ระหว่างที่หัวหน้าอาจกลัวว่า การทำงานทางไกลอาจทำให้พนักงานไม่ค่อยมีสมาธิ เช่น อาจมีการแวบไปดูเน็ตฟลิกซ์หรือไถเฟซบุ๊กก็ได้ แต่ที่จริงแล้ว สิ่งที่รบกวนพนักงานอาจเป็นพฤติกรรมของหัวหน้าเอง เช่น นัดประชุมแบบไม่มี agenda ให้เตรียมตัว
วันนี้ TUXSA เลยหยิบ 4 วิธีช่วยเพิ่มสมาธิให้ลูกน้องมาแชร์กัน จะมีวิธีอะไรบ้าง มาเรียนรู้ไปพร้อมกันได้เลย
4 วิธีช่วยเพิ่มสมาธิให้ลูกน้อง
1.เปิดโอกาสให้พนักงานพูดถึงสิ่งที่รบกวนสมาธิ
ปัญหาใหญ่เรื่องการถูกรบกวนสมาธิในที่ทำงานคือ เราพูดถึงเรื่องนี้ไม่ได้ การถาม feedback จากพนักงานอาจไม่ได้ผลถ้าพวกเขากลัวว่าอาจถูกทำโทษ ทางที่ดีคือ หัวหน้าควรสร้างความปลอดภัยทางใจให้คนในทีม ด้วยการทำให้พวกเขารู้ว่าการ feedback สิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลนั้นจะไม่ถูกลงโทษอะไรแน่นอน
2.ลองทำงานให้สอดคล้องกับตารางของพนักงาน
หัวหน้าหลายคนไม่รู้ว่าลูกน้องใช้เวลาไปกับอะไร แบบไหนบ้าง นั่นทำให้เมื่อลูกน้องใช้เวลาทำงานให้เสร็จนานกว่าปกติ พวกเขาก็อาจจะสงสัยว่าลูกน้องไม่มีความสามารถหรือไม่มีแรงจูงใจมากพอ
การลองทำตารางงานของเราให้สอดคล้องกับคนในทีมจะช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของลูกน้องมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ขอให้พวกเขาแชร์ปฏิทินการทำงานมาให้ และการให้ทีมช่วยกันกำหนดช่วงเวลาที่เป็นช่วง distraction free ในแต่ละวัน โดยเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีการต้องติดต่อสื่อสาร ตั้งแต่ส่งข้อความจนถึงนัดประชุม
3.อย่านัดประชุมโดยไม่มี agenda
การร่วมกันทำงานนั้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างทรงพลัง แต่เราไม่ควรใช้การประชุมเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้เราหนีจากงานใช้ความคิด การประชุมโดยมี agenda นั้นจะช่วยให้ทุกคนทำได้ตามเป้าหมายและลดทอนการประชุมที่ไม่จำเป็น เพราะคนจัดจะต้องใช้ความพยายามเพิ่มขึ้นอีกนิด ไม่ใช่อยากนัดก็นัดเลย
4.ทำงานอย่างมีสมาธิให้ดูเป็นตัวอย่าง
วัฒนธรรมองค์กรก็เหมือนน้ำที่ไหลจากที่สูงลงมา เป็นเรื่องปกติที่ลูกน้องจะดูหัวหน้าเป็นตัวอย่าง ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่สามารถขอให้ลูกน้องทำงานอย่างมีสมาธิได้ ถ้าเรายังคงดูโทรศัพท์ระหว่างประชุมหรือส่งอีเมลตอนเที่ยงคืน และเพราะอย่างนั้น สิ่งที่เราควรทำก็คือกันเวลาเพื่อทำงานอย่างมีสมาธิ บอกให้คนอื่นรู้ว่าคุณ available ตอนไหน และไม่รบกวนระหว่างที่คนอื่นกำลังโฟกัสหรือหลังเลิกงาน
ทั้งหมดนี้คือ 4 วิธีช่วยเพิ่มสมาธิให้ลูกน้องของเรา และสำหรับใครที่อยากพัฒนาตัวเองให้เป็นหัวหน้าที่เหมาะกับโลกยุคใหม่ ลองดูรายละเอียด TUXSA ป.โทออนไลน์โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane ได้ที่นี่
อ้างอิง: hbr.org