ได้ยินคำว่า growth mindset จนคุ้นหู แต่ทำยังเราถึงจะมี mindset แบบนี้ได้จริงๆ?
วันนี้ TUXSA มี 5 กลยุทธ์เปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนมี growth mindset มาแชร์กัน จะมีอะไรบ้าง มาเรียนรู้ไปพร้อมกันได้เลย!
เข้าใจความต่างระหว่าง Fixed mindset และ Growth mindset
คนที่มีความคิดแบบ Fixed mindset มักจะถูกจำกัดความสามารถจากความคิดความเชื่อของตัวเอง พวกเขามักเชื่อว่าคนที่ประสบความสำเร็จได้เป็นเพราะมีพรสวรรค์ติดตัวมา และแต่ละคนจะมีความสามารถที่แตกต่างกันไป ความเก่งและความฉลาดไม่ได้เกิดมาจากความพยายาม นั่นจึงทำคนที่คิดแบบ Growth Mindset มักจะไม่ค่อยมั่นใจในตัวเอง และพวกเขายังอาจมีนิสัยเหล่านี้ได้อีกด้วย :
- ไม่ค่อยเผชิญหน้ากับความท้าทาย ยอมแพ้ง่าย
- รู้สึกแย่และหวาดกลัวกับความสำเร็จของคนอื่น
- ไม่สนใจคำวิจารณ์เชิงลบแม้อาจเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง
- ไม่กล้าริเริ่มทำสิ่งใหม่เพราะกลัวความล้มเหลว
- หากเป็นผู้นำก็มีความเป็นไปได้ที่จะนำด้วยการโกงหรือโกหก
ในขณะที่คนที่มีความคิดแบบ Growth mindset นั้นไม่ได้ถูกจำกัดความสามารถจากอะไรเลย พวกเขามองหาความเป็นไปได้ใหม่และอิสระจากความคิดสร้างสรรค์ พวกเขาเข้าใจดีว่าแต่ละคนเกิดมาพร้อมความสามารถที่แตกต่าง แต่ก็มีบางอย่างที่สามารถพัฒนาได้ผ่านการพยายาม คนที่คิดแบบ Growth mindset ชอบที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา และมองหาแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาตัวเอง อยู่เสมอ อุปสรรคและความยากลำบากสำหรับพวกเขาแล้วคือบันไดของการเติบโตและเก่งขึ้น เราอาจพบว่าพวกเขามักมีนิสัยเช่นนี้ :
- จดจ่อและพยายามที่จะแก้ปัญหาให้ได้ด้วยตัวเอง
- สนุกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และไม่กลัวความท้าทาย
- อดทนต่อความล้มเหลวและความพ่ายแพ้
- ยอมรับว่าคำตำหนิและคำวิจารณ์ทำให้ได้เรียนรู้
- หากเป็นผู้นำก็มักจะนำคนด้วยการร่วมมือกันและความคิดสร้างสรรค์
อยากเปลี่ยนตัวเองให้มี Growth Mindset? ลองทำตาม 5 กลยุทธ์นี้!
1.เล่าเรื่องที่ต่างจากเดิมให้ตัวเองฟัง
เมื่อเจอปัญหาหรือเรื่องท้าทายที่ยาก เราเลือกที่จะบอกตัวเองอย่างไร? ถ้าเรามักบอกตัวเองว่าทำไม่ได้ แน่นอนว่าเราอาจทำไม่ได้จริงๆ แต่หากบอกตัวเองใหม่ว่า “ฉันทำได้” มันเป็นการบอกตัวเองว่าเราเชื่อแบบนั้นและมันจะส่งผลให้การกระทำของเราทำให้สิ่งนั้นเป็นไปได้
ลองเปลี่ยนคำพูด ปรับเรื่องราวที่เราบอกตัวเองใหม่ จากเดิมที่เคยบอกตัวเองว่า :
“ฉันไม่เก่งเรื่องนี้, ฉันทำไม่ได้, ฉันไม่มีความสามารถที่จะเรียนรู้, ฉันขอทำสิ่งที่ฉันถนัดดีกว่า, ฉันยอมแพ้เพราะมันยากเกินไป, ฉันมีความสามารถที่จำกัด, …”
ให้เปลี่ยนใหม่ และบอกตัวเองใหม่ว่า :
“ ฉันสามารถทำได้ดีกว่านี้, ฉันอยากลองทำใหม่และจะไม่ยอมแพ้, ฉันอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ, ฉันเชื่อมั่นในตัวเอง, มันโอเคที่จะผิดพลาดได้, ฉันสามารถเรียนรู้ได้จากความผิดพลาด, ฉันแค่ยังไม่รู้ ไม่ใช่ทำไม่ได้, …”
2.ตั้งเป้าหมายที่จะเรียนรู้และพัฒนา แทนการโฟกัสที่ผลลัพธ์
เปลี่ยนจากมองที่ผลลัพธ์สุดท้ายไปโฟกัสที่กระบวนการแทน จะช่วยให้เรามองเห็นพัฒนาการของเราอย่างต่อเนื่องรวมถึงข้อผิดพลาดที่ทำให้เราได้ปรับปรุงไปทีละนิด เพราะความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน แต่เป็นผลจากการพยายามอย่างหนักและต่อเนื่องไม่มีหยุด
