“รู้กว้าง” หรือ “รู้ลึก” รู้แบบไหนดีกว่ากัน ?

เราเชื่อว่า คำถามประเภทที่ว่าคนที่รอบรู้ ทำอะไรได้อย่างกว้างขวางกับคนที่เป็นเซียนเฉพาะด้านหรือมีความเชี่ยวชาญพิเศษ คนประเภทไหนมีโอกาสก้าวหน้าหรือมีข้อได้เปรียบในด้านการทำงานมากกว่ากัน ? เป็นคำถามที่จะทำให้เกิดข้อถกเถียงอยู่เสมอ ขึ้นอยู่กับยุคสมัยและเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะไม่ว่าจะรู้กว้างแบบเป็ด (Generalist) หรือรู้ลึกเฉพาะทาง (Specialist) ต่างก็เป็นที่ต้องการของทุกองค์กรทั้งนั้น และแต่ละประเภทก็มีจุดแข็งกันคนละแบบ แตกต่างกันไปตามสาขาอาชีพ 

เพราะฉะนั้น สำหรับคนที่กำลังสับสนหรือถามตัวเองอยู่ว่า ควรจะพัฒนาทักษะตัวเองเพิ่มเพื่อรู้อะไรหลากหลายและทำงานได้หลายอย่าง เพราะอาจเป็นที่ต้องการของธุรกิจยุคใหม่ หรือควรจะลงลึกศึกษาเฉพาะทางไปเลย เพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญที่รู้จริงชนิดที่องค์กรจะขาดคนอย่างเราไปไม่ได้ ก่อนอื่นให้ถามตัวเองก่อนว่าเราชอบอะไร รู้จักความต้องการของตัวเองก่อนจะถามถึงความต้องการที่โลกต้องการจากเรา การทำเช่นนี้จะช่วยทำให้เรามุ่งไปยังจุดหมายที่ชัดเจน และเป็นผลดีต่อองค์กรและต่อความสุขของตัวเองด้วย 

และเพื่อให้รู้จักและเข้าใจตัวเองให้ลึกซึ้งขึ้น มาลองดูจุดแข็ง – จุดอ่อนของการเป็นคนแบบรู้กว้างและรู้ลึกกัน!

จุดแข็ง – จุดอ่อนของคนประเภทรู้กว้าง (Generalist) 

จุดแข็งของคนแบบนี้คือ สามารถในการมองเห็นภาพรวมของการทำงานทั้งระบบได้ดี เพราะตัวเองมีความสนใจที่หลากหลาย เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในองค์กร Generalist สามารถแก้ปัญหาหรือเจรจาเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่ายได้ 

อีกหนึ่งจุดแข็งคือ คนประเภทนี้ยืดหยุ่นในการทำงาน สามารถย้ายและเปลี่ยนสายงานได้อย่างคล่องแคล่วเพราะมีความรู้ความสามารถที่กว้างขวาง คนรู้กว้างไม่มีปัญหากับการเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ อีกทั้งมักไม่ค่อยเจอปัญหาหมดไฟในการทำงาน เพราะพวกเขาจะไม่ปล่อยให้ตัวเองเบื่อหรือจมจ่อมอยู่กับสิ่งที่ไม่สนใจนานเกินไป

อย่างไรก็ตาม คนรู้กว้างก็มีจุดอ่อนเช่นกัน นั่นคือการรู้กว้างอย่างเดียวอาจทำให้ขาดความมั่นคงในหน้าที่การงาน เพราะหากเปรียบเทียบการหาคนเข้ามาทำงานระหว่าง Generalist กับ Specialist แนวโน้มในการหาคนเข้ามาแทนที่ Generalist มักเกิดขึ้นได้ง่ายกว่า เพราะความเชี่ยวชาญหรือทักษะพิเศษนั้นต้องอาศัยเวลาและการลงทุนลงแรงมายาวนานกว่า 

อีกเรื่องคือ Generalist อาจมีปัญหาเรื่องภาวะเครียดจากการทำงานได้ง่ายกว่าเนื่องจากต้องจัดการงานที่หลากหลาย จนบางครั้งอาจเกิดภาวะเหนื่อยล้าจากการทำงานได้

จุดแข็ง – จุดอ่อนของคนประเภทรู้ลึก (Specialist) 

จุดแข็งหรือข้อดีของ Specialist คือการมีคู่แข่งที่น้อยกว่า เพราะปริมาณคนในตลาดแรงงานที่มีความสามารถหรือทักษะเฉพาะทางย่อมมีน้อยกว่าคนทั่วไป และหายากที่คนทั่วไปจะรู้ว่าตัวเองชอบอะไรและจะไปให้สุดในเส้นทางนั้นจนกลายเป็น Specialist นี่จึงเป็นข้อดีในด้านของการเรียกเงินเดือนอีกด้วย ยิ่งความสามารถหรือทักษะนั้นเฉพาะทางมากเท่าไหร่ ก็เป็นที่ต้องการขององค์กรมากเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจาก Generalist ตรงที่ความรู้ความสามารถหลากหลายรอบด้านมากขึ้นเรื่อยๆ แต่จำนวนของ Generalist ก็มากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน

ถึงอย่างนั้น Specialist ก็มีจุดอ่อนตรงที่ทักษะและความสามารถที่มีอยู่อาจกลายเป็นสิ่งล้าสมัยในวันข้างหน้าได้ เพราะโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ พัฒนาอยู่เสมอ ในอนาคต ทักษะที่ต้องอาศัย Specialist ก็อาจถูกแทนที่ด้วย AI หรือเทคโนโลยีอัจฉริยะที่สามารถทำงานได้ผลลัพธ์ดีเช่นกัน และวันนั้น Specialist อาจไม่เป็นที่ต้องการ

“รู้ลึก” หรือ “รู้กว้าง” ใครคือผู้ชนะ ?

