รู้สึกแย่เพราะชอบเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น? 5 วิธีเปลี่ยนการเปรียบเทียบมาเป็นการพัฒนาตัวเอง!

การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นอาจทำให้เรารู้สึกแย่ แต่รู้มั้ยว่าเราสามารถเปลี่ยนมันมาเป็นการพัฒนาตัวเองได้

วันนี้ TUXSA มี 5 วิธีเปลี่ยนการเปรียบเทียบมาเป็นการพัฒนาตัวเองมาแชร์กัน จะมีอะไรบ้าง มาเรียนรู้ไปพร้อมกันได้เลย!

5 วิธีเปลี่ยนการเปรียบเทียบมาเป็นการพัฒนาตัวเอง !

1.สังเกตว่าเราอิจฉา “อะไร” เพื่อรู้ว่าเราให้ค่ากับอะไร

เพราะเราจะเจอคนมากมายในชีวิตที่เก่งกว่าเรา ประสบความสำเร็จมากกว่าเรา ที่บางทีก็ทำให้เรารู้สึกเปรียบเทียบกับตัวเองและอิจฉาในความสำเร็จของคนอื่น แต่หากมองอีกด้านการเปรียบเทียบก็มีข้อดีเช่นกัน เพราะมันทำให้คุณรู้ว่าชีวิตคุณให้คุณค่ากับอะไรมากที่สุด คุณสามารถสังเกตความรู้สึกตัวเองได้ว่าถูกกระตุ้นจากคนอื่นตอนไหน หรืออะไรที่ทำให้คุณรู้สึกอิจฉาในความสำเร็จของคนอื่น โดยลองถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้ดู

  • พวกเขามีอะไรที่ทำให้เรารู้สึกแย่?
  • อะไรที่จะทำให้เรารู้สึกเติมเต็มขึ้นมาบ้าง?
  • เราต้องการสิ่งที่พวกเขามีอยู่จริงหรือเปล่า?
  • ถ้าใช่, สิ่งนั้นมีมูลค่าเท่าไหร่และมันคุ้มค่าไหมที่เราจะพยายามได้มันมา?

ยิ่งคุณตอบคำถามเหล่านี้กับตัวเองได้ชัดเจนเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งรู้จักตัวเองและเปลี่ยนความอิจฉาให้กลายเป็นนิสัยเชิงบวกได้ดีขึ้นมากเท่านั้น

2.อย่าให้ความอิจฉากลายเป็นความรู้สึกด้านลบ

ข้อแตกต่างระหว่างความอิจฉากับริษยาคือ ความอิจฉาทำให้เรารู้สึกไม่พอใจกับตัวเองที่คนอื่นดีกว่าเรา แต่ความริษยาคือการที่เราไม่อยากให้คนอื่นได้ดีไปกว่าเรา ซึ่งเป็นสองสิ่งที่ต่างกันมาก ยกตัวอย่าง หากเพื่อนเรามีบ้านหลังใหญ่ แล้วเรารู้สึกแย่ที่เพื่อนมีบ้านหลังใหญ่ที่เราไม่มี สิ่งนี้คือความริษยาที่จะทำให้เรารู้สึกแย่กับตัวเองและไม่มีความสุขกับความสำเร็จของคนอื่น

แต่ถ้าเรายอมรับได้แล้วยังยินดีในความสำเร็จของเพื่อน และหวังว่าวันหนึ่งเราก็คงจะมีบ้านหลังใหญ่เหมือนเพื่อน เราอาจรู้สึกอิจฉาเพื่อนแต่ไม่ได้ต้องการให้เพื่อนไม่มีความสุข สิ่งนี้จะกลายเป็นแรงผลักดันให้เรา เพราะฉะนั้นหากรู้สึกเกิดความอิจฉาขึ้นเมื่อไหร่ ให้ลองบอกตัวเองตามนี้ดู

  • เราจะเรียนรู้จากความสำเร็จของเพื่อนและขอคำแนะนำจากเพื่อนให้มากขึ้น
  • เรายังไม่ได้ลองทำในสิ่งที่พวกเขาทำ
  • ทุกคนต่างมีหนทางสู่ความสำเร็จไม่เหมือนกัน เราเองก็เช่นกัน
  • ถ้าคนที่เราชอบหยุดทำในสิ่งที่พวกเขาทำอยู่ เราคงจะไม่ได้เห็นและชื่นชมความสำเร็จอันน่าทึ่งของพวกเขา

3.ลองเปรียบเทียบกับกลุ่มคนใหญ่ขึ้น เพื่อรู้สึกแย่น้อยลง

ในงานวิจัยหนึ่งที่ให้ผู้ทดลองทดสอบสมรรถภาพในการวิ่งของตัวเอง พบว่าคนส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเปรียบเทียบตัวเองกับนักวิ่งที่ดีที่สุดที่นึกออก และจะคิดว่าตัวเองยังไม่เก่งพอ แต่เมื่อนักวิจัยให้ผู้ทดลองระบุรายชื่อนักวิ่งมา 10 อันดับที่พวกเขานึกออก ผลลัพธ์คือผู้ทดลองส่วนใหญ่รู้สึกดีมากขึ้นเมื่อพวกเขานึกถึงรายชื่อนักวิ่งอันดับ 7 หรือ 8 เพราะเมื่อได้เปรียบเทียบกับนักวิ่งในอันดับนี้ทำให้พวกเขารู้สึกใกล้ชิดและดูมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้ได้อย่างนักวิ่งเหล่านี้ 