เพราะฉะนั้นแทนที่จะตั้งเป้าหมายที่ “ลดน้ำหนักให้ได้ 30 กก.” ให้เปลี่ยนเป็น “กินอาหารเพื่อสุขภาพทุกวัน” แทน หรือเปลี่ยนจาก “ได้เกรด A วิชาคณิต” เป็น “ทำข้อสอบวิชาคณิตทุกวัน” หรือแทนที่จะหมกมุ่นที่ “เป็นนักวิ่งมืออาชีพ” ให้โฟกัสที่ “ออกไปวิ่งทุกวัน”
3.ใช้ความผิดพลาดให้เป็นประโยชน์
ความล้มเหลวหรือความผิดพลาดไม่ใช่จุดจบของทุกสิ่ง แต่มันแค่เป็นคำตอบให้เรารู้ว่าสิ่งนี้ยังไม่ใช่ และเราอาจต้องพยายามต่อไปจนกว่าจะเจอคำตอบที่ถูกต้อง เพราะความผิดพลาดที่เกิดขึ้นก็ให้ประโยชน์กับเราที่จะได้เรียนรู้ เป็นบทเรียน และได้ทบทวนตัวเองด้วยว่ามีอะไรบ้างที่ไม่เวิร์ค เพื่อที่เราจะได้หาหนทางใหม่ๆ แก้ไขข้อผิดพลาดนั้นๆ
ความผิดพลาดทำให้เราได้มองหาทางเลือกอื่นที่แตกต่างไปจากเดิม คิดและวางแผนให้รัดกุมมากขึ้น หรือปรับปรุงแผนและกลยุทธ์ของตัวเองใหม่ให้ดีขึ้น โดยคุณสามารถขอคำปรึกษาจากคนอื่นเพื่อรับฟังคำแนะนำจากมุมมองใหม่ๆ ได้ ให้มองว่าความผิดพลาดเป็นหนทางสู่การเรียนรู้และเติบโต แทนที่จะมองว่าเป็นตัวจำกัดความสามารถของคุณ
4.เลือกทำงานที่ไม่ง่ายเกินไปและไม่ยากเกินไป เพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
มีความแตกต่างอยู่ระหว่างการทำงานที่ท้าทายความสามารถกับการทำงานที่ยากจนแทบไม่มีทางเป็นไปได้อยู่ การทำงานที่ท้าทายช่วยให้คุณได้สนุกกับการลองทำ แต่การทำงานที่ยากเกินไปนั้นกลับบั่นทอนกำลังใจและไม่ได้ทำให้คุณเข้าใกล้ความสำเร็จ เหมือนกับการที่คุณพยายามปีนเขาโดยไม่ได้ฟิตร่างกายมาก่อน หรือพยายามแก้โจทย์ตรีโกณมิติโดยไม่เคยเรียนพีชคณิตและเรขาคณิตมาเลย
ให้เลือกทำงานที่เราทำได้แบบไม่ง่ายเกินและก็ไม่ยากไป งานที่อยู่ในสภาวะแบบพอดีๆ หรือที่เรียกว่าสภาวะ Goldilocks อาจเป็นงานที่ยากกว่าความสามารถของคุณสักเล็กน้อย เพื่อให้โอกาสคุณได้ออกจาก Comfort Zone ที่ต้องทำงานสบายๆ จนน่าเบื่อ มาเป็นการทำงานสนุกๆ ที่ได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น
5.หมั่นทบทวนและยืดหยุ่น
สิ่งหนึ่งที่ต้องรู้ก็คือคุณไม่สามารถเปลี่ยนตัวเองจากการคิดแบบ Fixed mindset มาเป็น Growth mindset ได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ เช่นกันกับหลายๆ ทักษะที่กว่าเราจะทำสำเร็จได้ก็ต้องผ่านการฝึกฝน อดทนและทำมันอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัย แต่คุณจะทำได้อย่างแน่นอน โดยการทบทวนตัวเอง บ่อยๆ และลองถามตัวเองด้วยคำถามต่อไปนี้ดู :
- คุณคิดและแสดงออกครั้งล่าสุดอย่างไร
- คุณเลือกที่จะคิดแบบ Fixed Mindset หรือ Growth Mindset
- อะไรทำให้คุณเลือกคิดอย่างนั้นแทนที่จะคิดอีกอย่าง
- มีสถานการณ์อะไรบ้างที่ทำให้คุณต้องคิดแบบ Fixed Mindset เสมอ
- อะไรบ้างที่ทำให้คุณไม่ได้มีความคิดแบบ Fixed Mindset อยู่ในขณะนี้
หมั่นทบทวนด้วยคำถามเหล่านี้กับตัวเองจะช่วยให้คุณรู้จักตัวเองมากขึ้น เรียนรู้วิธีคิดแบบ Growth Mindset มากขึ้น และมีมุมมองที่ยืดหยุ่นมากขึ้น คุณจะรู้ด้วยว่าสถานการณ์อะไรที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้คุณต้องคิดแบบ Fixed Mindset และคุณจะจัดการด้วยแนวคิดแบบ Growth Mindset ได้อย่างไร
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ growth mindset และ 5 กลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนตัวเองให้มี mindset แบบนี้ สำหรับใครที่อยากพัฒนาตัวเองให้เก่ง ก้าวให้ทันโลกการทำงานยุคใหม่ ลองดูรายละเอียดหลักสูตรของ TUXSA ปริญญาโทโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane ได้ที่นี่