ที่จริงแล้ว อาจไม่มีคำตอบถูกต้องที่สุด เพราะในวันหนึ่ง Generalist ก็เป็น Specialist ได้ หากเจอความสามารถที่ตัวเองถนัดที่สุด ชอบที่สุด และพัฒนาทักษะด้านนั้นให้เก่ง ในขณะเดียวกันก็ยังคงเรียนรู้ในเรื่องอื่นที่ตัวเองสนใจไปด้วยพร้อมกัน 

ในขณะเดียวกัน Specialist เองก็สามารถพัฒนาทักษะที่ตัวเองเก่งอยู่แล้ว พร้อมกับที่ไปศึกษาทักษะใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยให้เข้าใจในเนื้องานที่ถนัดได้มากขึ้น เพื่อจะได้ไม่ต้องรู้และเก่งแค่เรื่องเดียว แต่จะเป็นรู้ได้อย่างครอบคลุม และสามารถนำความรู้ของศาสตร์อื่นๆ มาอธิบายในเรื่องที่ตัวเองเชี่ยวชาญต่อได้อย่างสมบูรณ์ลึกซึ้งขึ้น 

เพราะฉะนั้นหากถามว่าใครคือผู้ชนะ ? อาจตอบได้ว่าชนะทั้งคู่หรือไม่ก็ไม่มีผู้ชนะเลย เพราะผู้ชนะที่แท้จริงไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่พวกเขาจะมีสกิลหนึ่งที่สำคัญที่สุดคือ “การเป็นน้ำครึ่งแก้ว” (หรือบางครั้งก็อาจเทน้ำให้หมดแก้วเลยก็ได้) เพื่อที่จะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เสมอ เพราะในความเป็นจริง สิ่งที่เรารู้นั้นมีน้อยนิดหากเทียบกับสิ่งที่เราไม่รู้เลย 

รู้ลึกและรู้กว้างไปพร้อมกันด้วย Y-Skills 

เราสามารถเป็นทั้งคนที่รู้ลึกและรู้กว้างไปพร้อมกันได้ โดยไม่ต้องกำหนดกรอบหรือนิยามตัวเองว่าเป็นคนประเภทใดประเภทหนึ่ง แค่อาจมีแนวโน้มเป็นประเภทไหนได้มากกว่ากันเท่านั้นเอง ซึ่งมีทักษะสำคัญที่ช่วยให้เราเป็นคนทั้ง 2 ประเภทไปพร้อมกันได้ นั่นคือ Y – Skills ซึ่งประกอบไปด้วย 3Y คือ

Y1 คือกรอบคิดแบบ Y Shape หางของ Y หมายถึงการรู้ลึก รู้จริง ส่วนหัวของ Y คือ “wide” หมายถึงการรู้กว้าง ซึ่งไม่ใช่แค่การรู้เพียงไม่กี่อย่างเท่านั้น แต่เชื่อมโยงและบูรณาการความรู้นั้นเข้าด้วยกันจนลึกซึ้งในเรื่องนั้นๆ ได้

Y2 คือ “Why” ที่มาจากการเริ่มต้นตั้งคำถามว่า “ทำไม” Start with Why? ก่อนเสมอ เพราะนั่นคือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ในทุกเรื่อง

Y3 คือการ Think “Widely” หมายถึงการมีความคิดนอกกรอบ โดยใช้เครื่องมือฮิตอย่าง Design Thinking หรือกระบวนการเชิงออกแบบในการทำงานและแก้ปัญหา เพื่อให้มองภาพมุมกว้างและต่อยอดกับทักษะที่มีอยู่ได้มากขึ้น

สรุป

สุดท้ายแล้ว นอกจากไม่มีคำตอบฟันธงว่าความรู้ประเภทไหนดีกว่ากัน ในความเป็นจริง โลกของเราก็อาจขาดคนประเภทใดประเภทหนึ่งไปไม่ได้เลย บางองค์กรต้องการคนรอบรู้กว้างขวางอย่างเช่น องค์กรขนาดเล็กหรือ Start-Up ที่ต้องการคนทำงานว่องไว ประสานงานเก่ง และเข้าใจมุมมองการทำงานที่หลากหลาย หรือบางองค์กรอาจเป็นองค์กรขนาดใหญ่หรือเฉพาะทางที่ต้องการคนรู้ลึกรู้จริงเข้าใจในเนื้องานของตนเอง และแก้ปัญหาให้องค์กรได้อย่างตรงจุด

อ้างอิง :

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้เพื่อการโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save