมื่อสมบูรณ์แล้วจึงขยับสู่ขั้นต่อไป

ดูแลคนทำงานแบบรู้ใจทุกเลเวลด้วยการประยุกต์ใช้ Maslow’s Hierarchy of Needs

1.New Grads เด็กจบใหม่

เหล่าเด็กที่เพิ่งจบใหม่ เพิ่งอยู่ด้วยเงินเองเป็นครั้งแรกซึ่งนับว่าเป็นช่วงเวลาที่ทั้งตื่นเต้นและท้าทาย

วิธีดูแล
ให้ค่าตอบแทนที่ยุติธรรม แล้วคุณจะพบว่าพวกเขาทำงานให้อย่างมี passion สุดๆ นอกจากนี้ อย่าลืมขึ้นเงินเดือนและให้โบนัสเป็นแรงจูงใจด้วย

2.Early Career

คนทำงานมาประมาณ 10 ปี เริ่มก้าวไปสู่อีกขั้นของชีวิตการเป็นผู้ใหญ่ นั่นคือ การลงหลักปักฐาน ซื้อบ้าน และสร้างครอบครัว การเปลี่ยนแปลงนี้อาจดูน่ากลัวไม่น้อย ดังนั้นพวกเขาจึงอยากรู้สึกปลอดภัยในงานที่ทำอยู่

วิธีดูแล
การทำให้รู้ว่าพนักงานคนนี้เป็นที่ยอมรับในองค์กรอย่างต่อเนื่องจะทำให้เขารู้สึกปลอดภัย เช่น การมอบรางวัล การอบรมใหม่ๆ หรือเพิ่ม benefit ให้

3.Mid-Career
ผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานมาเกือบ 20 ปี พนักงานในขั้นนี้รู้ว่าตัวเองมีคุณค่าเพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญ ภูมิใจในความสำเร็จด้านชีวิตและการทำงานของตัวเอง และในตอนนี้ก็เริ่มอยากมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องงาน

วิธีดูแล
คนระดับนี้เป็น middle manager ได้ดี เพราะเขาจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างพนักงานระดับปฏิบัติการและผู้จัดการระดับสูงกว่าได้ดี ด้วยเหตุนี้ เราควรเพิ่มอำนาจให้เขาได้ไปสู่ตำแหน่งนั้น ซึ่งทำให้เขามีอำนาจอย่างที่ต้องการ และขณะเดียวกันองค์กรก็ได้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเขาด้วย

4.Peak Career
คนทำงานในขั้นนี้คือคนที่กำลังอยู่ในจุดสูงสุดของหน้าที่การงาน ผ่านมาแล้วเกือบทุกงานในองค์กร คนเหล่านี้อยากให้หัวหน้ารับรู้ และอยากเป็นคนตัดสินใจ (อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่พนักงานทุกคนที่ทำงานมานานเท่าที่จะอยากไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น บางคนอาจจะพอใจกับตำแหน่งผู้จัดการระดับกลางและไม่อยากรับความกดดันของการเป็นผู้บริหารระดับสูงก็ได้)

วิธีดูแล
คนในขั้นนี้จะทำหน้าที่ผู้นำได้ดี เพราะทั้งมีความสามารถและการเป็นผู้นำก็จะเพิ่มความหลงใหลและแรงจูงใจในการทำงานด้วย เพราะฉะนั้น เราควรให้โอกาสเขาเป็นคนตัดสินใจและนำทีม

5.Pre-Retirement
หลังจากทำงานมาแล้วมากกว่า 30 ปี คนกลุ่มนี้ประสบความสำเร็จมามากมาย และกำลังเตรียมพร้อมที่จะเกษียณ พวกเขาเป็นกลุ่มที่กำลังคิดทบทวนว่าตัวเองจะได้ทิ้งอะไรไว้ข้างหลัง

วิธีดูแล
คนระดับนี้มีความรู้และปัญญาที่เป็นประโยชน์มาก เราควรเปิดโอกาสให้เป็นที่ปรึกษาของพนักงานคนอื่น และให้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการทำ succiession planning เพื่อให้พวกเขารู้ว่าเมื่อเกษียณแล้ว งานของเขาจะได้รับการส่งต่อไว้กับคนที่คู่ควร

ทั้งหมดนี้คือวิธีดูแลคนทำงานแบบรู้ใจทุกเลเวลด้วยการประยุกต์ใช้ Maslow’s Hierarchy of Needs สำหรับใครที่อยากพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำให้เหมาะกับโลกการทำงานยุคใหม่ ลองดูรายละเอียดหลักสูตร M.B.A. (Business Innovation) ของ TUXSA ป.โทออนไลน์โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane ได้ที่นี่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้เพื่อการโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า