ไม่ลาออกแต่ไม่ทุ่มสุดตัวแล้ว! รู้จัก Quiet Quitting และวิธีรับมือสถานการณ์นี้

เมื่อพูดถึงการทำงานยุคนี้ เรื่องหนึ่งที่กำลังฮิตคือ Quiet Quitting หรือการที่พนักงานในองค์กรไม่ได้ลาออก แต่เลือกทำงานแค่ตาม job description ของตัวเอง ไม่มากหรือน้อยกว่านั้น

Quiet Quitting มีรายละเอียดอย่างไร? และเราควรรับมือมันแบบไหน? ลองมาเรียนรู้ไปด้วยกัน

Quiet Quitting คืออะไร

Quiet Quitting คือการที่พนักงานคนหนึ่งไม่ได้ลาออก แต่เลือกจำกัดภาระงานของตัวเองไว้แค่ตาม job description หรือทำงานตามขั้นต่ำและไม่ผูกพันกับองค์กรมาก เรียกได้ว่าขีดเส้นแยกตัวเองออกจากงานอย่างชัดเจน

ทำไมพนักงานถึงเลือก Quiet Quitting

อะไรทำให้พนักงานคนหนึ่งเลือกที่จะมาทำงานเฉพาะของตัวเองแล้วกลับบ้านเพื่อรักษาบาลานซ์ เรารวบรวมสาเหตุหลักๆ มาได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการ Burn Out

พนักงานอาจเลือกที่จะลาออกอย่างเงียบๆ เพื่อทำให้ชีวิตกลับมามี work-life balance ป้องกันการ burnout จากงานที่ทำอยู่

  • มีความเชื่อมั่นในองค์กรต่ำ

พนักงานอาจเลือกทางนี้เพราะไม่ค่อยเชื่อมั่นในองค์กร เช่น องค์กรอาจไม่มีพันธกิจชัดเจน ปฏิบัติต่อพนักงานไม่ดี หรือไม่สนใจความก้าวหน้าทางการงานของคนทำงาน

  • ผูกพันกับองค์กรน้อยลง เพราะ work from home แล้วไม่ค่อยได้เจอกัน

การ work from home ทำให้พนักงานและหัวหน้าสื่อสารกันแบบทางการ เช่น คุยกันตอนประชุม zoom มากกว่าพูดคุยเล่นกันแบบที่มักเกิดขึ้นในออฟฟิศ ส่งผลให้พนักงานผูกพันกับองค์กรน้อยลง  

  • กำลังมองหางานใหม่

พนักงานอาจเลือก quiet quitting เพราะกำลังหางานใหม่ที่ดีกว่าอยู่ ซึ่งอาจเป็นเพราะองค์กรจ่ายค่าตอบแทนไม่ดี งานหนัก หรือไม่มีโอกาสก้าวหน้านั่นเอง

วิธีรับมือ Quiet Quitting

ถ้าคุณพบว่าคนในทีมมีอาการเข้าข่าย Quiet Quitting คุณสามารถช่วยดูแลพวกเขาได้ด้วยวิธีด้านล่างนี้ 

  • ไม่สั่งงานวันหยุด

ไม่ว่าคุณจะอยากทำงานล่วงหน้าหรือนึกงานที่ต้องทำได้พอดีเลยสั่งงานคนในทีมไปในวันหยุด การทำแบบนี้อาจทำให้คนทำงานที่ได้แมสเสจ line หรือ slack เครียดได้ ทางที่ดีให้รอถึงวันจันทร์ค่อยคุยทีเดียวดีกว่า

  • ประชุมให้น้อยลง

ก่อนเรียกทุกคนมาประชุม ทบทวนก่อนว่าการประชุมนั้นจำเป็นจริงๆ มั้ยหรือแค่เป็นการอัพเดตงาน และไม่ควรให้มันยาวเกิน 30 นาที

  • ลดกิจกรรมบริษัทที่พนักงานต้องเข้าร่วม

ไม่ว่ากิจกรรมจะสนุกขนาดไหน อย่าลืมว่าพนักงานหลายคนอาจต้องการทำกิจกรรมนั้นแบบเลือกเวลาได้เอง กับ

เพื่อนของเขาเอง เพราะฉะนั้น ควรจำกัดกิจกรรมบริษัทอย่าให้เยอะเกินไป

  • ตั้งเป้าหมายการทำงานบนความสำเร็จและคุณภาพ ไม่ใช่ชั่วโมงทำงาน

การ work from home อาจทำให้คุณไม่รู้ว่าพนักงานทำงานอยู่เต็มเวลาหรือเปล่า แต่ที่จริงสิ่งนั้นอาจไม่สำคัญ ให้คุณเลือกโฟกัสที่ความสำเร็จและคุณภาพของงานดีกว่า

  • ชมคนในทีมบ้าง

การชื่นชมคนในทีมช่วยให้คนทำงานรู้ว่าคุณเห็นคุณค่าในตัวเขาและงานที่เขาทำ ที่สำคัญ การชมคนอื่นเป็นสิ่งที่ทำได้เลยแบบไม่เสียเงินแม้แต่บาทเดียว 

  • เพิ่มเงินเดือนและโบนัสเมื่อทำงานได้ดี

ให้กำลังใจผ่านคำพูดแล้ว ลองให้กำลังใจเป็นตัวเงินด้วยการขึ้นเงินเดือนและให้โบนัสง่ายขึ้นและบ่อยขึ้นดูบ้าง

  • ถ้าไม่เวิร์กจริงๆ ก็แยกย้ายกันเถอะ

ท้ายที่สุด ถ้าพนักงานไม่มีความสุขหรือทำงานได้ไม่ดีจริงๆ (โดยเฉพาะคนที่ส่งพลังลบและทำให้ทีมไม่สามัคคีกัน) มันอาจถึงเวลาที่คุณจะให้เขา quit แบบของจริงแล้ว 

Quiet Quitting เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในองค์กรยุคนี้ได้เสมอ สิ่งสำคัญคือ การป้องกันและดูแลให้เหมาะสมเพื่อรักษาคนทำงานให้อยู่กับองค์กรแบบเต็มอกเต็มใจได้นานๆ

สำหรับใครที่สนใจวิธีบริหารดูแลองค์ยุคใหม่ มาเรียนรู้กับหลักสูตร M.B.A. (Business Innovation) ของ TUXSA ได้ที่นี่

อ้างอิง: 

fastcompany.com

forbes.com 

techtarget.com

SHARE

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้เพื่อการโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save