การเปรียบเทียบตัวเองกับกลุ่มที่กว้างขึ้นทำให้ช่องว่างของความเป็นไปได้ระหว่างพวกเขากับสิ่งที่คิดว่า “ดี” ลดน้อยลงไป เพราะฉะนั้นหากคุณเกิดความรู้สึกเปรียบเทียบกับคนอื่นแล้วรู้สึกแย่เมื่อไหร่ ลองเปลี่ยนคำถามจาก “ทำไมเราถึงทำไม่ได้แบบเขา” เป็น “เราทำเต็มที่พอหรือยัง” และหากเรายังทำไม่ได้ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณค่าของเราจะลดลง เราแค่ต้องพยายามให้มากขึ้น อย่างน้อยก็ให้ใกล้เคียงกับกลุ่มคนที่เราคิดว่าดีในระยะที่เอื้อมถึงได้ก่อนก็เพียงพอแล้ว

4.เปรียบเทียบในสิ่งที่สำคัญ

หากคุณพบว่าเพื่อนของคุณได้เลื่อนขั้น แถมยังจะได้เป็นหัวหน้าคุมทีมกว่า 200 คนในองค์กรใหญ่  ความคิดแรกของคุณอาจคิดว่าเพื่อนประสบความสำเร็จมากกว่าคุณ และคุณอาจรู้สึกอิจฉาที่ตัวเองยังไม่สามารถทำได้เหมือนเพื่อน แต่ให้ลองถามตัวเองดูก่อนว่า “ความรู้สึกอิจฉาในตอนนี้หมายถึงการที่เราต้องเปลี่ยนอาชีพและแผนชีวิตของเราหรือเปล่า?” และ “เป้าหมายและความต้องการที่แท้จริงของเรายังคงเป็นสิ่งเดิมอยู่ไหม?” 

เพราะความสำเร็จของคุณไม่จำเป็นต้องเหมือนของใคร ครั้งหน้าให้ลองถามตัวเองว่าคุณต้องการประสบความสำเร็จในแบบของตัวเองหรือแบบของคนอื่นด้วยคำถามเหล่านี้ดู

  • เราอยากใช้ชีวิตแบบไหน?
  • มีความต้องการที่เฉพาะอะไรบ้างที่เราต้องพิชิตให้ได้?
  • อะไรบ้างที่เราไม่ต้องการให้เกิดขึ้นในชีวิต?
  • ประสบการณ์อะไรที่น่าจะทำให้คนอื่นหรือเพื่อนเราประสบความสำเร็จ?
  • ความรู้สึกเปรียบเทียบนี้มาจากอะไร? จินตนาการของเรา หรือความคาดหวังของคนอื่นที่อยากให้เราเป็นในเวอร์ชั่นที่ดีกว่า?
  • เราต้องการละทิ้งสิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้เพื่อเป็นให้ได้อย่างคนอื่นๆ หรือเปล่า?

5.เปรียบเทียบตัวเองในอดีตกับปัจจุบัน

คำแนะนำที่ดีที่สุดในการเปรียบเทียบคือ การเปรียบเทียบตัวเองในอดีตกับปัจจุบัน เพราะมันเป็นการเปรียบเทียบที่ปราศจากความอิจฉาใดๆ แต่เป็นการเปรียบเทียบตัวเองเพื่อทบทวนความสำเร็จของเราเอง และเพื่อพัฒนาทักษะให้เก่งมากขึ้นกว่าเดิม หากเราทำได้ดีขึ้นเก่งขึ้น เราจะยิ่งภูิมใจในตัวเองมากขึ้น ลองถามตัวเองเพื่อทบทวนความสำเร็จของตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้ดู

  • เราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากความสำเร็จในครั้งนั้น?
  • อะไรที่ยากและท้าทายที่สุดฦ และเราผ่านสิ่งนั้นมาได้อย่างไร?
  • เราพัฒนาและเก่งขึ้นกว่าเดิมมากแค่ไหน?

การเปรียบเทียบกับคนอื่นดูเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเทคนิคเหล่านี้ก็อาจเป็นเทคนิคที่ช่วยคุณได้แค่ยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ใต้ภูเขาน้ำแข็งนี้ลงไปยังมีอีกหลายสถานการณ์ที่คุณต้องเผชิญกับการเปรียบเทียบ ไม่ว่าจะเป็น ชีวิตที่เพอร์เฟกต์ของเพื่อนเราใน Social Media หรือคนเก่งมากความสามารถในที่ทำงานและอื่นๆ แต่สิ่งที่คุณทำได้คือการหาสมดุลระหว่างการเปรียบเทียบนั้น อาจเป็นคนที่เก่งกว่าคุณและคนที่เก่งน้อยกว่าคุณ เก็บมันมาทบทวนตัวเองเพื่อเป็นแรงผลักดัน พัฒนาตัวเองให้เป็นคุณในเวอร์ชั่นที่ดีกว่า

อ้างอิง: ideas.ted.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้เพื่อการโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า