#TUXSAShortnotes ฮาวทูหยิบ Design Thinking มาใช้งาน 

ในยุคที่ Design Thinking กลายเป็นคำฮิตที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงกันบ่อยครั้ง คุณเคยสงสัยมั้ยว่าเราจะหยิบเรื่องนี้มาใช้งานจริงได้ยังไง?

ลองมาดูวิธีหยิบ Design Thinking ไปใช้งานจริงกัน 

3 ขั้นตอนของ Design Thinking : Heart Head และ Hand

อธิบายอย่างง่าย Design Thinking คือวิธีออกแบบทางแก้ปัญหาเรื่องต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ด้วยสายตาของ “นักออกแบบ” โดยมี “มนุษย์” เป็นศูนย์กลาง  

ในคอร์สเรียน Design Thinking ของ TUXSA ครูเมษ์ ศรีพัฒนาสกุล ผู้สอนซึ่งเป็นหัวหน้าทีมคิดเชิงออกแบบที่ Stanford (d.school) ได้อธิบายไว้ว่า วิธีแก้ปัญหาแบบ Design Thinking มี framework อยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบ เช่น ที่ Google ก็จะเป็นแบบหนึ่ง ที่ Stanford ก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะมี framework หลากหลายขนาดไหน ครูเมษ์มองว่า หัวใจหลักของ process ยังคงเหมือนกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 อย่างคือ Heart Head และ Hand

Heart คือขั้นตอนที่ชวนเราถอยออกมา “เข้าใจปัญหา” เช่น เข้าใจว่า “มนุษย์” หรือ “user” ต้องการอะไรกันแน่ และเข้าใจว่าที่จริงแล้วโจทย์ปัญหาคืออะไร

Head เมื่อเข้าใจปัญหาแล้ว ขั้นตอนถัดมาคือการคิดหาทางแก้ปัญหาแบบ “คิดฟุ้ง” ให้ได้ไอเดียหลากหลายมาเลือกใช้

Hand ขั้นตอนสุดท้ายคือ “ลงมือแก้ปัญหา” ผ่านการนำทางแก้ที่เรามองว่าเวิร์กไปทดสอบจริง

Framework 5 ขั้นแบบ Stanford d.school

เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น เรามาลงรายละเอียดการหยิบ Design Thinking มาใช้งาน ด้วยการทำความรู้จัก 1 ใน framework ที่นิยมใช้กัน นั่นคือ Framework จาก Standford d.school ที่ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้

1.Empathize

การเข้าไปทำความเข้าใจผู้ใช้ เป็นพื้นฐานของการออกแบบที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centered Design) เพราะปัญหาที่เราแก้มักไม่ใช่ “ปัญหาของเรา” แต่เป็น “ปัญหาของผู้ใช้”

2.Define 

การรวมรวมและสังเคราะห์สิ่งที่พบจากการ emphathy แล้วสโคปลงมาเป็นโจทย์ในการออกแบบ เป็น “point of view” ที่มาจาก insight และความต้องการของ users

3.Ideate

การระดมไอเดียเพื่อเป็นทางเลือก เน้น “ออกกว้าง” ไม่ใช่ “โฟกัส”

การระดมไอเดียจะช่วยให้เราก้าวออกจากทางแก้แบบเดิมๆ ได้ใช้มุมมองและจุดแข็งของทีม ได้เจอสิ่งใหม่ ทำให้มีทางเลือกที่เยอะและหลากหลาย และลบทางแก้เดิมๆ ออกจากสมองของคุณและทีมงาน 

4.Prototype

การเอาไอเดียในหัวเรามาทำเป็นต้นแบบเพื่อไปทดสอบในโลกจริง โดย “ต้นแบบเพื่อการทดสอบ” จะเป็นอะไรก็ได้ที่เป็นรูปธรรม ไม่จำเป็นต้องเหมือนจริง 100% เช่น เป็นโพสต์อิทแปะเรียงบนกระดาน หรือเป็นการเล่นบทบาทสมมติ 

5.Test

ขั้นตอนที่จะช่วยให้เราได้ feedback เพื่อนำมาพัฒนาทางแก้ปัญหา และเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้ใช้

สิ่งที่ควรรู้

ในการหยิบ Design Thinking มาใช้ทำงาน ขั้นตอนต่างๆ ด้านบนอาจจะไม่ได้เรียงแบบ 1-5 และอาจมีการวนมาทำซ้ำ เช่น ไปถึงขั้นตอนที่ 5 แล้ววกกลับมาขั้นตอนที่ 1 ใหม่ (นำ prototype ไปทดสอบแล้ววกกลับไปทำความเข้าใจผู้ใช้เพิ่มเติม)

เพราะถึงที่สุด เราไม่ได้หยิบ Design Thinking มาใช้เพื่อทำให้ครบกระบวนการแล้วจบไป แต่เราต้องการสร้างสรรค์ทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ตอบโจทย์ผู้ใช้ที่สุดนั่นเอง

สำหรับใครที่อยากเข้าใจ Design Thinking แบบเข้มข้นครบถ้วน คลิกไปเรียนคอร์ส Design Thinking ของ TUXSA ได้ที่นี่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้เพื่อการโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า