สถานการณ์โควิด-19 ทำให้กว่า 70% ของพนักงานรู้สึกว่าข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับโควิด ได้นำไปสู่ช่วงเวลาที่เครียดที่สุดในอาชีพการงาน ส่งผลให้หลายคนกำลังทบทวนสิ่งที่สำคัญสำหรับพวกเขาในที่ทำงาน อย่างเรื่องความหมายของงานที่ทำ อีกทั้งเทคโนโลยีได้ทำให้เกิดรูปแบบ การทำงานใหม่ๆ มากขึ้น มาดูกันว่าการทำงานในอนาคตจะเปลี่ยนไปอย่างไร แล้วเราจะทำการเตรียมรับมือได้อย่างไรบ้าง
1. การระบาดครั้งใหญ่ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการมีความเป็นอยู่ที่ดี
การทำงานทางไกลได้ทำให้เส้นแบ่งระหว่างการทำงานกับชีวิตที่บ้านของคนจำนวนมากไม่ชัดเจน ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและความเครียดที่เพิ่มมากขึ้นในชีวิตประจำวัน
ในรายงาน COVID-19 Risks Outlook ของ World Economic Forum ระบุว่า พนักงานกว่า 70% รู้สึกว่าการมีข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับโควิดได้นำไปสู่ช่วงเวลาที่เครียดที่สุดในชีวิตการทำงาน ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้หลายคนต้องทำการทบทวนว่า ความหมายในการทำงานที่แท้จริง คืออะไร
ขณะเดียวกัน การระบาดใหญ่ได้เพิ่มความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมที่มีอยู่ ทำเป็นเรื่องยากสำหรับชุมชนชายขอบในการเข้าถึงระบบการดูแลสุขภาพ การศึกษา และโอกาสในการเข้างาน ทั้งหมดนี้จึงทำให้นายจ้างต้องคิดทบทวนรูปแบบ การทำงานในอนาคตกันอย่างหนัก
2. เทคโนโลยีดิจิทัลจะเปลี่ยนวิธีการทำงานของเราไปตลอดกาล
ขณะนี้เรากำลังก้าวเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จะเห็นได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ และ IoT ที่ได้เข้ามาเปลี่ยนวิธีที่เราทำงาน ซึ่งงานใหม่ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญจะมีการรวมทักษะของมนุษย์และเครื่องจักรไว้ด้วยกัน เพื่อเป็นการทำให้แน่ใจว่าระบบ AI นั้นจะปราศจากอคติ
จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบเกี่ยวกับเรื่องของจริยธรรมของ AI
ภายในปี 2025 ความสมดุลของแรงงานระหว่างมนุษย์กับระบบอัตโนมัติจะใกล้เคียงกัน หุ่นยนต์จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ มนุษย์จึงจำเป็นต้องการพัฒนาทักษะใหม่ๆ เช่น การมีความเห็นอกเห็นใจ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นการปรับตัวให้สามารถทำงานร่วมกันกับระบบอัตโนมัติได้ อีกทั้งการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
3. รูปแบบการจ้างงานจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปในโลกอนาคต
การทำงานแบบ Gig economy จะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ความท้าทายที่เพิ่มขึ้น เช่น เรื่องการขาดความมั่นคงในการทำงาน และการคุ้มครองทางสังคม เราจะได้เห็นการผสมผสานของ แนวปฏิบัติจากทั่วทั้งภาครัฐและเอกชนมากขึ้น ด้วยเครือข่ายการคุ้มครองทางสังคม ที่ปรับให้เข้ากับรูปแบบการทำงาน และโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแบบใหม่
4. ความไม่เท่าเทียมกันในโลกงานการทำงานที่สูงขึ้น
ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคือ อาจทำให้ความไม่เท่าเทียมกันมากขึ้น
จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรับปรุงช่องว่างทักษะและนวัตกรรมผ่านกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการมีส่วนร่วมของพนักงานในการกำหนดวิธีที่องค์กรสามารถสร้างมูลค่า ควบคู่ไปกับคุณสมบัติที่เป็นทางการมากขึ้น
5. ความคิดแบบผู้ประกอบการจะเข้ามาเปลี่ยนวิธีการทำงาน
เทคโนโลยีต่างๆ อย่างเช่น การระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิ้ง บล็อกเชน และการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์นั้นทำให้เกิดการเข้าถึงการลงทุนที่ประชาธิปไตยมากขึ้น
มีการคาดการณ์ว่าสตาร์ตอัปจะเป็นผู้นำในการนำโครงสร้างองค์กรและแนวปฏิบัติใหม่ๆ มาใช้ นอกจากนี้ ความคิดแบบผู้ประกอบการจะมีบทบาทภายในบริษัทมากขึ้น เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม และการบ่มเพาะแนวความคิดความเป็นอิสระ พนักงานจะต้องมีอำนาจ ความรู้ความเข้าใจในตลาด และความกล้าที่จะลองเสี่ยง