การเลือกจัดการงานกองโตด้วยการทำไม่หยุดทั้งวันทั้งคืนอาจนำไปสู่การ burnout เพื่อชีวิตที่ดีกว่า เราอยากให้คุณลองบริหาร “พลังงานชีวิต” เพื่อทำงานได้ productive กว่าเดิม
ลองมาเรียนรู้วิธีบริหารพลังงานทั้ง 4 ด้านของเรากัน!
วิธีบริหาร “พลังงานชีวิต” 4 ด้าน เพื่อทำงานได้ productive กว่าเดิม
1.ด้านร่างกาย
การดูแลร่างกายจะช่วยเพิ่มพลังชีวิตพื้นฐานของเรา รวมถึงความสามารถในการควบคุมอารมณ์และโฟกัส
ด้านล่างนี้คือตัวอย่างวิธีบริหารพลังงานในส่วนร่างกาย ที่อาจพูดอีกอย่างได้ว่าเป็นสิ่งพื้นฐานที่ทั้งโรงเรียนและผู้ที่ประสบความสำเร็จมักบอกให้เราทำ
- ออกกำลัง
- นอนให้พอ
- กินให้ดี
- หยุดพักระหว่างวัน
2.ด้านอารมณ์
เมื่อเราสามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ เราก็จะสามารถมีพลังชีวิตที่มีคุณภาพกว่าเดิม ไม่ว่าแรงกดดันภายนอกจะมากขนาดไหนก็ตาม
ด้านล่างนี้คือตัวอย่างการบริหารพลังงานด้านจิตใจ
- หายใจลึกๆ เมื่อเจอเรื่องเครียด
- ชื่นชมคนอื่น
- เปลี่ยนวิธีมองโลก
-มองมุมกลับ: อีกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นี้จะมองเรื่องนี้ยังไง
-มองระยะยาว: อีก 6 เดือน เราจะมองเรื่องนี้แบบไหน
-มองมุมกว้าง: เราจะเติบโตและเรียนรู้จากเรื่องนี้ได้ยังไง
3.ด้านจิตใจ
การหันไปหาสิ่งดึงดูดใจนั้นมีราคาแพง การทำงานทีละอย่างแบบโฟกัสจะทำให้คุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ด้านล่างนี้คือตัวอย่างวิธีที่ทำให้คุณโฟกัสได้ดีกว่าเดิม
- ทำงานที่ต้องโฟกัสในที่ไม่มีสิ่งรบกวน
- ปิดโทรศัพท์ระหว่างประชุม
- เช็กอีเมลแค่วันละ 2 ครั้ง ถ้าใครมีเรื่องด่วนให้โทรมา
- ทบทวนก่อนนอนว่างานสำคัญที่สุดพรุ่งนี้คืออะไร แล้วทำงานนั้นเป็นงานแรก
4.ด้านจิตวิญญาน
เราจะเข้าถึงพลังด้านจิตวิญญานเมื่อทำงานที่สอดคล้องกับสิ่งที่เราให้ค่ามากที่สุดและเป็นสิ่งที่ให้ความหมายและจุดมุ่งหมายกับเรา ซึ่งถ้างานที่เราทำนั้นเป็นงานที่เรารู้สึกว่าสำคัญจริงๆ เรามักจะรู้สึกถึงพลังงานบวกมากกว่า โฟกัสได้ดีกว่า และมีความเพียรพยายามมากกว่า
ด้านล่างนี้คือตัวอย่างการบริหารพลังงานด้านจิตวิญญาน
- ถามตัวเองว่าอะไรคือสิ่งสำคัญของชีวิต
- หาเวลาทำงานที่ชอบและทำได้ดี
- ให้เวลากับสิ่งสำคัญที่สุดของชีวิต เช่น ครอบครัว
- ใช้ชีวิตให้ตรงกับคุณค่าที่ตัวเองยึดถือ
ทั้งหมดนี้คือวิธีบริหาร “พลังงานชีวิต” 4 ด้านเพื่อทำงานได้ productive กว่าเดิม และสำหรับใครที่อยากพัฒนาตัวเองเพื่อทำงานได้ดีในโลกยุคใหม่ ลองดูรายละเอียด TUXSA ป.โทออนไลน์โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane ได้ที่นี่
อ้างอิง: hbr.org